“สมยศ” อดีตผบ.ตร. แจงวุ่น ปมหลักสูตร “กอส.” หลังสังคมดราม่า “ร.ต.อ.หญิง” ได้เลื่อนขั้นพุ่งพรวดในเวลา 4 ปี

"สมยศ" อดีตผบ.ตร. แจงวุ่น ปมหลักสูตร "กอส." หลังสังคมดราม่า "ร.ต.อ.หญิง" ได้เลื่อนขั้นพุ่งพรวดในเวลา 4 ปี

จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก “เพื่อนตำรวจ” เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นแบบพุ่งพรวด โดยยกเคสนักร้องลูกทุ่งหญิง ที่เลื่อนชั้นจาก ส.ต.ต.หญิง สู่ “ร.ต.อ.หญิง” โดยใช้เวลา 4 ปี โดยอ้างหลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุ หรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร” (กอส.) จนต่อมาทำให้สังคมมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

 

ทั้งนี้จากการตรวจสอบ “หลักสูตร กอส.” เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2558 สมัย พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เซ็นรับรอง “เห็นสมควร” ปรับปรุงประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 11 การศึกษา การฝึกและอบรม บทที่ 14 การฝึกอบรมพื้นฐานสำหรับ “ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร” เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ข่าวที่น่าสนใจ

หลักสูตร กอส.เป็น 1 ใน 4 หลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานสำหรับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร แบ่งออกเป็น

 

 

 

(1) ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนผู้มีคุณวุฒิระดับปริญญา หรือประกาศนียบัตร และมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ซึ่งหมายถึงข้าราชการตำรวจผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาตามระเบียบของทางราชการ

ได้รับอนุมัติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ไปศึกษาตามระเบียบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาตามความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ได้รับอนุมัติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เข้ารับการฝึกอบรม

(2.) ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนซึ่ง “บรรจุจากบุคคลภายนอก” บรรจุกลับ หรือโอนมา โดยการบรรจุหรือรับโอนในฐานะผู้มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญา หรือประกาศนียบัตร และมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร

(3.) ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ซึ่งบรรจุจากบุคคลภายนอก หรือโอนข้าราชการ ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตำรวจ หรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มาบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ หรือบรรจุข้าราชการซึ่ง “ไม่ใช่” ข้าราชการตำรวจ หรือพนักงานของ อปท. กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ

ทั้งนี้ ข้าราชการตำรวจในข้อ 1-3 หากสำเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรมหลัก สูตรพื้นฐานในระดับชั้นสัญญาบัตร หรือหลักสูตรอื่นๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาแล้ว ไม่ต้องเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้อีก

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะถือว่าเป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรม จะต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด ไม่ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน 40 คะแนน และสอบได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

นอกจากนี้ หลักสูตร กอส.เปิดอบรมทุกปีๆ ละ4 ครั้ง หลักสูตรอื่น ๆ ทำไมต้องขออนุญาตด้วย ถ้าจะแก้จริง ๆ ผบ.ตร.ต้องแก้ระเบียบใหม่หยุดรับหยุดใช้ระบบอุปถัมภ์รับบุตรหลานของผู้มีอันจะกินโดยการใช้เส้นสายเข้ามาเป็นตำรวจ

ล่าสุดพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่า จริง ๆ แล้ว หลักสูตร กอส. เกิดขึ้นมานานแล้ว ตนเองก็ไม่แน่ใจว่าตั้งแต่ในยุคของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใด แต่เท่าที่ทราบ ในสมัยของพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ก็มีหลักสูตรนี้แล้ว รับปีละ 7,000 คน และน่าจะมีมาก่อนหน้านั้นแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งอาจจะใช้ชื่ออื่นที่ไม่ใช่ กอส. แต่ลักษณะหลักสูตรเป็นแบบเดียวกันคือ เปิดรับบุคคลภายนอกเข้ามาอบรมเพื่อรับราชการเป็นตำรวจ

 

ทั้งนี้ มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ ไม่ใช่ใครก็ได้ คือต้องมีวุฒิปริญญาตรี ปริญญาโท ในสาขาทางวิชาชีพที่ขาดแคลน และยิ่งหากเป็นสาขาวิชาชีพเฉพาะด้าน เช่น แพทย์ วิศวกรรม บัญชี เคมี ฟิสิกส์ ก็ยิ่งต้องรับ เพราะตำรวจไม่มีบุคลากรด้านนี้ หรือมีไม่เพียงพอ

ส่วนที่ปรากฎว่า ในสมัยของตนได้มีการเซ็นรับรอง เห็นสมควรปรับปรุงประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 11 การศึกษา การฝึกและอบรม บทที่ 14 การฝึกอบรมพื้นฐานสำหรับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร โดยตอนหนึ่งมีการระบุถึง หลักสูตร กอส. จนทำให้เข้าใจว่าหลักสูตรนี้เกิดขึ้นในยุคตนนั้น พลตำรวจเอกสมยศ กล่าวว่า ประกาศดังกล่าว เป็นเพียงการเซ็นรับรองการแก้ไขในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย
ๆ บางอย่างของหลักสูตร เช่น ชื่อหลักสูตร / ระยะเวลาการอบรม / จำนวนวิชาการอบรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขอยู่เรื่อยๆ อยู่แล้ว

 

 

พลตำรวจเอกสมยศ กล่าวอีกว่า หากจะมองว่าหลักสูตรนี้เป็นช่องโหว่ในการใช้เป็นเส้นทางเข้ามารับราชการตำรวจหรือไม่ คงต้องไปดูที่ผู้ออกข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆ แต่อยากให้มองที่จุดประสงค์ที่ดีมากกว่า เพราะคงไม่มีหลักสูตรไหนที่ไม่ดี โดยหลักสูตรนี้ ผู้ที่ริเริ่มขึ้นมาก็คงมองว่า การเปิดรับบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญให้เข้ามาทำงาน ก็น่าจะดีกว่าการเสียงบประมาณส่งข้าราชการตำรวจไปเรียนด้านต่าง ๆ ที่อาจไม่ถนัด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น