ผลงาน “บิ๊กตู่” โครงการพัฒนาเครื่องโทคาแมค “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” ผลิตพลังงานสะอาด ประเทศแรกใน ASEAN เดินหน้าเป็นรูปธรรมแล้ว

ผลงาน "บิ๊กตู่" โครงการพัฒนาเครื่องโทคาแมค "ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์" ผลิตพลังงานสะอาด ประเทศแรกใน ASEAN เดินหน้าเป็นรูปธรรมแล้ว

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 66 เพจเฟซบุ๊ก “ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC” โพสต์ข้อความระบุว่า ไทย พัฒนาเครื่องสร้างดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ “เครื่องโทคาแมค” เครื่องแรกของประเทศ ตั้งเป้า 10 ปีสำเร็จ ส่งออกพลังงานสะอาด เพื่ออนาคตคนไทย สร้างรายได้ให้ประเทศ ซึ่งประเทศไทย เป็นประเทศแรกใน ASEAN ที่มีเครื่องโทคาแมคเพื่อสร้าง “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ “ อภิมหาโปรเจคของประเทศ ที่ระดมนักวิทย์มือหนึ่งทั่วประเทศเพื่อร่วมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในอนาคต

โครงการพัฒนา “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” หรือที่มีชื่อเรียกว่า “เครื่องโทคาแมค เครื่องแรกของประเทศไทย ที่จังหวัดนครนายก จะเป็นแหล่งพลังงานสะอาดแห่งอนาคตเพื่อคนไทย เหมือนกับพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์

เครื่องโทคาแมค เป็นเครื่องควบคุมการผลิต พลังงานไฟฟ้าจากปฏิกิริยาฟิวชัน เลียนแบบการทำงานของดวงอาทิตย์ เป็นอุปกรณ์กักเก็บพลาสมาพลังงานสูง โดยใช้สนามแม่เหล็ก ซึ่งปลอดภัยและเป็นมิตรกับโลก

โดยพลังงานสะอาดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตได้มากมาย เช่น เป็นพลังงานสะอาดที่ทดแทนพลังงานฟอสซิล เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน สามารถนำไปทดแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รูปแบบเดิมได้

ประเทศไทยไทยสามารถทำเรื่องนี้ได้เป็นประเทศแรกในอาเซียน และจะเป็นไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถสร้างดวงอาทิตย์ประดิษฐ์หุ้มความร้อนด้วยพลาสมาได้ และมีความปลอดภัย ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี ประเทศไทยจะสามารถสร้างเครื่องโทคาแมคได้สำเร็จ และประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางพลังงาน มีพลังงานสะอาดใช้ และสามารถส่งออกพลังงานเหล่านี้ เพื่อสร้างได้มหาศาลกลับเข้าประเทศ

ไม่เกิน 30 ปี ไทยจะมีโรงงานไฟฟ้าฟิวชัน พลังงานจากดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ ความหวังใหม่ของโลกอนาคต มุ่งขับเคลื่อนไทยก้าวสู่ ประเทศพัฒนาตามนโยบายรัฐบาล การสร้าง “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” เป็นภารกิจแรก ของ Thailand Academy of Science (TAS) หรือ ธัชวิทย์ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นวิทยสถานเพื่อขับเคลื่อนไทยสู่การเป็นประเทศพัฒนา

TAS มุ่งมั่นสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม DEEP TECH แบบมุ่งเป้า ที่ส่งผลเป็นรูปธรรมให้ไทยก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการทำงานแบบรวมศูนย์เป็น EXCELLENT CENTER ของชาติ การพัฒนากำลังคนด้วยการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การสร้างดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ คือ ความคุ้มค่าที่จะนำไทยสู่ประเทศพัฒนาแล้วที่มีรายได้สูง

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อต้นปี 2565 มีรายงานว่า ประเทศจีน ประสบความสำเร็จในการทดลองเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์ฟิวชัน เพื่อสร้าง “ดวงอาทิตย์เทียม” ซึ่งมีอุณหภูมิที่สูงกว่าดวงอาทิตย์จริง 5 เท่า ต่อมา ไทยเอง ก็หันมาพัฒนาในเรื่องนี้เช่นกัน เพราะเพิ่งมีการเปิดตัวโครงการพัฒนา “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” หรือที่มีชื่อเรียกว่า “เครื่องโทคาแมค” เครื่องแรกของประเทศไทย ที่จังหวัดนครนายก

ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานสะอาดแห่งอนาคตเพื่อคนไทย เหมือนกับพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์นั่นเอง โดยพลังงานสะอาดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่ว่านี้ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตได้มากมาย เช่น

-เป็นพลังงานสะอาดที่ทดแทนพลังงานฟอสซิล เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน
-สามารถนำไปทดแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รูปแบบเดิมได้

ด้าน ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เป็นประธานในพิธีเปิด ได้กล่าวถึงโครงการพัฒนาเครื่องโทคาแมคว่า “ใครจะเชื่อว่า ไทยจะสามารถทำเรื่องนี้ได้เป็นประเทศแรกในอาเซียน และจะเป็นไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถสร้างดวงอาทิตย์ประดิษฐ์หุ้มความร้อนด้วยพลาสมาได้ และมีความปลอดภัย” นอกจากนี้ ยังได้ตั้งเป้าว่า ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี ประเทศไทยจะสามารถสร้างเครื่องโทคาแมคได้สำเร็จ

และประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางพลังงาน มีพลังงานสะอาดใช้ สามารถส่งออกพลังงานเหล่านี้ เพื่อสร้างได้มหาศาลกลับเข้าประเทศอีกด้วย และที่สำคัญ คนในพื้นที่จังหวัดนครนายกและจังหวัดใกล้เคียง จะได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น การนำคนในพื้นที่มาร่วมทำงาน และมีโครงการสร้างนักนิวเคลียร์รุ่นใหม่ของประเทศด้วย ถ้าหากสำเร็จไทยก็อาจจะสร้างพลังงานสะอาดได้แบบไร้ขีดจำกัด ตามรอยจีน

 

 

 

ต่อมา เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 65 เว็บไซต์ซินหัว รายงานว่ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากไทยกำลังทำการวิจัยและการทดลองเกี่ยวกับพลังงานฟิวชันร่วมกับเจ้าหน้าที่จีนในนครเหอเฝย เมืองเอกของมณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน

การวิจัยและทดลองดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือ “ไทยแลนด์ โทคาแมค-1” หรือทีที-1 (TT-1) ระหว่างสองประเทศ โดยเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค หรือ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” เป็นเครื่องจักรทดลองที่สามารถสร้างและปล่อยพลาสมาอุณหภูมิสูงพิเศษเพื่อจำลองสภาวะที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาฟิวชันได้

ดร. นพพร พูลยรัตน์ หัวหน้าฝ่ายนิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมา สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ระบุว่าทีมเจ้าหน้าที่ไทยเดินทางมายังจีนเพื่อศึกษาวิธีการใช้เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค ซึ่งไทยได้รับบริจาคโดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานในการรับมอบเมื่อปี 2018 โดยเครื่องโทคาแมคนี้จะถูกแยกชิ้นส่วนและขนส่งสู่ไทยต่อไป

มตินนท์ ไมตรีบริรักษ์ วิศวกรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการทีที-1 และวิศวกรไฟฟ้าผู้ดูแลระบบควบคุมพลาสมาของโครงการ กล่าวว่าการไฟฟ้าฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีฯ พัฒนาเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคเครื่องแรกของไทย และยังสนับสนุนทีมวิศวกรและนักวิจัยในโครงการนอกเหนือจากการจัดหาเงินทุนด้วย โดยเป้าหมายปัจจุบันของการไฟฟ้าฯ คือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจพื้นฐานและวิธีการประกอบ ใช้งาน และบำรุงรักษาเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค

อนึ่ง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 คณะนักวิทยาศาสตร์จีนสร้างสถิติโลกครั้งใหม่ในการปล่อยประจุพลาสมา ณ อุณหภูมิ 120 ล้านองศาเซลเซียส เป็นเวลา 101 วินาที ระหว่างการทดลองที่สถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (ASIPP) ในนครเหอเฝย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านการวิจัยพลังงานฟิวชัน

รายงานระบุว่ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไทย จำนวน 8 คน จากสถาบันเทคโนโลยีฯ และการไฟฟ้าฯ ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่จีนอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคเครื่องแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทีมของไทยเริ่มดำเนินการเตาปฏิกรณ์ทีที-1 ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่จีน หลังจากผ่านการอบรมนานสามสัปดาห์ ซึ่งทีมจากไทยสามารถดำเนินการเครื่องดังกล่าวได้เองหลังฝึกอบรมเป็นเวลาสองเดือน

เฉินเย่ว์ วิศวกรอาวุโสด้านเทคโนโลยีสุญญากาศของสถาบันฟิสิกส์พลาสมา ได้ทำงานร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ไทยตั้งแต่พวกเขามาถึงช่วงปลายเดือนมิถุนายน โดยเฉินจำเป็นต้องตรวจสอบเครื่องมือและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างถี่ถ้วน ก่อนส่งมอบเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคให้ฝ่ายไทย

เฉินซึ่งเป็นสมาชิกทีมสนับสนุนของจีนที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่โครงการกว่า 100 คน กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ไทยเรียนรู้รวดเร็วมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะควบคุมเครื่องจักรซับซ้อนอย่างโทคาแมค รวมถึงระบบต่างๆ ภายในเวลาสั้นเช่นนี้

ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของโครงการคือการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเหมือนดวงอาทิตย์ โดยใช้ดิวเทอเรียม (deuterium) ซึ่งเป็นธาตุไฮโดรเจนชนิดหนักและมีอยู่มากมายในทะเลมาผลิตพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ โดยคาดว่าพลังงานที่ผลิตจากดิวเทอเรียมในน้ำทะเล 1 ลิตร ผ่านปฏิกิริยาฟิวชัน จะเทียบเท่ากับน้ำมันเบนซิน 300 ลิตร

ด้านมตินนท์ชี้ว่าพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่จะเป็นแหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพและราคาเอื้อมถึงสำหรับไทยและกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

สถาบันเทคโนโลยีฯ ระบุว่าเตาปฏิกรณ์ทีที-1 มีกำหนดขนส่งสู่ไทยในเดือนตุลาคม ซึ่งอาคารที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่นานนี้ได้เตรียมพร้อมรองรับเครื่องดังกล่าวแล้ว

ขณะเดียวกันนพพรเสริมว่าสถาบันเทคโนโลยีฯ หวังมอบแพลตฟอร์มให้นักวิจัยในไทยเพื่อทำการทดลองที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาฟิวชัน และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ทำงานด้านการวิจัยพลังงานฟิวชันไม่มากนัก ทว่าเตาปฏิกรณ์ทีที-1 จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนหนุ่มสาวเข้าร่วมการวิจัยแวดวงนี้มากขึ้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น