ข่าวดี ม.มหิดลกู้วิกฤต เพาะพันธุ์ "วัวแดง" สัตว์คุ้มครองใกล้สูญพันธุ์ หนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า กลับคืนสู่ธรมชาติอีกครั้ง
ข่าวที่น่าสนใจ
“วัวแดง” หนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เคยอุดมไปด้วยวัว แดง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และตากก็เช่นกัน แต่ปัจจุบันประชากรวัว แดงน้อยลง จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการลักลอบล่าสัตว์ป่า
ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งสัตว์ป่าคุ้มครองที่ใกล้สูญพันธุ์ อย่างวัว แดงเหลือ
อยู่ราว 500 ตัวในปัจจุบัน จากประชากรที่ลดลงนี้ จึงเริ่มมีการเพาะพันธุ์วัว แดง เพื่อนำกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ด้วยองค์ความรู้จากอาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะปัญญาของแผ่นดิน ร่วมกับประชากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ อาจารย์นักวิจัยประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายถึง
ลักษณะของ “วัว แดง”
- ความโดดเด่นสวยงามจากสีขนน้ำตาลแดงในขณะยังไม่โตเต็มวัย
- ก่อนเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ายกระทิง
- เมื่อตัวผู้โตเต็มวัย แต่แตกต่างจากกระทิงตรงที่กระทิงไม่มีวงก้นขาวอย่างวัว แดง และดูดุดันกว่า เมื่อตื่นตระหนก
- นอกจากวงก้นขาวแล้ววัว แดง ยังมีวงรอบปากขาว วงตาขาว และขนสีดำบริเวณหลัง ตลอดจนขาทั้ง 4 ข้าง คล้ายใส่ถุงเท้าขาว ทำให้ดูแตกต่างจากวัวทั่วไป
รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ เป็นกำลังสำคัญในการเพาะเลี้ยงวัวแ ดง ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และการใช้กล้องถ่ายภาพสัตว์ ติดตามการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติหลังจากที่ปล่อยไป ปัจจุบัน ทำให้วัว แดงที่ปล่อยไป 19 ตัว มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 28 ตัว
เทคนิคการเพาะเลี้ยง “วัวแดง” อยู่ที่การคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ในวัยเจริญพันธุ์ 3 – 4 ปี ซึ่งมีลักษณะสมส่วน เขาไม่บิดเบี้ยว และไม่ผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกัน เลี้ยงด้วยพืชตามธรรมชาติ เสริมด้วยดินโป่ง ซึ่งก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจะมีการคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์เก็บไว้เพาะเพิ่มจำนวนเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เป็นนวัตกรรมในการจัดการดูแลวัว แดง ซึ่งนอกจากการเพาะพันธุ์เพื่อเยียวยาภาวะใกล้สูญพันธุ์แล้ว ยังได้ติดตามความเป็นอยู่ของ วัว แดงหลังปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อการวางแผนการจัดการที่มีประสิทธิภาพต่อไป
นับเป็นครั้งแรกที่มีการใช้องค์ความรู้ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์วัว แดง หลังจากที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังมาก่อน และน่ายินดีที่ต่อมาโครงการวิจัยฯ ได้รับความสนใจจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF – World Wide Fund for Nature) และสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนประจำประเทศไทย (ZSL – Zoological Society of London-Thailand) ให้การสนับสนุนและต่อยอดวิจัยวัว แดง ไทย – อินโดนีเซียแบบคู่ขนาน
ในอนาคตเราอาจเห็นวัว แดงไทย ได้รับพัฒนาสู่การเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เช่นเดียวกับวัว แดงอินโดนีเซีย แต่ในความเป็นจริงวัว แดงไทยในปัจจุบันยังคงจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่มีการกำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดเจนสำหรับผู้ลักลอบล่า จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้บนพื้นฐานของการจัดการที่เหมาะสมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง