เปิดผลสำรวจ “นิด้าโพล” ครบ 1 ปี “ผู้ว่าฯชัชชาติ” คนกรุงพอใจน้อยลง แก้ปัญหาจราจร-ค่าครองชีพ โดนวิจารณ์ยับ

เปิดผลสำรวจ "นิด้าโพล" ครบ 1 ปี "ผู้ว่าฯชัชชาติ" คนกรุงพอใจน้อยลง แก้ปัญหาจราจร-ค่าครองชีพ โดนวิจารณ์ยับ

วันที่ 4 มิ.ย.2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “1 ปี ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-30 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานในรอบ 1 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครต่อการทำงานในรอบ 1 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ตัวอย่าง ร้อยละ 42.20 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 27.55 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 14.75 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 10.95 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 4.55 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

การแก้ไขปัญหาความสะอาด ขยะ ฝุ่นละออง น้ำเสีย ตัวอย่าง ร้อยละ 44.35 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 23.45 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 18.45 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.35 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 1.40 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

การส่งเสริมการท่องเที่ยวใน กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 43.85 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 22.40 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 15.40 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 9.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 8.65 ระบุว่า ไม่ดีเลย

การปรับปรุงการให้บริการในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 41.85 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.00 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 18.00 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 10.20 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 8.95 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

การปรับปรุงและจัดระเบียบทางเท้า เช่น หาบเร่แผงลอย การจอดยานพาหนะหรือตั้งร้านบนทางเท้า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.05 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 20.75 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 18.40 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 14.30 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.50 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล
การป้องกันอาชญากรรม และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การติดไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบรักษาความปลอดภัย ตัวอย่าง ร้อยละ 43.10 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 19.95 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 20.00 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 11.95 ระบุว่าไม่ดีเลย และร้อยละ 5.00 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

การสนับสนุนการกีฬา ตัวอย่าง ร้อยละ 42.40 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 19.85 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 17.35 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.25 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 8.15 ระบุว่า ไม่ดีเลย

การปรับปรุงทัศนียภาพ ถนน ตรอก ซอย ตัวอย่าง ร้อยละ 48.40 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 19.70 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 17.25 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.05 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ตัวอย่าง ร้อยละ 36.15 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 19.25 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 16.10 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล ร้อยละ 15.70 ระบุว่า ไม่ค่อยดี และร้อยละ 12.80 ระบุว่า ไม่ดีเลย

การแก้ไขปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 29.35 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.45 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 18.25 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 17.05 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ13.90 ระบุว่า ไม่ดีเลย
การจัดระเบียบการชุมนุม ตัวอย่าง ร้อยละ 40.55 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 17.70 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 16.05 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 14.65 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 11.05 ระบุว่า ไม่ดีเลย

 

การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า เรือ ตัวอย่าง ร้อยละ 37.15 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 19.95 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 15.90 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 11.20 ระบุว่า ไม่ดีเลย

การพัฒนาการศึกษา แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ตัวอย่าง ร้อยละ 36.75 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 20.55 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล ร้อยละ 15.05 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 10.95 ระบุว่า ไม่ดีเลย

การแก้ไขปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข ตัวอย่าง ร้อยละ 45.05 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 20.05 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 14.45 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 10.60 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 9.85 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

การจัดระเบียบ คนเร่ร่อน คนจรจัด ขอทาน ตัวอย่าง ร้อยละ 40.30 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 27.10 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 13.85 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 10.40 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 8.35 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

การแก้ไขปัญหาจราจรและรถติด ตัวอย่าง ร้อยละ 39.75 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 26.85 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 18.45 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 10.30 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 4.65 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ตัวอย่าง ร้อยละ 35.00 ระบุว่า ไม่ค่อยดี รองลงมา ร้อยละ 27.15 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 19.55 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 12.85 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 5.45 ระบุว่า ดีมาก

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพึงพอใจของคนกรุงเทพมหานครต่อการทำงานในรอบ 1 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.45 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ เป็นคนขยันตั้งใจทำงาน ปัญหาในพื้นที่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว และ กทม. มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 27.75 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ ลงพื้นที่รับฟังเสียงของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาที่ร้องเรียนได้รับการแก้ไข ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชน ร้อยละ 14.80 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้น้อย และปัญหาใน กทม. ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เช่น ปัญหาการจราจร และร้อยละ 10.00 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ ผลงานไม่ชัดเจน และยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากเดิม

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร ตัวอย่าง ร้อยละ 45.70 เป็นเพศชาย และร้อยละ 54.30 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 11.80 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.00 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.95 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.15 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 26.10 อายุ 60 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 94.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.15 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.85 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 41.95 สถานภาพโสด ร้อยละ 55.00 สมรส และร้อยละ 3.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

ตัวอย่าง ร้อยละ 11.70 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 26.40 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.10 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 43.80 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 11.00 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.10 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 28.15 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 27.00ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.15 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 7.80 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 24.15 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 24.80 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 4.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 16.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 8.25 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 11.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.45 ไม่ระบุรายได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส
ซาอุฯเคยเตือนเยอรมนีเรื่องคนร้ายโจมตีตลาดคริสต์มาส
เครื่องบินรบสหรัฐยิงถล่มเป้าหมายฮูติกลางกรุงซาน่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น