เตือน “สารให้ความหวาน” น้ำตาล 0% เสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์

แพทย์เผย WHO เตือน "สารให้ความหวาน" น้ำตาล 0% กระทบร่างกายระยะยาว เสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผย “สารให้ความหวาน” น้ำตาล 0% กระทบร่างกายระยะยาว เสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยรายงานเกี่ยวกับ “สารให้ความหวาน”  ว่า สารดังกล่าวไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ช่วยในการคุมอาหารหรือลดน้ำหนัก นอกจากนี้ การบริโภคสาร ให้ความหวานแทนน้ำตาลนานติดต่อกัน อาจสร้างผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว โดยเฉพาะ

  • ความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในผู้ใหญ่

จากการทบทวนการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานด้านสุขภาพทั่วโลก รวมผลการศึกษามากถึง 283 กรณี พบว่า การใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอาจเชื่อมโยงกับผลเสียด้านสุขภาพในระยะยาว แต่จากผลการศึกษาบางส่วนพบว่า การบริโภคสารเหล่านี้ที่สูงขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

 

สารให้ความหวาน, สารให้ความหวานแทนน้ำตาล, สารน้ำตาลเทียม, สารหวานเทียม, สาร erythritol, โรคหัวใจ, อัมพฤกษ์

 

ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อัปเดตข่าวสารผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยระบุว่า เป็น 10 ปีมาแล้วที่มีการใช้สารน้ำตาลเทียมเพิ่มหรือแทนความหวานที่ได้จากน้ำตาล เพื่อตอบสนองกับคนที่มีโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เรียกว่า เมตาบอลิก ซินโดรม (Metabolic syndrome) ที่เป็นกลุ่มอาการที่จะต่อติดต่อเนื่องตามกันมา

แต่กระนั้น การติดตามภาวะสุขภาพในคนที่ได้รับสารหวานเทียมเหล่านี้ เริ่มมีรายงานออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในปี 2000 เป็นต้นมา ถึงผลที่อาจไม่พึงประสงค์ รวมทั้งแทนที่จะเกิดประโยชน์ กลับมีโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดตีบ แต่เนื่องจากเป็นการศึกษาที่ไม่ทอดระยะเวลานานนัก และไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์หรือการเป็นสาเหตุได้ชัดเจน เนื่องจากมีตัวแปรและปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ข้อมูลยังมีความคลุมเครืออยู่

 

สารให้ความหวาน, สารให้ความหวานแทนน้ำตาล, สารน้ำตาลเทียม, สารหวานเทียม, สาร erythritol, โรคหัวใจ, อัมพฤกษ์

 

รายงานในวารสารเนเจอร์ 27 กุมภาพันธ์ 2023 เป็นงานต่อเนื่องตั้งแต่การค้นพบความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้กับการอักเสบ และเส้นเลือดตันที่รายงานในวารสารนิวอิงแลนด์และเนเจอร์ในปี 2013 ที่ตอกย้ำพิสูจน์ว่าการกินเนื้อแดง และไข่แดงจะเชื่อมโยงกับจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียไม่ดีในลำไส้ ที่สกัดและผลิตสารอักเสบออกมาชื่อ TMA และ TMAO

ทั้งนี้ การลดการกินเนื้อและไข่แดง โดยที่หนักผัก ผลไม้ กากใย ถั่ว จะระงับการอักเสบดังกล่าว และเริ่มพบว่าสาร polyols ก็มีความสัมพันธ์ร่วม งานในปี 2023 นี้พบว่าสาร erythritol ซึ่งอยู่ในกลุ่ม polyol ทำให้เกล็ดเลือดไวขึ้น จนเพิ่มความเสี่ยงของเส้นเลือดตัน

 

สารให้ความหวาน, สารให้ความหวานแทนน้ำตาล, สารน้ำตาลเทียม, สารหวานเทียม, สาร erythritol, โรคหัวใจ, อัมพฤกษ์

การศึกษาเริ่มจากเป็น un targeted metabolomics ในคน 1,157 ราย ที่มาประเมินความเสี่ยงของเส้นเลือดหัวใจ (discovery cohort) โดยได้ทำการสวนเส้นเลือดหัวใจ จนพบว่า ระดับของสาร polyol โดยเฉพาะ erythritol สัมพันธ์กับโรคหัวใจและอัมพฤกษ์มากขึ้นหลังจากติดตาม 3 ปี จากการตรวจด้วย GC-MS แต่ทั้งนี้ บอกได้คร่าว ๆ และยังไม่สามารถเชื่อมโยงกับระดับปริมาณที่ชัดเจนได้

การศึกษาต่อมาเฉพาะเจาะจง targeted metabolomics

  • คนอเมริกัน 2,149 ราย
  • และคนในยุโรป 833 ราย (validation cohort)

ที่มาตรวจประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยมีข้อมูลความรุนแรงและการติดตามก่อนหน้านั้นหลายปี โดยใช้ตัวอย่างเลือดในคนอเมริกันจากรายงานของปี 2013 และควบรวมกับคนในยุโรป พบความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างระดับของ erythritol กับความเสี่ยงที่สูงขึ้น จากการตรวจด้วย LC-MS (fourth versus first quartile adjusted hazard ratio (95% confidence interval), 1.80 (1.18-2.77) and 2.21 (1.20-4.07), respecti vely) และการทดสอบการทำงานของเกล็ดเลือดพบว่า มีการกระตุ้นเพิ่มขึ้น ทั้งในหลอดทดลองและเพิ่มการเกิดเส้นเลือดตันในหนูทดลอง

 

สารให้ความหวาน, สารให้ความหวานแทนน้ำตาล, สารน้ำตาลเทียม, สารหวานเทียม, สาร erythritol, โรคหัวใจ, อัมพฤกษ์

 

การศึกษาต่อมา (interven tion study) เฉพาะเจาะจงโดยที่มีอาสาสมัคร 8 ราย กิน erythritol 30 กรัม ที่เป็นขนาดปกติในเครื่องดื่มหรือในไอศกรีมคีโต พบระดับในเลือดสูง ลอยมากอยู่จนถึง 2 วันถัดมา
ซึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารที่พบอยู่ได้ทั่วไปนั้น จะมีปริมาณของสาร erythritol ในขนาดสูงมากกว่า 30 กรัมด้วยซ้ำ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความหวานให้มากขึ้น โดยที่อาจไม่ได้มีการระบุปริมาณที่ชัดเจน เนื่องจากถือว่าเป็นสารปลอดภัย

ผลที่ได้จากรายงานนี้ อาจต้องหาความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลเพิ่มขึ้น แม้ว่าการทดลองในรายงานนี้จะมีผลการศึกษาในหนูทดลอง รวมถึงอาสาสมัคร แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียง 8 ราย แต่การทดสอบของเกล็ดเลือดนั้นแสดงถึงปฏิกิริยาที่สูงขึ้นในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดได้

 

สารให้ความหวาน, สารให้ความหวานแทนน้ำตาล, สารน้ำตาลเทียม, สารหวานเทียม, สาร erythritol, โรคหัวใจ, อัมพฤกษ์

 

คณะผู้วิจัยได้จุดประเด็นที่ควรต้องทำต่อจากนี้ คือ การที่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้นควรที่จะแสดงปริมาณของสาร erythritol ทั้งนี้ อาจจะเป็นสารเดี่ยวที่ใส่เข้าไปหรือใส่เข้าไปร่วมกับสารที่เสมือนมาจากธรรมชาติ เช่น จาก Monk fruit หล่อฮั่งก้วยและ Strevia หญ้าหวาน ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 ถึง 400 เท่า และในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้นอาจเพิ่มเติม erythritol เพื่อให้สะดวกแก่การผลิตในรูปของการบริโภคสำเร็จ
แต่จะรอให้มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 นี้ ซึ่งไม่ทราบว่าจะต้องรอเวลาไปอีกกี่เดือนหรือกี่ปี ควรหรือไม่ ที่ผู้บริโภคอาจจะต้องเตรียมตัวเอง ในการเลือกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น

ข้อมูล : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดใจพี่สาว ลุงผูกคอประชดลูกหนี้ หน้าเทศบาล ตัดพ้อคิดซะว่าเป็นกรรมของน้อง
ต้นสังกัด ประกาศปลด "เฟื่อง" นักร้องนำวง versus หลังถูกรวบคดีเอี่ยวเว็บพนันฯ
อำเภอพระนครศรีอยุธยา-บางไทร คว้ารางวัลชนะเลิศนักร้องเสียงทองเพลงลูกทุ่ง ในการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท.งาน “ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก”
"พิชัย" เดินหน้าเต็มสูบ ถกหอการค้า-อุตสาหกรรมญี่ปุ่น นักลงทุนยักษ์ใหญ่ ชวนขยายลงทุนไทย ยันพณ.พร้อมอำนวยความสะดวกเต็มที่
เช็กด่วน อย.เร่งเรียกคืน ยาด็อกซีไซคลิน 7 รุ่นการผลิต ผิดมาตรฐาน
"รมว.ยธ." แจงขั้นตอนย้าย “โกทร” มาเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
โครงหลังคาโกดังสูง 10 เมตรถล่ม คนงานร่วง-เหล็กทับร่างซ้ำ เจ็บสาหัสเพียบ
"ไทยสมายล์บัส" ตั้งเป้าปี 68 พัฒนาระบบเทคโนโลยี ดันเป้าผู้โดยสารโตต่อเนื่อง จ่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
"หน.กู้ภัย" มือโพสต์แจกรองเท้าฟรี เข้าพบตร. เผยยอมเยียวยาคุณป้าเจ้าของ หากตนผิดจริง
อบจ.ฉะเชิงเทรา เปิดโครงการแข่งขันกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา "อปท.ฉะเชิงเทราเกมส์" ครั้งที่ 3

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น