ฤดูเก็บ "เห็ดป่า" มาแล้ว แจก 7 จุดสังเกต เห็ดมีพิษ เข้าข่ายเห็ดพิษ คร่าชีวิตคน ลดการสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
ข่าวที่น่าสนใจ
ในป่าธรรมชาติสามารถพบเห็ดได้หลากหลายชนิด มีทั้งเห็ดกินได้และเห็ดพิษ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช โดยกลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ มีข้อแนะนำในการเก็บหา “เห็ดป่า” เพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย
รู้หรือไม่ว่า บรรดาเห็ด ป่าที่ขึ้นมานั้นมีเห็ดพิษที่หน้าตาคล้ายกับเห็ดกินได้อย่างแยกด้วยตาเปล่าไม่ออกรวมอยู่ด้วย ซึ่งสารพิษที่มีอยู่ในเห็ด ป่านั้นมีหลายกลุ่ม ซับซ้อน และทดสอบพิษได้ยาก จึงมักพบข่าวร้ายจากการเก็บเห็ดพิษเหล่านี้มากินจนสูญเสียถึงชีวิตได้บ่อยครั้ง
ตัวอย่างเห็ดพิษ
- เห็ดระโงกหิน/ระโงกหินกานขน/ระโงกขาขน/ระโงกหินขาว
- เห็ดระโงกน้ำตาลอมเหลือง
- เห็ดไข่ก้านเกล็ดงู
- เห็ดไข่ห่านขาว
- เห็ดระโงกหิน
ข้อสังเกตเบื้องต้น
เห็ดระโงกพิษ มักมีเนื้อก้านตัน เหนียว และมีลักษะอื่น ๆ ประกอบ
- หมวกเห็ดสีขาวก้าน/สีขาวอมเทา
- บางชนิดมีขนเล็ก ๆ ปกคลุมที่ผิวหมวก
- ขอบหมวกไม่เรียบ ไม่เป็นขี้ริ้ว
- ครีบมีสีขาว/ขาวนวล
- ค่อนข้างถี่ มีครีบเล็กสลับครีบใหญ่ที่ปลายหมวก
- บริเวณครีบมีสะเก็ดเล็ก ๆ กระจายอยู่
- รอบขอบหมวกมีระบาย
อย่างไรก็ตาม การจัดจำแนกชนิดเห็ดต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิรานเห็ด ซึ่งจะต้องมีการศึกษาด้านสัณฐานวิทยา โครงสร้างและอณูชีววิทยา หรือชีววิทยาระดับโมเลกุล
ดังนั้น การป้องกันอันตรายจากการกินเห็ดที่มีพิษ คือ หลีกเลี่ยงการกินเห็ดที่ไม่แน่ใจและไม่รู้จัก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง