นักวิจัยไทยใช้ “เจมส์ เวบบ์” พบโครงสร้างแบบกังหันในกาแล็กซียุคก่อตัว

กล้องโทรทรรศน์, เจมส์ เวบบ์, กล้อง โทรทรรศน์ เจมส์ เว บ บ์, กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์, กล้อง เจมส์ เว บ บ์, กาแล็กซี, นักดาราศาสตร์, กาแล็กซีกังหัน, กาแล็กซีวงรี, หอสังเกตการณ์ ALMA, ดาวฤกษ์, เอกภพ, Hubble Ultra Deep Field, ส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซี,​กาแล็กซียุคก่อตัว

นักดาราศาสตร์ไทยนำทีมนักวิจัยนานาชาติ ใช้กล้องโทรทรรศน์ "เจมส์ เวบบ์" และหอสังเกตการณ์ ALMA พบโครงสร้างแบบกังหันในกาแล็กซียุคก่อตัว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตความคืบหน้าวงการดาราศาสตร์ เผยการค้นพบครั้งใหม่ นำทีมโดยนักดาราศาสตร์ไทย ใช้กล้องโทรทรรศน์ “เจมส์ เวบบ์” กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์ กล้อง เจมส์ เว บ บ์ และหอสังเกตการณ์ ALMA พบโครงสร้างแบบกังหันในกาแล็กซียุคก่อตัว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นักดาราศาสตร์ไทยนำทีมนักวิจัยนานาชาติ ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เจมส์ เวบบ์” (JWST) และหอสังเกตการณ์ ALMA ศึกษาภายใต้ฝุ่นหนาทึบของกาแล็กซียุคก่อตัว เปิดเผยให้เห็นถึงโครงสร้างภายในที่ยังไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน นำไปสู่กุญแจสำคัญของการเข้าใจต้นกำเนิดของกาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่ ไปจนถึงหลุมดำมวลยิ่งยวด ณ ใจกลางกาแล็กซี

เอกภพประกอบด้วยกาแล็กซีหลากหลายชนิด ตั้งแต่กาแล็กซีกังหันแบบทางช้างเผือกของเรา มีลักษณะเป็นจานที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์เกิดใหม่อย่างต่อเนื่องจำนวนมาก ไปจนถึงกาแล็กซีทรงรีที่มีขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซีกังหันหลาย 10 เท่า ซึ่งประกอบไปด้วยประชากรดาวฤกษ์ที่มีอายุมาก

 

กล้องโทรทรรศน์, เจมส์ เวบบ์, กล้อง โทรทรรศน์ เจมส์ เว บ บ์, กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์, กล้อง เจมส์ เว บ บ์, กาแล็กซี, นักดาราศาสตร์, กาแล็กซีกังหัน, กาแล็กซีวงรี, หอสังเกตการณ์ ALMA, ดาวฤกษ์, เอกภพ, Hubble Ultra Deep Field, ส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซี, กาแล็กซียุคก่อตัว

 

นักดาราศาสตร์ยังไม่เข้าใจแน่ชัดว่าประชากรกาแล็กซีที่มีความหลากหลายนี้ถือกำเนิดและวิวัฒนาการขึ้นมาอย่างไร นับตั้งแต่การกำเนิดของเอกภพในบิ๊กแบงเมื่อ 13,700 ล้านปีในอดีต ความพยายามที่จะอธิบายวิวัฒนาการของกาแล็กซี เพื่อเข้าใจความเป็นมาเกี่ยวกับเมืองของดวงดาวที่เราอาศัยอยู่ จึงเป็นคำถามปลายเปิดที่ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการวิจัยดาราศาสตร์

หากเราต้องการจะศึกษาประวัติศาสตร์ของกาแล็กซี เราจะต้องบันทึกภาพของกาแล็กซีในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่กาแล็กซีมีอัตราการก่อตัวสูงสุด ซึ่งตรงกับยุคที่เอกภพมีอายุประมาณครึ่งหนึ่งของปัจจุบัน (ขณะเอกภพมีอายุประมาณ 6,000-8,000 ล้านปี)

 

กล้องโทรทรรศน์, เจมส์ เวบบ์, กล้อง โทรทรรศน์ เจมส์ เว บ บ์, กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์, กล้อง เจมส์ เว บ บ์, กาแล็กซี, นักดาราศาสตร์, กาแล็กซีกังหัน, กาแล็กซีวงรี, หอสังเกตการณ์ ALMA, ดาวฤกษ์, เอกภพ, Hubble Ultra Deep Field, ส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซี

 

ซึ่งทำได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน เพื่อศึกษากาแล็กซีห่างไกล เช่น เมื่อเราถ่ายภาพกาแล็กซีที่อยู่ห่างออกไป 10,000 ล้านปีแสง ภาพของกาแล็กซีที่เราบันทึกได้จะเป็นภาพของแสงที่ออกเดินทางมาเมื่อ 10,000 ล้านปีมาแล้ว นั่น คือ ยิ่งเราส่องไปไกล เราก็จะยิ่งมองย้อนลึกกลับไปในกาลเวลา

การถ่ายภาพย้อนอดีตของเอกภพมีความท้าทายสองประการ

ประการแรก

  • เอกภพได้ขยายตัวไปหลายเท่าในระหว่างที่แสงเดินทางจากกาแล็กซียุคก่อตัวมาถึงโลก
  • การที่เอกภพขยายตัวไปหลายเท่า ทำให้ความยาวคลื่นแสงถูกยืดออกไปหลายเท่าด้วย เช่น แสงจากดาวฤกษ์ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นที่ 600 นาโนเมตร จากกาแล็กซียุคก่อตัว จะยืดออกไปอยูในช่วงคลื่น 2,000-5,000 นาโนเมตร
  • ซึ่งสังเกตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศขนาดใหญ่เช่นกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เจมส์ เวบบ์” (James Webb Space Telescope หรือ JWST)

 

กล้องโทรทรรศน์, เจมส์ เวบบ์, กล้อง โทรทรรศน์ เจมส์ เว บ บ์, กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์, กล้อง เจมส์ เว บ บ์, กาแล็กซี, นักดาราศาสตร์, กาแล็กซีกังหัน, กาแล็กซีวงรี, หอสังเกตการณ์ ALMA, ดาวฤกษ์, เอกภพ, Hubble Ultra Deep Field

ประการที่สอง

  • บริเวณให้กำเนิดดาวฤกษ์ในกาแล็กซียุคก่อตัวมีฝุ่นปกคลุมหนาทึบ แม้แต่แสงในช่วงคลื่นอินฟราเรดก็ไม่สามารถส่องทะลุออกมาได้
  • เราต้องใช้แสงในช่วงคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นวิทยุที่ความยาวคลื่นยาวออกไปอีกนับร้อยหรือพันเท่า เพื่อสังเกตบริเวณก่อตัวของกาแล็กซีในยุคนี้
  • และด้วยเหตุที่คลื่นไมโครเวฟและวิทยุมีความยาวมาก จึงต้องใช้จานรับสัญญาณจำนวนมากทำงานร่วมกันด้วยเทคนิคอินเทอร์เฟอโรเมทรีให้เป็นเสมือนกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางนับสิบกิโลเมตร จึงจะสามารถบันทึกภาพให้ได้ความละเอียดสูงมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับภาพจากแสงในช่วงคลื่นอินฟราเรด (ที่เดิมทีแผ่ออกมาในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นอีกต่อหนึ่ง!)

ดร. วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมนักดาราศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน ใช้ “เจมส์เวบบ์” และหมู่หอสังเกตการณ์ความยาวคลื่นมิลิเมตรในทะเลทรายอาตากามา (Atacama Large Millimeter/Submillimeter Array หรือ ALMA) บันทึกภาพโครงสร้างกาแล็กซีดวงหนึ่งที่เรียกว่า UDF2 ใน “Hubble Ultra Deep Field

ซึ่งเป็นบริเวณเล็ก ๆ บนท้องฟ้าขนาด 1 ใน 10 ของขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ ที่นักดาราศาสตร์ทั่วโลกใช้กล้องโทรทรรศน์ระดับแนวหน้าทั้งบนโลกและในอวกาศศึกษามาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

 

กล้องโทรทรรศน์, เจมส์ เวบบ์, กล้อง โทรทรรศน์ เจมส์ เว บ บ์, กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์, กล้อง เจมส์ เว บ บ์, กาแล็กซี, นักดาราศาสตร์, กาแล็กซีกังหัน, กาแล็กซีวงรี, หอสังเกตการณ์ ALMA, ดาวฤกษ์, เอกภพ, Hubble Ultra Deep Field, ส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซี

คณะนักวิจัยได้ใช้ภาพอินฟราเรดจากกล้อง “เจมส์ เวบบ์” ศึกษาโครงสร้าง UDF2 ว่า ดาวฤกษ์ที่ก่อตัวแล้วกระจายตัวอยู่อย่างไร และใช้หอสังเกตการณ์ ALMA บันทึกภาพบริเวณที่กำลังมีดาวฤกษ์ก่อตัวใหม่ในช่วงคลื่นไมโครเวฟ แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน

ค้นพบโครงสร้างลักษณะคล้ายกังหันกำลังให้กำเนิดดาวฤกษ์ซ่อนตัวอยู่ภายใต้ฝุ่นหนาทึบ นักดาราศาสตร์เคยค้นพบโครงสร้างกังหันในยุคก่อตัวนี้มาบ้าง แต่ไม่เคยพบโครงสร้างกังหันที่กำลังให้กำเนิดดาวฤกษ์หนาแน่น การค้นพบนี้จะเป็นข้อมูลตั้งต้น เพื่อให้นักดาราศาสตร์ทฤษฎีนำไปเปรียบเทียบกับแบบจำลองการก่อตัวของกาแล็กซีด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ให้เราสามารถปะติดประต่อเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของกาแล็กซีจากต้นกำเนิดมาถึงปัจจุบัน

 

กล้องโทรทรรศน์, เจมส์ เวบบ์, กล้อง โทรทรรศน์ เจมส์ เว บ บ์, กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์, กล้อง เจมส์ เว บ บ์, กาแล็กซี, นักดาราศาสตร์, กาแล็กซีกังหัน, กาแล็กซีวงรี, หอสังเกตการณ์ ALMA, ดาวฤกษ์, เอกภพ, Hubble Ultra Deep Field, ส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซี

 

การทำความเข้าใจในโครงสร้างพื้นฐาน ทฤษฎีวิวัฒนาการ และต้นกำเนิดของโครงสร้างที่เราอาศัยอยู่นี้ เป็นส่วนสำคัญของการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันเราทราบแล้วว่าบริเวณใจกลางของกาแล็กซีประกอบขึ้นด้วยส่วนที่เรียกว่า ส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซี ที่ซึ่งเต็มไปด้วยดาวฤกษ์เก่าแก่ที่เป็นดาวฤกษ์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาดวงแรก ๆ ของเอกภพ

อย่างไรก็ตาม กลไกการถือกำเนิดดาวฤกษ์ที่ประกอบขึ้นเป็นส่วนโป่งของกาแล็กซีนั้นยังคงเป็นปริศนาอยู่อีกมาก และเรายังเข้าใจกระบวนการกำเนิดของมันน้อยมาก การสังเกตโครงสร้างรอบส่วนโป่งขณะก่อตัวนี้จึงอาจจะเป็นภาพ และหลักฐานแรก ๆ ของกระบวนการก่อตัวขึ้นของส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซีเท่าที่เราเคยรู้จักกันมาก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกาแล็กซีและดาวฤกษ์อย่างที่เรารู้จักในที่สุด

 

กล้องโทรทรรศน์, เจมส์ เวบบ์, กล้อง โทรทรรศน์ เจมส์ เว บ บ์, กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์, กล้อง เจมส์ เว บ บ์, กาแล็กซี, นักดาราศาสตร์, กาแล็กซีกังหัน, กาแล็กซีวงรี, หอสังเกตการณ์ ALMA, ดาวฤกษ์, เอกภพ, Hubble Ultra Deep Field, ส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซี

 

การผลักดันงานวิจัยพื้นฐาน ย่อมนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีที่ตามมาอีกมากมาย ความท้าทายในงานวิจัยเช่นงานวิจัยนี้ ที่ต้องสังเกตการณ์กาแล็กซีที่ไกล เล็ก และจางเกินกว่าที่มีใครเคยศึกษามา ย่อมต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการสังเกตการณ์ ทั้ง

  • การทำอินเทอเฟอโรเมทรีในย่านอินฟราเรดบนภาคพื้นโลก
  • การส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ต้องพึ่งเทคโนโลยีอีกมากที่ยังไม่เคยมีมาก่อน

เหล่านี้ล้วนเป็นแรงผลักดันอันสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนานวัตกรรม เพื่อแก้โจทย์ยากในงานวิจัยทางดาราศาสตร์ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วความท้าทายเหล่านี้ ก็จะนำมาซึ่งการพัฒนาทั้งด้านกำลังคน เทคโนโลยีวิศวกรรม จนกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มผลพลอยได้ทางเศรษฐกิจในที่สุด

 

กล้องโทรทรรศน์, เจมส์ เวบบ์, กล้อง โทรทรรศน์ เจมส์ เว บ บ์, กล้องโทรทรรศน์ อวกาศ เจมส์ เว บ บ์, กล้อง เจมส์ เว บ บ์, กาแล็กซี, นักดาราศาสตร์, กาแล็กซีกังหัน, กาแล็กซีวงรี, หอสังเกตการณ์ ALMA, ดาวฤกษ์, เอกภพ, Hubble Ultra Deep Field, ส่วนโป่งใจกลางกาแล็กซี

 

ผลงานวิจัยการค้นพบที่นำโดยคนไทยนี้ เป็นอีกหนึ่งสักขีพยานที่แสดงให้เห็นศักยภาพของวงการวิจัยไทยในการทำวิจัยระดับแนวหน้าของโลก สามารถค้นพบปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ทางดาราศาสตร์ ร่วมผลักดันขอบเขตองค์ความรู้ของมนุษย์ชาติสู่ความเข้าใจต้นกำเนิดของชีวิตและสรรพสิ่งในเอกภพ รวมถึงการเป็นหนึ่งในทีมของอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ชิ้นสำคัญ บนกล้องโทรทรรศน์ที่ทันสมัยที่สุดที่มนุษย์เคยรู้จักกันมา
เรียบเรียง : ดร. วิภุ รุโจปการ รองผู้อำนวยการ และ ดร. มติพล ตั้งมติธรรม นักวิชาการดาราศาสตร์ สดร.

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น