สมาพันธ์ SME พร้อมย้ำจุดยืนค้านค่าแรง 450 บ. “พิธา” ขอคุย 13 มิ.ย.

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กังวลขึ้นค่าแรงก้าวกระโดด 450 บาทต่อวัน กระทบเอสเอ็มอีทั้งประเทศ แนะควรทยอยปรับขึ้นตามกลไกไตรภาคี ควบคู่กับออกมาตรการดูแลผู้ประกอบการ-แรงงาน เหตุเพิ่งทยอยฟื้นตัวจากช่วงโควิด และปัจจัยต้นทุนผลิตสูง ชี้รัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่กลุ่มฐานรากของประเทศ และภาคแรงงาน

วันนี้ (2 มิ.ย.66) นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ว่า ได้รับการประสานจากพรรคก้าวไกล ว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และผู้บริหารพรรคก้าวไกล ขอเข้าพบเพื่อหารือกับผู้บริหารของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย วันที่ 13 มิ.ย.66 ซึ่งนายพิธา จะมาถึงในเวลาประมาณ 14.00 น. โดยจะมีการแถลงข่าวภายหลังการหารือในเวลาประมาณ 15.30 น. ที่ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ถนนประชาชื่น เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

 

 

 

สำหรับนโยบายของพรรคก้าวไกล ในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน นายแสงชัย ระบุว่า เป็นความกังวลใจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งประเทศ เพราะเท่าที่ได้ประชุมร่วมกันกับเอสเอ็มอีทั้งประเทศ โดยประเด็นการขึ้นค่าแรง เราต้องประเมินความพร้อมจากปัจจัยรอบด้าน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดกับระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
ที่เพิ่งจะทยอยฟื้นตัวจากช่วงโควิด-19 หลายภาคส่วนยังไม่กลับมาเป็นปกติดี รายได้ยังไม่กลับมาคงที่ และยังมาเจอปัจจัยเรื่องของต้นทุนการผลิต ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ล้วนแต่ส่งผลกระทบ รวมถึงต้นทุนค่าไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม

 

ทางเอสเอ็มอีไทย ก็ได้หารือกัน และมองไปในทิศทางว่า การขึ้นค่าแรงนั้น เห็นว่า ควรจะทยอยปรับขึ้นตามกลไกไตรภาคีในแต่ละพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตามความเหมาะสม ในเชิงค่าครองชีพของแต่ละพื้นที่

ข่าวที่น่าสนใจ

 

นายแสงชัย ระบุว่า สำหรับมาตรการต่างๆ ที่ควรทำควบคู่กันไป กับการทยอยปรับขึ้นค่าแรง ได้แก่

1. มาตรการสร้างแรงจูงใจ แรงงานนอกระบบ ซึ่งปัจจุบัน แรงงานนอกระบบมีอยู่ประมาณ 52% หรือเกือบ 20 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตร ประมง รองลงมาเป็นท่องเที่ยว บริการ ขณะที่มีแรงงานในระบบประมาณ 48% หรือประมาณ 18 ล้านคน เพราะฉะนั้น การยกระดับแรงงานในมิติต่างๆ สิ่งสำคัญ คือ ระบบจูงใจให้แรงงานนอกระบบ ดึงเข้ามาในระบบเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถติดตามดูแลแรงงานให้อยู่ในระบบ อาจจะเป็นระบบสวัสดิการ ระบบต่างๆ ที่จะให้ความช่วยเหลือพี่น้องแรงงานได้อย่างตรงเป้าหมาย

2. การยกระดับ สมรรถนะ ขีดความสามารถของแรงงาน มองว่าการเพิ่มผลิตภาพ กับอัตราการจ้างงาน ต้องสอดคล้องกัน ค่าแรงกับผลงานต้องเป็นไปในทิศทางที่เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการ เศรษฐกิจ วันนี้ Labour Intensive หรือ การใช้แรงงานเข้มข้น ในภาคธุรกิจต่างๆ คงไม่ได้แล้ว เราต้องสร้าง Knowledge Intensive หรือการพัฒนาขีดความสามารถ ส่งเสริมเรื่ององค์ความรู้ต่างๆ ในการ Upskill , Reskill ทำเรื่อง Future skill ให้ภาคแรงงาน เพื่อ ให้ transform และตอบสนองกับความต้องการของผู้ประกอบการในแต่ละ เซกเม้นท์

3. ภาครัฐควรมีมาตรการที่มุ่งเป้า จากปัจจุบัน ภาคแรงงานประสบปัญหาค่าครองชีพสูง และมีรายได้น้อย เช่น มาตการคนละครึ่ง ที่ผู้ประกอบการและภาครัฐ ช่วยกันคนละครึ่งในการอุดหนุนค่าครองชีพให้กับภาคแรงงานรายวัน ในการส่งเสริมให้กับภาคแรงงานที่มีค่าแรงรายวัน มีสวัสดิการนำไปใช้ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ทำให้แรงงานคนไทยได้ประโยชน์ และจะมีระบบการขึ้นทะเบียนต่างๆ เพื่อจูงใจให้แรงงานเข้ามาในระบบ จะได้เกิดขั้นตอนกระบวนการในการชะลอการขึ้นค่าแรงก้าวกระโดดทีเดียวเป็น 450 บาทต่อวัน นอกจากที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บางส่วนที่มีระบบสวัสดิการที่นอกเหนือจากค่าแรง เช่น อาหาร ที่พัก เป็นต้น

4. การลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างทางด้านพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม วัตถุดิบ ปุ๋ย อาหารสัตว์ รวมถึงปัจจัยการผลิตที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในเรื่องต้นทุน และทำให้ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนไม่ไหว ก็ต้องเพิ่มราคา ลดจำนวนลง ดังนั้น จะทำอย่างไรให้กลไกการกำหนดราคาของต้นทุนต่างๆ เกิดกระบวนการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ พึ่งพาตนเอง และทำให้ได้ถูกกว่า

 

 

5. การลดหย่อนภาษี มาตรการที่สื่อสารออกมาว่า ผู้ประกอบการที่มีการปรับขึ้นค่าแรง จะมีการลดหย่อนภาษี 2 เท่า 2 ปี นายแสงชัย มองว่า เป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้ประกอบการที่จะได้ประโยชน์ จะเป็นนิติบุคล ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน และเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ มากกว่ากลุ่มเอสเอ็มอี

 

 

 

ทั้งนี้อยากให้มองว่า จะทำอย่างไรกับเอสเอ็มอี ที่จำนวนมากยังไม่ฟื้นตัว การที่ค่าแรงปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนในภาคการผลิต ธุรกิจเกษตร การค้า และบริการ ขณะที่ราคาผลผลิตและสินค้าเกษตร ไม่ได้สูงขึ้นตาม

 

นายแสงชัย ระบุว่า จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ปัจจุบัน SME มีการจ้างงานทั้งประเทศอยู่ประมาณ 12 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 72% ของการจ้างงานของผู้ประกอบการทั้งประเทศ โดยมี SME ประมาณ 32 ล้านราย หรือ 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ เป็น SME ที่สำคัญคือ ผู้ประกอบการ SME ประมาณ 2.7 ล้านราย เป็นรายย่อย

 

นายแสงชัย ย้ำว่า การขึ้นค่าแรงลักษณะที่ก้าวกระโดด จะทำให้เกิดผลกระทบกับเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เป็นผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ เพราะผุ้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวนมาก วันนี้สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ได้เหมือนกับในวันก่อนที่มีการขึ้นค่าแรงรอบนั้น (300 บาท) เพราะฉะนั้น วันนี้เราเจอวิกฤติถาโถมมาในทุกๆ ด้าน และเราต้องมาพบกับเรื่องของค่าแรงที่มีการปรับตัวสูงแบบก้าวกระโดด เราถึงให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ว่าควรที่จะดำเนินมาตรการต่างๆ ที่เราเสนอไป 5 ด้าน ออกควบคู่กันไปเพื่อที่จะทำให้การทยอยปรับ หรือการที่จะดูแลภาคแรงงาน เป็นไปอย่างมีผลกระทบน้อยที่สุด

 

ผู้สื่อข่าวสอบถามถึง การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่หลายฝ่ายมองว่าอาจส่งผลกระทบทำให้บางบริษัทย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น และอาจส่งผลกระทบลูกโซ่มายังเอสเอ็มอีด้วย นายแสงชัย ระบุว่า คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในมุมมองของนักลงทุนจากต่างประเทศ ความน่าสนใจในการลงทุนของไทยอาจจะได้รับผลกระทบในส่วนหนึ่ง ขณะที่นักลงทุนไทย ที่มีความพร้อม และมีความต้องการจะลงทุนในประเทศ หากค่าแรงปรับสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะมีการย้ายฐานการผลิตเพื่อไปยังที่ที่ต้นทุนถูกกว่า หรือมีสิทธิประโยชน์จูงใจกว่า

 

นายแสงชัย กล่าวย้ำกว่า การปรับขึ้นค่าแรง ควรทำโดยรอบคอบมากๆ และรัดกุม จะได้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อพี่น้องแรงงาน และผู้ประกอบการ รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศ

 

 

 

 

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงสิ่งรัฐบาลใหม่ ต้องเร่งทำในลำดับแรก นายแสงชัย ระบุว่า เรื่องสำคัญ คือ มาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ กระจายโอกาสให้กับพี่น้องเอสเอ็มอี เศรษฐกิจฐานราก วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มฐานรากของประเทศที่มีจำนวนมาก รวมถึงภาคแรงงาน จะต้องทำอย่างไรที่จะช่วยประคอง และพยุงให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร ภาคแรงงาน สามารถที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้อย่างมีความเข้มแข็ง

 

 

เพราะฉะนั้น มาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จะต้องเป็นมาตรการที่ทำให้มีรายได้เข้ารัฐเพิ่ม และส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น และทำให้ภาคแรงงาน ได้รับการดูแลสวัสดิการแรงงานที่ดี ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรม กับผลผลิต ประสิทธิภาพ และผลงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เจ้าอาวาสวัดดัง" พิษณุโลก เครียดหนัก เจ้าภาพกฐินเทงาน ซ้ำจ้างลิเกคณะดังมาแสดง กลับไม่จ่ายเงิน
“ชูศักดิ์” เผยเพื่อไทยตั้งวงวาง 3 สถานการณ์เร่งแก้ รธน. ย้ำยังเป็นเรื่องที่อยู่ในเป้าหมาย
"บิ๊กเต่า" เผยกองปราบเร่งสอบปม "ทนายตั้ม" รีดเงินบอสพอล 7.5 ล้าน
Ripley's Believe It or Not! Pattaya เปิดตัวเครื่องเล่นใหม่ตัวที่ 9 THE LOST PYRAMID การผจญภัย ล่าสมบัติในพีระมิดที่สูญหาย
"ทนายเจ๊อ้อย" เผยเหตุสอบปากคำนานเ ชี้ตร.เก็บทุกประเด็น ลั่นไม่มียอมความ
วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน เปิดให้บูชาเนื่องในวันทอดกฐินสามัคคีประจำปีของวัด รายได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
วัดหนองฆ้อ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน เปิดให้บูชาเนื่องในวันทอดกฐินสามัคคีประจำปีของวัด รายได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
เปิดแล้ว สะพานม่วง ส่งเสริมท่องเที่ยว พร้อมให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชม
รับทหารใหม่ น้องคนเล็กของราชนาวี ภูมิลำเนาภาคใต้ จากสถานีรถไฟพลูตาหลวง เข้าสู่รั้วของกองทัพเรือ
พุทธศาสนิกชนคับคั่ง งานมหากุศลทอดกฐินสามัคคีวัดเขาบายศรี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น