“ดร.สามารถ” แจงเทคโนโลยีรถไฟฟ้า “โมโนเรล” ห่วงอนาคตรถไฟเร็วสูง กทม.-โคราช

"ดร.สามารถ" แจงเทคโนโลยีรถไฟฟ้า "โมโนเรล" ห่วงอนาคตรถไฟเร็วสูง กทม.-โคราช

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะนักวิชาการด้านวิศวกรรมขนส่ง โพสต์เฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte” โดยระบุข้อความว่า สุดยอดโมโนเรล “วิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก”
หลายท่านคงได้ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองซึ่งเป็นโมโนเรลแบบคร่อมรางกันแล้ว ผมเคยบอกว่าโมโนเรลมี 2 แบบ คือแบบคร่อมราง และแบบแขวนห้อยใต้ราง วันนี้ขอแนะนำให้รู้จักเพิ่มอีก 1 แบบ นั่นคือแบบ “วิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก”

1. โมโนเรลแบบ “วิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก”

โมโนเรลแบบ “วิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก” ก็คือแม็กเลฟนั่นเอง

แม็กเลฟคือรถไฟแบบแรงแม่เหล็กยก (Magnetic Levitation หรือ Maglev) โดยใช้พลังแม่เหล็กยกรถไฟขึ้นเหนือราง ซึ่งบางระบบใช้รางเดี่ยว และผลักให้วิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง เนื่องจากไม่มีการเสียดสีระหว่างล้อกับราง

หลักการทำงานของแม่เหล็กไม่ยุ่งยาก โดยมีขดลวดเพื่อรับกระแสไฟฟ้าติดอยู่ที่ราง และมีแม่เหล็กติดอยู่ที่ตัวรถไฟ ในขั้นแรกขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อยกรถไฟขึ้นเหนือราง ต่อจากนั้น ขดลวดอีกชุดหนึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อให้บริเวณด้านหน้าของรถไฟมีแรงลากรถไฟ และบริเวณด้านหลังมีแรงผลัก แรงทั้งสองนี้จะช่วยทำให้แม็กเลฟกระโจนไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง ถึงเวลาเบรกก็เพียงแค่ทำให้แรงจากสนามแม่เหล็กมีทิศทางย้อนกลับเท่านั้น

แม็กเลฟเป็นรถไฟที่ไม่ใช้ล้อ แต่วิ่งด้วยความเร็วสูงมาก จึงได้รับลักษณะเด่นว่า “วิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก”

 

2. เทคโนโลยีของแม็กเลฟ

แม็กเลฟมี 2 เทคโนโลยี คือเทคโนโลยีของเยอรมนี และเทคโนโลยีของญี่ปุ่นซึ่งใช้หลักการเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง ที่เห็นชัดๆ ก็คือแม็กเลฟของญี่ปุ่นช่วงออกตัวต้องใช้ล้อจนกระทั่งวิ่งถึงความเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงเก็บล้อแล้วลอยตัวขึ้น ในขณะที่ของเยอรมนีไม่ใช้ล้อ วิศวกรญี่ปุ่นคุยว่าเทคโนโลยีของเขามีข้อได้เปรียบ เพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้องก็สามารถใช้ล้อแทนได้ แต่วิศวกรเยอรมนีโต้ว่าของเขามีแบตเตอรี่สำรองไว้จ่ายไฟกรณีฉุกเฉินอยู่แล้ว

ถึงเวลานี้แม็กเลฟของญี่ปุ่นสามารถวิ่งบนเส้นทางทดสอบ (Test Track) ได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 603 กิโลเมตร/ชั่วโมง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

3. แม็กเลฟที่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์

ปี พ.ศ. 2547 จีนเปิดให้บริการแม็กเลฟเชิงพาณิชย์ที่นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งถือเป็นโมโนเรลแบบคร่อมราง ใช้เทคโนโลยีของเยอรมนี เชื่อมสนามบินผู่ตงและย่านหลงหยาง ระยะทาง 30 กิโลเมตร ใช้เวลา 7 นาทีครึ่ง วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 431 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ปี พ.ศ. 2564 จีนเผยโฉมต้นแบบแม็กเลฟวิ่งระหว่างกรุงปักกิ่งกับนครเซี่ยงไฮ้ ระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 600 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง เร็วกว่ารถไฟความเร็วสูงซึ่งใช้เวลา 5 ชั่วโมงครึ่ง แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเป็นโมโนเรลหรือไม่ ? และจะเปิดใช้เมื่อไหร่ ?

ปี พ.ศ. 2570 ญี่ปุ่นมีแผนที่จะเปิดใช้แม็กเลฟระหว่างกรุงโตเกียว-นาโกย่า ระยะทาง 286 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 505 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลา 40 นาที เร็วกว่าชินคันเซ็นซึ่งใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง แม็กเลฟสายนี้ไม่ถือว่าเป็นโมโนเรล

 

4. สรุป
เราคนไทยทั้งหลายตั้งหน้าตั้งตารอใช้รถไฟความเร็วสูงสายแรก เชื่อมกรุงเทพฯ กับนครราชสีมา ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงปกติไม่ใช่แม็กเลฟมาอย่างยาวนาน ถึงวันนี้ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่ ? ดังนั้น อย่าเพิ่งวาดฝันที่จะใช้แม็กเลฟเลยครับ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รมว.ยธ." แจงขั้นตอนย้าย “โกทร” มาเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
โครงหลังคาโกดังสูง 10 เมตรถล่ม คนงานร่วง-เหล็กทับร่างซ้ำ เจ็บสาหัสเพียบ
"ไทยสมายล์บัส" ตั้งเป้าปี 68 พัฒนาระบบเทคโนโลยี ดันเป้าผู้โดยสารโตต่อเนื่อง จ่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
"หน.กู้ภัย" มือโพสต์แจกรองเท้าฟรี เข้าพบตร. เผยยอมเยียวยาคุณป้าเจ้าของ หากตนผิดจริง
อบจ.ฉะเชิงเทรา เปิดโครงการแข่งขันกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา "อปท.ฉะเชิงเทราเกมส์" ครั้งที่ 3
เจ้าอาวาสหนีโรครุมเล้าผูกคอมรณภาพ
ลุงวัย 61 ปี ปลิดชีพหน้าเทศบาล หลังลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่าย สุดขนลุก มีคนเห็นวิญญาณนั่งร้องไห้ใต้ต้นไม้
"ตร.ปราจีนบุรี" โอนสำนวนคดี "สจ.โต้ง" ให้กองปราบฯแล้ว
ทหารเข้มชายแดนแม่สอด หลังเมียวดีระส่ำ "อหิวาตกโรค" ระบาดหนัก เสียชีวิตแล้ว 2 ราย รักษาตัวที่รพ.กว่า 300 คน
"โฆษกก.คลัง" เผยเงินหมื่นรับแล้ว 14.45 ล้านคน จ่ายเงินไม่สำเร็จ 3.76 หมื่นราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น