นักวิชาการ เผยความเคลื่อนไหวเบื้องหลัง “ขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ” ขอลงประชามติแยกดินแดน หวั่นใจทำประเทศชาติขัดแย้งเสียหาย

นักวิชาการ เผยความเคลื่อนไหวเบื้องหลัง "ขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ" ขอลงประชามติแยกดินแดน หวั่นใจทำประเทศชาติขัดแย้งเสียหาย

จากกรณีที่มีการ เปิดตัว ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ หรือ Pelajar Kebangsaan Patani หรือ Pelajar Bangsa ปมถกเถียง “ประชามติปาตานี” กับทางออกเชิงสันติ ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมศรีวังสา ตึกรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) มีการชูประเด็น “ประชามติแยกดินแดน – แยกตัวเป็นเอกราช” อ้าง คือ สันติภาพที่แท้จริงซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของ จนทำให้เกิดความสนใจจากฝ่ายความมั่นคง และผู้สังเกตการณ์สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงเย็นของวันที่ 8 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา นั้น

วันนี้ (9 มิถุนายน 2566) ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม ดร.ตายูดิน อุสมาน อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในกรณีดังกล่าว

โดย ดร.ตายูดิน ให้ความเห็นว่า ในเรื่องนี้เป็นเรื่องการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา ในการกำหนดชะตากรรมของตัวเอง หรือ การที่จะขอแยกเป็นเอกราช ที่มีการคุยกันมานานแล้ว แต่หยุดไป เพราะมีการเลือกตั้ง และเหตุผลอื่น ๆ กระทั่งช่วงนี้เป็นช่วงรอการจัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลรักษาการทำอะไรไม่ได้ ฉะนั้นจังหวะนี้จึงเป็นจังหวะที่กลุ่มต่าง ๆ ออกมาสะท้อนเรื่องราว เพื่อจุดประกายให้รัฐบาลใหม่ ดำเนินการต่อ แต่จะทำได้หรือไม่ได้ ต้องดูตามกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญ

ข่าวที่น่าสนใจ

ตามหลักแล้ว ประเทศไทยไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย แต่หากดูการต่อสู้ของหลายประเทศ ก็จะมีขั้นตอนลักษณะเดียวกัน คือ ถามความคิดเห็นของประชาชน ว่า มีความคิดเห็นอย่างไร อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และหลายประเทศ ก็ถามมติของประชาชนว่า จะเอาอย่างไร ซึ่งประเทศอื่น ๆ อาจจะทำได้ แต่ประเทศไทยทำไม่ได้ เพราะผิดรัฐธรรมนูญ

ส่วนการพูดคุยเรื่อง สันติสุข ที่มีการพูดคุยกันมานาน และมีหลายกระบวนการ หลายขั้นตอน ตลอดจนมีการเปลี่ยนผู้นำในการเจรจาหลายคน แต่อาจจะไม่โดนใจ ไม่ทันใจ และไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเยาวชน เนื่องจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ อยากจะได้อะไรเร็ว ๆ ตรง ๆ และชัดเจน จึงได้ลองนำเสนอประเด็นนี้ ให้เกิดการรับรู้พร้อมกัน ซึ่งประเด็นนี้ทำให้หลายคนตกใจ และกังวลใจว่า กลุ่มคนดังกล่าวอ้างสิทธิอะไรมาอ้างการเป็นเยาวชน ตลอดจนกังวลใจว่า หากมีการเคลื่อนไหวแบบนี้ อาจจะผิดกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหาย หรือ มีคดีความ

อย่างไรก็ตามนักศึกษากลุ่มนี้ ก็เป็นนักศึกษาที่กำลังเรียน หรือรุ่นพี่ที่เรียนจบแล้ว ที่เป็นนักกิจกรรมองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน และบางกลุ่มก็เข้าไปสมัครเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดภาพนาทีรวบหนุ่มเมา แต่งกายคล้ายกู้ภัย ต่อยหน้าตร.หลังถูกจับได้แอบเข้าเขตตึกถล่ม สตง.
กลับมาอีกครั้งกับ "คอนเสิร์ตเพชรในเพลง" ในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 8 เม.ย.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชมฟรี
จนท.สนธิกำลัง "บุกจับบ่อนเสือมังกร" นนทบุรี รวบนักพนันนับร้อยราย
"สยามพิวรรธน์" ผนึกกำลังพันธมิตร เปิดศูนย์กลางรับบริจาค จากเหตุธรณีธรณีพิบัติภัย ช่วย รพ.ทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ "สยามรวมใจ ไทยช่วยไทย"
"อนุทิน" ตั้ง คกก. สอบข้อเท็จจริง เหตุตึก สตง. ถล่ม ขีดเส้นตาย 7 วัน ต้องรู้เรื่อง
"สันธนะ" เข้าให้ปากคำตร.คดีถูก "บังมัด คลองตัน" ตบหน้าผับ ด้านผกก.ยันเป็นคดีลหุโทษ ต้องดำเนินคดี
"รมว.นฤมล" เผยความพร้อม เตรียมจัดงานวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 8-9 พ.ค. 68
จับตา! “รอยเลื่อนภาคใต้” ใกล้ถึงคาบอุบัติซ้ำ “กูรู” เตือน “เขื่อนเชี่ยวหลาน”
จีนสั่งเก็บภาษีสินค้าสหรัฐ 34% ตอบโต้ทรัมป์
สถานทูตจีนตอบคำถามปมบริษัทจีนร่วมก่อสร้างตึกสตง.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น