“อัษฎางค์” ต่อจิ๊กซอร์ไอทีวี จาก ทักษิณ ถึง พิธา ชี้ภาพไม่ต่างละคร จับตาจุดจบใครกวาดล้างใคร

"อัษฎางค์" ต่อจิ๊กซอร์ไอทีวี จาก ทักษิณ ถึง พิธา ชี้ภาพไม่ต่างละคร จับตาจุดจบใครกวาดล้างใคร

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค”  ระบุว่า จาก “ชิน” ไป “อิน” และจาก “โทนี่” ไป “ทิมสกี้” “เขา….มาเพื่อกวาดล้างตัวเอง” จุดเริ่มต้นแห่งความวุ่นวายทางการเมืองเริ่มต้นเมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หรือโทนี่ วู้ดซัม นามแฝงของเขา ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป ให้สิงคโปร์ในราคาราว 7 หมื่นล้าน โดยไม่ต้องเสียภาษีสักบาท ไปเมื่อราวๆ 16 ปีที่แล้ว และเมื่อสิงคโปร์ซื้อไปแล้วก็เปลี่ยนชื่อ ชินคอร์ป เป็น อินทัช ซึ่งเป็นด้วยความบังเอิญ หรือโชคชะตา หรือสถานการณ์ที่เรียกว่า เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวก็ไม่รู้ เพราะจาก ชินคอร์ป ของทักษิณที่ทำให้ทักษิณกลับไทยไม่ได้มาตลอดชีวิตที่เหลือ ถูกสิงคโปร์เปลี่ยนชื่อเป็น อินทัช ในปัจจุบันหลังจากเปลี่ยนไปอยู่ในมือสิงคโปร์ และในที่สุดเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่จากสิงคโปร์กลับมาสู่คนไทยอีกครั้ง ภายใต้ชายคา บริษัทกัลฟ์ ของ สารัชถ์ รัตนาวะดี

ทักษิณ ขายชินคอร์ปไป 7 หมื่นล้าน กัลฟ์ ซื้ออินทัช กลับมาในราคาราว 8 หมื่นล้าน แล้วเรื่องซื้อขายหุ้น ซื้อขายบริษัทจากอดีตนายกฯ มันมาเกี่ยวอะไรกับว่าที่นายกฯ พรรคก้าวไกลของว่าที่นายกฯทิมสกี้ ประกาศว่านโยบายพระเอกขี่ม้าขาวด้วยการกวาดล้างทุนผูกขาด ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายหรือผู้ที่จะถูกผลกระทบจากนโยบายพระเอกขี่ม้าขาวด้วยการกวาดล้างทุนผูกขาดก็คือ สารัชถ์ รัตนาวะดี มหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของไทยและบริษัทกัลฟ์ของเขา เรื่องราวมันน่าติดตามไม่แพ้ละครหลังข่าวตรงที่ เรื่องราวยืดเยื้อ ยืดยาวที่เล่ามาแต่ต้นของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณมาบรรจบลงกับว่าที่นายกรัฐมนตรีพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ในตอนท้าย เพราะไม่รู้ใครลิขิตให้ชีวิตทิมสกี้ได้รับมรดกหุ้นไอทีวีมาจากพ่อ ซึ่งกฎหมายบัญญัติเอาไว้ตั้งแต่ทิมน้อยยังเป็นวัยรุ่นละอ่อน ว่าห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้งถือหุ้นสื่อ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ซึ่งทิมน้อย กรรมลิขิตให้ถือหุ้นสื่อมาตั้งแต่ยังเรียนหนังสือไม่จบ จนเติบโตมาสมัครเป็น สส.พร้อมพวงหุ้นสื่อมาตลอดสมัยสภาที่ผ่านมาโดยไม่รู้ตัว หรือไม่สนใจ หรือเก็บไว้วางยาใครก็ไม่รู้ละ แต่มันกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตัวทิมสกี้เองและสังคมไทย

เรื่องพิธาถือหุ้นสื่อมันเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และซ้อนสับเข้าไปอีก เพราะชินคอร์ปของทักษิณไปซื้อหุ้นไอทีวีเอาไว้ และในเวลาต่อมารัฐสภามองว่า มันเป็นการครอบงำ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ทางการเมืองของตน รัฐสภาไทยจึงออกกฎหมายห้ามนักการเมืองถือหุ้นสื่อ เพื่อป้องกันการครอบงำสื่อโดยนักการเมือง ซึ่งเป็นเจตนาที่ดีงามของรัฐธรรมนูญ แต่พิธา ทิมสกี้ ดันถือหุ้นสื่อติดมือมาสมัครเป็นผู้แทนฯ

ผ่านสมัยสภาไป 1 สมัย พิธากลับมาสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 โดยประกาศนโยบายพระเอกขี่ม้าขาวด้วยการกวาดล้างทุนผูกขาด แล้วหนึ่งในเป้าหมายที่ถูกตราหน้าว่าเป็นทุนผูกขาด ก็คือ สารัชถ์ รัตนาวะดี และบริษัทกัลฟ์ ซึ่งก็ไม่รู้ใครลิขิตให้เขาบังเอิญเพิ่งซื้อหุ้นอินทัชมาครอบครอง และไอ้เจ้า อินทัช ซึ่งเป็นบริษัทที่เปลี่ยนชื่อมาจาก ชินคอรัปชั่น ที่ทักษิณเอาไปซื้อหุ้นไอทีวีเอาไว้ นั้นเป็นบริษัทแม่ของ ไอทีวี อีกที เห็นภาพละครโลง(ไม่ใช่โรง)ใหญ่แล้วหรือยังว่า พิธาสกี้ จะมากวาดล้างใคร หรือจะโดนใครกวาดล้าง

 

ไปว่าเขาว่า เป็นกลุ่มทุนผูกขาด แต่ตัวเองก็ถือหุ้นบริษัททุนผูกข้อมือ อุ้ย!!! หรือนี่จะเป็นจุดจบของเด็กในบ้านที่กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา โทนี่อยากกลับบ้าน โทนี่อยากเห็นลูกสาวได้เป็นนายก ลูกสาวอยากให้พ่อกลับบ้าน อีกนิดเดียวก็จะสำเร็จอยู่แล้ว ถ้าไม่โดนทิมสกี้ตัดหน้า จาก”ชิน”ไป”อิน” และจาก”โทนี่”ไป”ทิมสกี้” “เขา….มาเพื่อกวาดล้างตัวเอง”

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น