“ธนิต” ชี้ชัดค่าแรง 450 กระทบวงกว้าง กว่า 8 แสนบริษัทธุรกิจอาจปิดตัว

อีคอนไทย ชี้ปรับขึ้นค่าแรงแบบกระชาก ทำธุรกิจอาจต้องปิดตัว กระทบการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติ แนะพรรคการเมืองควรฟังเสียงสะท้อนจากเจ้าสัว นักธุรกิจรายใหญ่ของประเทศ ที่ออกมาพูดเพราะเหลืออดแล้ว พร้อมฝากกกต. ปรามพรรคการเมืองนำเรื่องค่าแรงมาใช้หาเสียง

ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของพรรคการเมือง โดยเฉพาะการปรับค่าแรง 450 บาทต่อวันของพรรคก้าวไกล ว่า ในเรื่องของค่าจ้างแบบประชานิยมถือเป็นนโยบายที่กลายเป็นยุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองในการหาเสียง โดยพรรคเบอร์ 1 เบอร์ 2 ได้นำนโยบายมาใช้ ซึ่งเป็นค่าจ้างแบบก้าวกระโดด สมมติให้ค่าจ้าง 450 บาทต่อวันเป็นตัวตั้ง ขณะที่ปัจจุบันค่าจ้างโดยเฉลี่ยของประเทศ อยู่ที่ประมาณ 350 บาท/วัน ซึ่งการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็น 450 บาท จะทำให้ค่าจ้างสูงขึ้นกว่าระดับปัจจุบัน 100 บาทต่อวัน เฉลี่ยที่ 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นการปรับขึ้นทั้งประเทศ ขณะที่ ปัจจุบันการจ้างงานคนไทยส่วนใหญ่จะสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว

 

 

ทั้งนี้ จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น จะเป็นการปรับขึ้นทั้งในส่วนของแรงงานต่างด้าวคนพิการทุกประเภท โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว ที่จะได้รับค่าแรง 450 บาทต่อวัน มีวันทำงาน 26 วัน จะได้รับค่าแรงเพิ่มเป็นประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน ทำให้แรงงานจากเดิมที่ได้รับค่าแรง 12,000 บาทต่อเดือน จะต้องถูกปรับให้สูงขึ้นอีก ซึ่งค่าจ้างจะต้องถูกปรับขึ้นในทุกระดับ และเป็นสิ่งที่นายจ้างมีความกังวล

ดร.ธนิต ยกตัวอย่าง หากเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี ที่มีลูกจ้าง 200 คน ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาทต่อวัน หรือคนละ 3,000 บาท ต่อเดือน จะทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นถึง 7 ล้านบาทต่อปี ขณะที่สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ของไทยปัจจุบัน มีประมาณ 1,400 บริษัท (บริษัทมหาชน) ขณะที่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงรายย่อย มีมากถึงประมาณ 8 แสนบริษัท

ขณะที่ การปรับขึ้นค่าแรง จะส่งผ่านไปยังราคาสินค้าทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นวงจรเดิม อีกทั้งปัจจุบันการส่งสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านทำได้ง่ายขึ้น จะอาจจะทำให้มีการนำสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาจำหน่ายไทยแทน

อย่างไรก็ตาม ดร.ธนิต ยอมรับว่า ค่าจ้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เพราะลูกจ้างมีเงินเพิ่มขึ้นถึง 3 พันบาทต่อเดือนทั่วประเทศ ทำให้ 1 ปี มีเงินหมุนเวียนถึง 1 ล้านล้านบาท ขณะที่นายจ้าง เมื่อพ้น 6 เดือน ยอดคำสั่งซื้อจะลดลง จะนำเงินที่ไหนมาจ่ายลูกจ้าง เพราะเงินที่จ่ายลูก จ้างนั้นไม่ใช่เงินรัฐบาล

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน ในมุมมองของผู้ประกอบการ ไม่ได้กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นและกำไรลดลง แต่นายจ้างกังวลว่า ธุรกิจจะดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้จนต้องปิดตัวลง ซึ่งในส่วนของมาตรการของรัฐที่ได้ออกมากล่าวถึงการชดเชย เยียวยา ช่วยเหลือ ด้วยการลดหย่อนภาษี ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ผิด เพราะหากผู้ประกอบการมีกำไรลดลง ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นแต่ยังมีกำไรอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการลดหย่อนภาษี ส่วนคนที่เดือดร้อนจำนวนมาก เพราะขาดทุน การนำเอามาตรการภาษีมาช่วยไม่ได้ช่วยอะไร / สอง การช่วยค่าไฟ รัฐบาลจะต้องช่วยหมดโดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่ได้ให้น้ำหนักค่าเอฟที มากกว่าค่าจ้าง เนื่องจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน ใช้คนน้อย ดังนั้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจึงสูง ขณะที่เอสเอ็มอี จะให้น้ำหนักเรื่องค่าจ้างมากกว่าค่าไฟ เพราะเป็นธุรกิจที่จะต้องใช้แรงงานแทนเครื่องจักร อีกทั้ง เมื่อค่าจ้างปรับเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กไม่สามารถส่งต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายไปยังราคาได้ และไม่ใช่ผู้ส่งออกโดยตรง ก็จะรับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงโดยตรง เนื่องจากธุรกิจขาดสภาพคล่อง และอาจจะลามไปยังธุรกิจสถาบันการเงินได้ เพราะปัจจุบัน ไทยมี NPL ตกชั้นที่ซุกไว้ใต้พรมจำนวนมาก ซึ่งตนไม่อยากให้เกิดขึ้นมาอีกครั้ง

 

ดร.ธนิต ได้ฝากไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่ปล่อยให้พรรคการเมืองนำเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง และนโยบายนี้ พรรคการเมืองหรือรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้จ่ายค่าจ้าง เป็นนายจ้างที่จ่ายค่าจ้างซื้อปัจจุบันเป็นนายจ้างขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยผู้ประกอบการรายใหญ่มีเพียง 0.16 % เท่านั้น ของสถานประกอบการกว่า 8 แสนบริษัทที่มีการจดทะเบียน ซึ่งการดำเนินการนโยบายดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของประเทศ เป็นเรื่องที่นายจ้างต้องควักกระเป๋าจ่ายเงิน อีกทั้ง ยังมีกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มีคณะกรรมการไตรภาคี พิจารณาค่าแรง ซึ่งตามกฎหมายรัฐบาลไม่มีสิทธิจะประกาศปรับขึ้นค่าแรง เหมือนเช่นสมัยรัฐบาล นางสาว ยิ่งลักษณ์ ที่มีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน ซึ่งจะต้องเข้าไปหารือในคณะกรรมการไตรภาคีเสียก่อนจึงจะสามารถดำเนินการได้ และนโยบายค่าแรง 450 บาท/วันก็เช่นเดียวกัน ที่ช่วงแรกไม่ได้ระบุว่าจะต้องหารือไตรภาคี แต่ปัจจุบันได้ออกมาระบุว่า ให้คณะกรรมการไตรภาคีพิจารณา ซึ่งเท่ากับเป็นการแทรกแซงคณะกรรมการไตรภาคี

 

 

นายธนิต ระบุว่า ในส่วนของค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน หากจะต้องปรับขึ้นจริง อยากฝากไปยังพรรคการเมืองว่า คะแนนเสียงก็ได้มาแล้ว พูดไปแล้ว จะต้องรักษาคำพูด แต่ทั้งนี้ ในการรักษาคำพูดนั้น จะต้องดูว่ากระทบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการขนาดเล็กไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยว แม้บางส่วนอาจจะมีการเลือกพรรคการเมืองดังกล่าวเข้ามา พรรคที่ชนะเลือกตั้งอาจจะทำให้ธุรกิจจำนวนมากของไทยเจ๊ง เพราะการขึ้นค่าแรงเป็นแบบกระชาก ดังนั้น หากจำเป็นต้องขึ้น ขอให้เป็นแบบทยอยขึ้นได้หรือไม่ ในช่วงที่เศรษฐกิจมีการผ่อนคลายกว่านี้ / สอง ขอให้ทบทวนใหม่ได้หรือไม่ว่า 450 บาทต่อวัน สูงเกินไปหรือเปล่า / และ สาม เหตุใดไม่ให้ไตรภาคีพิจารณา

นอกจากนี้ ควรให้มีการแลกเปลี่ยนโดยเป็นลักษณะการจ่ายค่าจ้างตามทักษะ โดยให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ออกแบบแอพพลิเคชั่น โดยให้ลูกจ้างไปอบรม และสอบยกระดับฝีมือและนำใบรับรองมาให้นายจ้างปรับขึ้นค่าแรงแทน และต้องมีกองทุนเครื่องจักรให้แก่เอสเอ็มอี เพราะเศรษฐกิจปัจจุบันการยื่นกู้เงินของเอสเอ็มอีนั้นทำได้ค่อนข้างยาก จึงควรมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือในเรื่องนี้

 

 

 

ดร.ธนิต ยังมองว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน อาจจะกระทบต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ จากต้นทุนที่สูงขึ้น และหันไปลงทุนในประเทศอื่นๆ อาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ดังนั้น การที่เจ้าสัว หรือนักธุรกิจ รายใหญ่ของประเทศไทย ออกมาให้สัมภาษณ์ พรรคการเมืองก็ควรที่จะรับฟัง ว่าคนเหล่านี้เหลืออดแล้ว คนทำธุรกิจหากไม่จำเป็นจะไม่ออกมาต่อต้านนโยบายรัฐบาลเพราะจะต้องอยู่กับรัฐบาล อีกทั้งในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นได้เดินทางมาขอความชัดเจนเรื่องค่าจ้างจากกระทรวงแรงงาน ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ ก็รอการตัดสินใจของรัฐบาลใหม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ขณะที่ผู้ซื้อ กำลังมองว่า หากมีการปรับราคาสินค้าก็อาจะไปซื้อสินค้าจากประเทศที่ถูกกว่าไทย หรือ ซื้อในจำนวนน้อยลง เพื่อบาลานซ์ราคา อีกทั้งการขึ้นค่าแรงขณะนี้มองว่ายังไม่ใช้เวลาที่เหมาะสม เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังพยุงตัว การขึ้นค่าแรงควรที่จะปรับขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น

 

 

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าแรงนั้น ในส่วนของนักลงทุนต่างชาติมองว่า ในเรื่องที่จะย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นคงยาก แต่อาจจะกระทบต่อการขยายการลงทุน รวมไปถึงการลงทุนใหม่ๆที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆที่ค่าแรงถูกกว่าประเทศไทย อาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ซึ่งขณะนี้นักลงทุนเหล่านี้ยังชะลอการลงทุนกำลังรอดูความชัดเจนของนโยบายรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง จากอนุรักษ์ไปเป็นก้าวหน้า และรัฐบาลจะเดินหน้าเรื่องค่าจ้างเช่นไร

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น