มติกกต.ชี้มีหลักฐานพอ สั่งเดินหน้าไต่สวน “พิธา” รู้มีคุณสมบัติต้องห้าม แต่ฝืนสมัครส.ส.ผิดม.151

มติกกต.ชี้มีหลักฐานพอ สั่งเดินหน้าไต่สวน "พิธา" รู้มีคุณสมบัติต้องห้าม แต่ฝืนสมัครส.ส.ผิดม.151

วันที่ 9 มิ.ย. 66 มีรายงานระบุว่า คณะกรรมการ​การ​เลือกตั้ง​ (กกต.)​ มีมติเป็นเอกฉันท์ 6 เสียง ไม่รับคำร้องกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ในการสมัครรับเลือกตั้ง เหตุการถือหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้น แต่ให้รับเรื่องไว้พิจารณาเป็นความปรากฏ

โดยเห็นว่าคำร้องที่ได้ยื่นมาของทั้ง 3 คน เป็นคำร้องที่ยื่นเกินระยะเวลาที่จะสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา ในกรณีที่ร้องว่าผู้สมัครรายใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จึงเห็นควรพิจารณาสั่งไม่รับคำร้องไว้ตามระเบียบ

แต่เนื่องจากกรณีคำร้องดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์และมีหลักฐานพอสมควร และมีข้อมูลเพียงพอที่จะสืบสวนไต่สวนต่อไป ว่านายพิธาเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และรู้อยู่แล้ว ว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามแต่ได้สมัครรับเลือกตั้ง อันเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 42(3) และมาตรา 151 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จึงเห็นควรพิจารณาสั่งให้ดำเนินการไต่สวนเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฎ โดยคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนที่ได้รับแต่งตั้งจะดำเนินการไต่สวนตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบต่อไป

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ก่อนหน้านั้น ทางด้านนายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวถึงการพิจารณาคำร้องกรณีการถือหุ้นสื่อของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ว่า เรื่องนี้มีปัญหาทางเทคนิคอยู่ คือ ผู้ร้องมาร้องก่อนวันเลือกตั้ง 2 วัน ซึ่งกรณีมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ ต้องร้องภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง สำนักงานก็ต้องพิจารณาว่าสิ่งที่ร้องมีเหตุหรือมีมูลที่จะดำเนินการต่อไปหรือไม่ เพื่อเสนอให้ กกต.พิจารณา และทาง กกต.มีความเห็นว่าให้ทำให้รอบคอบและเสนอขึ้นไปใหม่ ส่วน กกต.จะรับไว้พิจารณาหรือไม่เป็นอีกประเด็น และถ้ารับแล้วจะผิดหรือถูกก็เป็นอีกประเด็น ดังนั้น เรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของสำนักงาน

เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวว่า มีการดำเนินการข้อหารู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แต่ยังคงลงสมัคร นายแสวง กล่าวว่า เรื่องการมีลักษณะต้องห้ามของการลงสมัครหากเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งต้องส่งศาลฎีกาวินิจฉัย แต่หลังเลือกตั้งก่อนการประกาศผล ยังเป็นช่องโหว่อยู่ ซึ่งสำนักงานก็คิดว่าหากมีการยื่น จะทำอะไรได้บ้าง ซึ่งสามารถทำคดีอาญาตามมาตรา 151 ได้ ส่วนถ้าประกาศรับรองผลไปแล้ว การให้พ้นจาก ส.ส.ก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 คือ สมาชิกรัฐสภาหนึ่งใน 10 เข้าชื่อ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึง กกต.ก็สามารถยื่นได้แต่เราต้องมีพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง

 

เมื่อถามย้ำว่า ขณะนี้กกต.กำลังพิจารณาควบคู่ระหว่างคดีอาญาตามมาตรา 151 และคดีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ฐานะส่วนตัวคิดว่า คดีคุณสมบัติยังพิจารณาไม่ได้ ตอนนี้พิจารณาได้เฉพาะคดีอาญาตามมาตรา 151 แต่คดีคุณสมบัติยังทำไม่ได้ เพราะยังไม่เป็น ส.ส.

 

สำหรับ มาตรา 151 ระบุว่า ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทำหนังสือยินยอมให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น มีกำหนด 20 ปี

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น