“ดร.สมชาย” เตือนนโยบายรบ.ใหม่ระวังกระทบค้าเมียนมา จัดสมดุลศก.มะกัน-จีน

"ดร.สมชาย" เตือนนโยบายรัฐบาลใหม่ ต้องคำนึงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้าชายแดน และความมั่นคง ไทย- เมียนมา แนะวางตัวเป็นกลาง จัดสมดุลเศรษฐกิจอเมริกา และจีน

สืบเนื่องจากกรณีสังคมส่วนหนึ่ง แสดงความกังวลว่า หากพรรคก้าวไกลได้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศจริง อาจจะทำให้สหรัฐเข้ามาแทรกแซงไทยได้ง่ายขึ้น จากนโยบายต่างประเทศของพรรคก้าวไกลที่ฝักใฝ่ตะวันตก อย่างไรก็ตาม ก็มีการออกมาตอบโต้ว่าข้อกังวลดังกล่าวเกินจริง

วันที่ 6 มิ.ย.66 รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS เปิดเผยถึงมุมมองต่อนโยบายต่างประเทศของพรรคก้าวไกล ว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จ โดยในส่วนของนโยบายต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพรรคใดที่มาเป็นรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเมียนมา ซึ่งตั้งแต่ในอดีต แนวนโยบายของอาเซียนจะไม่เข้าไปก้าวก่าย ในกิจการภายในของประเทศต่างๆ เหล่านี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเห็นได้ว่า ในอดีตเมียนมามีปัญหาเหมือนทุกวันนี้ มีรัฐบาลที่ประชาชนมีความขัดแย้งกัน เพราะในอดีตจะเห็นได้ว่า ประเทศฝั่งตะวันตกพยายามที่จะบีบรัฐบาลเมียนมา โดยการกดดันและ Sanctions ต่างๆ แต่รัฐบาลของอาเซียนได้ดำเนินนโยบายไม่ให้มีการแซกแซก เพราะอาเซียนจะดำเนินการกันเอง ซึ่งนโยบายนี้คือ constructive engagement การผูกพันธ์ อย่างสร้างสรรค์ โดยการพยายามให้เมียนมามีการเปลี่ยนแปลงเอง โดยการจูงใจ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง นาง อองซาน ซู จี ก็ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำ แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาใหม่ จะเกิดปัญหา

 

 

รศ.ดร.สมชาย ระบุว่า ปัจจุบัน อาเซียนได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศแตกต่างจากในอดีต ในลักษณะไม่เข้าไปก้าวก่ายจริง แต่ไม่ยอมรับรัฐบาลเมียนมา ขณะนี้อาเซียนยังไม่ได้รับรองรัฐบาลเมียนมา ทั้งรัฐบาลของประชาชน หรือรัฐบาลที่ต่อต้าน ซึ่งอันนี้ก็เป็นแนวนโยบายของอาเซียน ที่จะพยายามไม่เข้าไปก้าวก่าย

ดังนั้น ในส่วนรัฐบาลใหม่ของไทยไม่ว่าใครก็ตาม ถ้ามีแนวนโยบายอย่างเช่นเห็นชัดเจนเข้าไปสนับสนุนฝ่ายประท้วง ฝ่ายประชาชน เท่ากับว่า เราเข้าไปเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายการวางตัวไม่ก้าวก่าย ซึ่งในแง่หลักการอาจจะดีที่มีการสนับสนุนประชาธิปไตย แต่ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต้องอย่าลืมว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่ติดกับเมียนมากว่า 1,000 กิโลเมตร สามารถที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองได้ จะเห็นได้จากทางเมียนมาเองได้ออกมาให้สัมภาษณ์ในทำนอง ของการเตือน การแสดงความไม่พอใจ เพราะฉะนั้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านเศรษฐกิจชายแดน การค้า และการกระทบกระทั่ง ซึ่งเป็นส่วนที่จะมีผลกระทบหากเรามีการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายในการสนับสนุนอย่างเห็นชัดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะประชาชนที่ขึ้นมาต่อต้าน มีผลกระทบในแง่ของท่าทีของอาเซียน และท่าทีการดำเนินแนวทางใหม่ที่จะกระทบกระทั่งทางการเมือง กับปัญหาด้านเศรษฐกิจ

 

 

ส่วนการแสดงตัวของพรรคก้าวไกลในการวางตัวอิงกับทางการสหรัฐ รศ.ดร.สมชาย ระบุว่า ความจริง พรรคก้าวไกลไม่ได้แสดงตัวเข้าข้างสหรัฐ เพียงแต่ต้องให้ความเป็นธรรมจริงๆ แล้ว ทางด้านอเมริกา ได้มีการเน้นในเรื่องของค่านิยม ประชาธิปไตยเสรีนิยม จะเห็นได้ว่าเพราะเวลาที่ถูกประท้วง อเมริกาได้ถูกโจมตี ว่าเข้าไปแทรกแซงการสนับสนุนผู้ประท้วง ซึ่งอเมริกาได้อ้างหลักการว่าตนเน้นประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งไม่พอใจอเมริกา / แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ ที่สหรัฐเข้ามาจนอาจถูกมองว่าก้าวก่ายที่สนับสนุนสิทธิเสรีภาพต่างๆ เหล่านี้ ในกรณีนี้ก็ต้องมองว่าเค้าอยู่ในค่านิยมที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่พอใจ จึงไม่น่าแปลกใจที่แนวนโยบาย ของอเมริกาที่มีต่อประเทศต่างๆ รวม ทั้งไทยที่ถูกมองและไม่พอใจในการเข้ามาก้าวก่ายและเลือกข้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายหลายประเทศ

และยังเป็นเหตุผลให้ ประเทศในลาตินอเมริกา แอฟริกา รวมถึงเอเชีย เริ่มไม่พอใจอเมริกามากขึ้น สังเกตได้จาก กรณีของยูเครนและรัสเซีย โดยอเมริกาและยุโรป มองการสนับสนุนยูเครน เพราะรัสเซีย มีการละเมิดกฎสหประชาชาติ ไม่เคารพในเรื่องของอธิปไตย ของแต่ละประเทศ ขณะที่อินโดนีเซีย ได้แสดงออกว่าในส่วนของสงครามที่เกิดขึ้น ทางด้านอเมริกาและยุโรป ต้องรับผิดชอบเพราะเป็นภัยคุกคามต่อรัสเซีย ในมุมมองด้านรัสเซีย ซึ่งอเมริกาและยุโรปก็มีความแปลกใจว่ามีการละเมิดเกิดขึ้นเช่นนี้ ประเทศทางใต้กลับมองในลักษณะไม่เห็นด้วยกับรัสเซีย แต่ไม่โจมตีรัสเซียกลับมาโจมตีสหรัฐ และยุโรป และเป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนคำถามที่ว่า นโยบายต่างประเทศ จะกระทบต่อยุทธศาสตร์การค้าไทย -จีน หรือไม่ อย่างไร รศ.ดร.สมชาย ระบุว่าปัจจุบันสหรัฐอเมริกากับจีนมีความขัดแย้งกันในหลายมิติ แต่ไม่ได้มีการขัดแย้งกันในทุกมิติซึ่งบางมิติก็มีการร่วมมือกัน ในด้านของเรื่องโลกร้อน หรือเรื่องของโรคติดต่อ และบางเรื่องอาจจะมีความขัดแย้งแต่ไม่ถึงขั้นกับประทะกัน เช่นเรื่องของทะเลจีนใต้ บางเรื่องอาจจะไม่ใช่ข้อขัดแย้งแต่เป็นเรื่องของการต่อสู้กันในเรื่องของการแข่งขันทางการค้า ซึ่งทางด้านสหรัฐได้มีการประกาศอย่างชัดเจนถึงการถ่วงดุลประเทศจีน ทำให้อาจจะส่งผลกระทบกับประเทศต่างๆ ที่เป็นการลงทุนกับประเทศที่เป็นมิตร ดังนั้นการที่ประเทศไทยไปเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น หากเลือกข้างประเทศจีน สหรัฐจะมองว่าไทยไม่เป็นมิตรกับตน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ เช่นเดียวกันหากไทยไปเลือกข้างสหรัฐ ประเทศจีนก็คงจะไม่พอใจ ดังนั้น ใครมา เป็นรัฐบาลตนเชื่อว่า คงจะดำเนินมาตรการในลักษณะที่ไม่ไปอิงกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และดำเนินมาตรการแบบผูกพันทั้งสองฝ่าย

 

 

ซึ่งแม้ไทยจะดำเนินนโยบายแบบผูกพันทั้งสองฝ่ายแต่ในมุมมอง ของคนที่มองออกมาอาจจะเป็นปัญหา โดยประชาชนส่วนหนึ่ง อาจจะมีความรู้สึกว่า ประเทศไทยอาจจะกำลังเข้าข้างสหรัฐอเมริกาหรือไม่ โดยบางส่วนอาจจะเข้าข้างจีน ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้วประเทศไทยไม่ควรอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จนอาจทำให้เกิดความขัดแย้งของประชาชนบางส่วนกับแนวการดำเนินนโยบาย จึงต้องวางตัวให้เป็นกลาง รวมถึงในมุมต่างประเทศ จะมองว่าประเทศไทยวางตัวเป็นกลางหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในอนาคตได้

ในกรณีการเรียกร้องเรื่องประชาธิปไตย หรือการปรับระดับความสัมพันธ์ไทย – เมียนมา จะมีผลกระทบหรือมีความเสี่ยงด้านการค้า และ แผนการซื้อก๊าซจากเมียนมา ในระดับไหน อย่างไร รศ.ดร.สมชาย ระบุว่า ขณะนี้พรรคก้าวไกลยังไม่ได้เป็นรัฐบาลเพียงแต่การตั้งสมมุติฐานว่า หากพรรคก้าวไกล หรือพรรคใดพรรคหนึ่งที่เป็นรัฐบาล มีการดำเนินมาตรการตรงนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบ ในเรื่องของการค้าการลงทุนได้ เพราะในอดีตไทยได้มีการดำเนินมาตรการในเรื่องของอาเซียน คือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมาตรการภายใน แต่อาเซียนในระยะหลังจะไม่ยอมรับการเข้าไปยุ่งเกี่ยวภายในกับประเทศต่างๆ รวมถึงการมีแนวนโยบายสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้าชายแดน ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ ทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ซึ่งกับประเทศพม่าประเทศไทยก็มีชายแดนติดต่อกันกว่า 1,000 กิโลเมตร ซึ่งหากเป็นการดำเนินการจริงก็จะมีผลกระทบในลักษณะใดลักษณะหนึ่งอย่างแน่นอน

 

ในส่วนของการยกระดับบทบาทไทยในอาเซียน โดยข้อเสนอของพรรคก้าวไกล ระบุว่า พิจารณาทบทวนหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกันระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนเฉพาะกิจ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบต่อไทยโดยตรง เช่น การแก้ไขปัญหาในเมียนมา และปัญหาฝุ่น จากประเทศเพื่อนบ้าน นั้น รศ.ดร.สมชาย ระบุว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นองค์การร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ หมายความว่า เราต้องใช้มติเอกฉันท์ ถ้าหากว่า มีการเสนอว่า เราจะยกเลิกแนวนโยบายไม่แทรกแซง เป็นไปไม่ได้เลย เพราะประเทศต่างๆ มีความสุข ทุกวันนี้ที่อาเซียนอยู่ได้ เพราะพยายามที่จะประคองความสัมพันธ์ที่เรามีความแตกต่างกัน ประคองในลักษณะที่ไม่ไปกระทบ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือไม่แทรกแซงกิจการ เพราะฉะนั้น ที่ผ่านมา การที่อาเซียนไม่ยอมรับรองรัฐบาลเมียนมา และไม่ยอมรับรองรัฐบาลฝ่ายต่อต้าน ก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้ากล้าพอสมควรแล้ว เพราะแนวนโยบายนี้ถือว่า เป็นนโยบายศักดิ์สิทธิ์ของอาเซียน เพราะหมายความว่า ถ้าอาเซียนมีตัวนี้ขึ้นมา จะมีประเด็นปัญหาต่อเอกภาพของอาเซียน เพราะเอกภาพอาเซียนตั้งอยู่บนหลักการอันนี้สำคัญมากเพราะฉะนั้น ที่ผ่านๆ มาได้ ที่เราประคองมาได้ เพราะแนวนโยบายตัวนี้ โดยเชื่อว่าอาเซียนจะไม่รับแนวนโนบายของพรรคก้าวไกลอย่างแน่นอน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น