รู้จัก 3 ประเภท “เท้าปุก” โรคเป็นแต่กำเนิด รักษาเร็วไม่ต้องผ่าตัด

เท้าปุก, โรค เท้า ปุก, เท้างุมเข้า, โรคผิดปกติแต่กำเนิด, เท้าปุกเทียม, เฝือกเท้า

รู้จัก 3 ประเภท โรค "เท้าปุก" เท้างุ้มเข้า บิดตะแคง และเขย่ง โรคเป็นแต่กำเนิด รักษาเร็วยิ่งดี เลี่ยงผ่าตัดได้

ทำความรู้จัก “เท้าปุก” โรค เท้า ปุก เท้างุ้มเข้า บิดตะแคง และเขย่ง เป็นความผิดปกติของเท้าที่พบได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคเป็นแต่กำเนิด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้จัก โรค “เท้าปุก” คืออะไร

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้ของโรคเท้า ปุก แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่พบว่า มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ ได้แก่

  • กรรมพันธุ์
  • ลูกคนแรก
  • พัฒนาการเท้าผิดปกติในครรภ์
  • และโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อเจริญเติบโตของเท้า เป็นต้น

ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น เช่น

  • การดัดเท้าใส่เฝือกให้เท้าตรงก่อน
  • ใส่รองเท้าเฉพาะ จะทำให้รูปเท้าโตปกติ และการรักษาระยะต่อมาง่ายยิ่งขึ้น

 

เท้าปุก, โรค เท้า ปุก, เท้างุมเข้า, โรคผิดปกติแต่กำเนิด, เท้าปุกเทียม, เฝือกเท้า

 

 

ในบางรายสามารถตรวจพบได้จากการอัลตร้าซาวด์ในช่วงที่มีการฝากครรภ์ ทำให้คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับการรักษา เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว แต่โดยทั่วไปโรคนี้อาศัยความชำนาญของแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกเด็ก ก็สามารถให้การวินิจฉัยจากการตรวจร่างกายเด็กหลังจากคลอดออกมาแล้ว โดยไม่ได้ทำให้การรักษาช้าเกินไป

ปกติจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีของเท้าเพื่อยืนยันการเป็นโรคนี้ นอกจากการตรวจส่วนเท้าที่มีความผิดรูปแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายระบบอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุร่วมที่อาจทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบประสาทกล้ามเนื้อ เป็นต้น

 

เท้าปุก, โรค เท้า ปุก, เท้างุมเข้า, โรคผิดปกติแต่กำเนิด, เท้าปุกเทียม, เฝือกเท้า

 

 

นายแพทย์ปริยุทธิ์ เจียรพัฒนาคม หัวหน้าหน่วยออร์โธปิดิกส์เด็ก สถาบันออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวเพิ่มเติมว่า

“เท้า ปุก” แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

ประเภทแรก

  • เป็นเท้า ปุกเทียม พบตั้งแต่แรกเกิด
  • เท้าจะมีลักษณะผิดปกติดังกล่าวข้างต้นทุกประการ มักเกิดในลูกคนแรกที่มดลูกคุณแม่ยังมีความกระชับมาก
  • แต่เมื่อจับดัดเท้าให้เข้ารูปเบา ๆ เท้าก็จะมีลัษณะเป็นปกติ
  • ดังนั้น แค่สังเกตอาการ หรือการใส่เฝือกเพียงครั้งเดียวความผิดรูปก็จะดีขึ้นได้เอง

ประเภทที่สอง

  • เท้า ปุกที่ไม่ทราบสาเหตุ เท้าจะผิดรูปที่ไม่สามารถดัดให้ตรงได้จากการจับเพียงอย่างเดียว
  • เกิดจากการเจริญผิดปกติของเท้าระหว่างอยู่ในครรภ์
  • รักษาโดยการดัดและใส่เฝือกเท้าต่อเนื่องหลายครั้ง หรืออาจต้องผ่าตัดจึงจะหาย

 

เท้าปุก, โรค เท้า ปุก, เท้างุมเข้า, โรคผิดปกติแต่กำเนิด, เท้าปุกเทียม, เฝือกเท้า

 

ประเภทสุดท้าย

  • เท้า ปุกร่วมกับโรคอื่น เป็นเท้าผิดรูปที่เกิดร่วมกับโรคทางระบบประสาทกล้ามเนื้อ โรคข้อยึด หรือโรคอื่น ๆ
  • แม้ว่าจะรักษาได้โดยการดัดและใส่เฝือกต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่ต้องใส่เฝือกหลายครั้งกว่ามาก
  • และมีโอกาสต้องรักษาโดยการผ่าตัดสูงกว่า

นายแพทย์ปริยุทธิ์เน้นว่า เท้า ปุกทุกประเภท ควรมาพบแพทย์เร็วที่สุดตั้งแต่แรกเกิด และเริ่มรักษาโดยทันที เพราะ จะทำให้การรักษาได้ผลดีมากที่สุด

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วธ. ชวนประชาชนร่วมงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 2-8 เม.ย.นี้ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ "กรมสมเด็จพระเทพฯ"
“ว้าแดง” ขนยาเย้ยอาฟเตอร์ช็อก! “ทัพเจ้าตาก” ซัดโป้ง ยึด 1.2 ล้านเม็ด
"SEP GROUP" รุกสร้างท่าเทียบเรือแห่งแรก "บางปู" แก้ปัญหาจราจร กระตุ้นท่องเที่ยวทางทะเล
"กทม." แถลงความคืบหน้า อาคาร สตง.ถล่ม ค้นหาผู้สูญหาย 79 ราย เร่งเจาะคอนกรีตลึก 2 เมตร หวังพบผู้ติดค้าง
รวบแล้ว "2 โจ๋" ทดลองทำระเบิด โยนตามถนน เด็ก 9 ขวบเก็บมาเล่น ดับสลด
มาแน่ "กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับ 7 เตือน "ภาคใต้" ฝนตกหนักถึงหนักมาก จว.ไหนบ้างเช็กเลย
นักวิเคราะห์ชี้ทรัมป์จ้องเล่นอินโดจีนเพราะสนิทจีน
"กรมศิลปากร" จัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
"ก.แรงงาน" จ่อฟ้อง 21 บริษัท เรียกร้องเงินเยียวยา ผู้ประสบเหตุอาคาร สตง.พังถล่ม พร้อมดูแลญาติเหยื่อต่อเนื่อง 10 ปี
"ตร.ไซเบอร์" เปิด 4 ปฏิบัติการ รวบ 7 ผู้ต้องหาแก๊งลวงออนไลน์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น