นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค” ระบุว่า
4 คำถามจากสังคมไทย
1. ใครชวนให้คนคิดเรื่องแบ่งแยกดินแดน
2. ใครสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน
3. เรากำลังจะมีรัฐบาล ที่สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งแยกดินแดน หรือไม่
4. สังเกตเห็นอะไรมั้ยว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็นเรื่อง เรื่องที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในเมืองไทยตลอดมา ถูกคนกลุ่มไหนทำให้มันกลายเป็นเรื่องเป็นปัญหา กลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เพราะใคร?
พิธาสกี้
พิธาพูดถึงปลดล็อกท้องถิ่นว่า ให้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เลือกนายกฯจังหวัดของตนเอง และงบประมาณของท้องถิ่นต้องให้ท้องถิ่นจัดการเอง ไม่ต้องส่งให้กรุงเทพเก็บไว้ หรือให้ส่วนกลางจัดการ
ฟังดูเหมือนจะดีทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อชาวบ้านไม่รู้เรื่องการเงินการคลังและการบริหารราชการแผ่นดิน ก็อาจคล้อยตามว่า เงินภาษีจากท้องถิ่นส่งไปเก็บไว้ที่กรุงเทพทำไม เอาไปส่งส่วนกลางทำไม แล้วส่วนกลางส่งกลับมาบำรุงท้องถิ่นแค่ไหน เท่าเดิมหรือน้อยกว่าที่ส่วนท้องถิ่นส่งไปส่วนกลางหรือไม่
เพจ CasteR G TROY ให้ข้อมูลว่า จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แต่ละจังหวัด เก็บภาษีได้น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นทั้ง 3 จังหวัดรวมกันก็ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท
โดยทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าวยังต้องรับงบประมาณจากส่วนกลางในแต่ละปี จังหวัดละประมาณ 5,000 ล้านบาท รวมกันทั้ง 3 จังหวัด งบประมาณจากส่วนกลางที่ส่งไปให้ทั้ง 3 จังหวัดตกประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี
ตกลงภาษีจากท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดส่งมาเลี้ยงส่วนกลาง หรือส่วนกลาง อันหมายถึงเงินภาษีจากงบประมาณทั้งประเทศต้องส่งไปเลี้ยงส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดนั่น
นี่แหละวิสัยทัศน์ของพ่อพระเอกลิเก
ถ้าทำตามวิสัยทัศน์ของพ่อพระเอกลิเก จังหวัดที่เก็บภาษีได้น้อย เช่น ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จะเอางบเงินตรงไหนไปพัฒนาหรือดูแลประชาชน ถ้ามีนโยบายให้ท้องถิ่นจัดการเองโดยการใช้งบประมาณของตนเองในท้องถิ่น
ไอ้นโยบาลหาเสียงแบบนี้หรือไม่ ที่ทำให้เกิดความแตกแยก ที่ทำให้คนในท้องถิ่นเข้าใจผิดว่า ต้องส่งส่วย ส่งเสีย ส่งภาษีในท้องถิ่นของตนให้กับส่วนกลาง
ทั้งที่ส่วนกลางต้องใช้เงินภาษีจากคนทั้งประเทศแบ่งไปดูแลท้องถิ่น ซึ่งมันคือการกระจายความเสี่ยง กระจายอำนาจการบริหารอย่างแท้จริง
ธนาธรธิปไตย
ธนาธรพูดเรื่องเชื้อชาติกับคนชายแดน 3 จังหวัดทางใต้ทำไม มีจุดประสงค์ใด ในบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านหรือสำมะโนประชากรของธนาธร ถือสัญชาติไทย โดยมีเชื้อชาติไทยหรือจีน การมีเชื้อชาติอื่นนอกจากเชื้อชาติไทยตรงๆ เป็นปัญหาและอุปสรรคในการดำรงชีวิตในประเทศไทยจริงหรือ?
ไปดูให้ดีๆ คนที่ได้ชื่อว่าคนไทย ที่อยู่ในเมืองไทย จำนวนมากมายมหาศาลมีที่มาจากเชื้อชาติอื่นๆ อย่างหลากหลายมาตั้งแต่สมัยโบราณนับตั้งแต่มีอาณาจักรไทย เรามีคนไทยเชื้อสายจีน อินเดีย ปากีสถาน รัสเซีย อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น มอญ มลายู และอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน หรือในสิงค์โปร์และมาเลเซียก็รู้กันว่ามี 3 เชื้อชาติหลักคือ มลายู จีน และอินเดีย
คำถามคือสังคมไทยเคยมีประวัติ การต่อต้าน ดูหมิ่น เหยียดหยาม รังเกียจ แบ่งแยกคนเชื้อชาติอื่นๆหรือ มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือตั้งแต่คุณชี้นำให้แบ่งแยก สังเกตเห็นอะไรมั้ยว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็นเรื่อง เรื่องที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในเมืองไทยตลอดมา ถูกคนกลุ่มไหนทำให้มันกลายเป็นเรื่องเป็นปัญหา กลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เพราะใคร?
หลักในทางกฎหมายในการกําหนดสัญชาติของบุคคล หลั ที่สําคัญ 2 ประการคือ หลักดินแดน (jus soli) และหลักสืบสายโลหิต (jus sanguinis)
หลักดินแดนถือว่าบุคคลที่ถือกําเนิดขึ้นภายใต้ดินแดนของรัฐย่อมจะได้สัญชาติโดยการเกิด ส่วนหลักสืบสายโลหิต ถือว่าบุคคลจะได้สัญชาติสืบต่อจากบิดาและมารดา หรือทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ประเทศส่วนใหญ่ในปัจจุบันยึดถือการกําหนดสัญชาติโดยอาศัยทั้งหลักดินแดนและ
หลักสืบสายโลหิตประกอบกัน การมีสัญชาติเป็นการหลอมรวมผู้คนที่แม้จะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ ในนานาอารยะประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษและทุกประเทศในยุโรป ก็มีคนจากหลายหลายเชื้อชาติมาอยู่รวมกัน ภายใต้สัญชาติอเมริกัน หรือออสเตรเลียน อังกฤษหรือประเทศในยุโรปต่างๆ เชื้อชาติไม่ได้เป็นปัญหาและอุปสรรค จนกระทั่งมีบางคนบางกลุ่มเสี้ยมว่ามันเป็นปัญหาหรือไม่?