ล่าสุด ดร.นงสคราญ อดทน ได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นนี้ ผ่านทางเฟซบุ๊ก Nongsakran Odton ระบุว่า
วันนี้ขออนุญาตรายงานสถานการณ์ข่าวต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยพร้อมคำชี้ของกระทรวงการต่างประเทศนะคะ เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้องค่ะ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานอ้างแหล่งข่าววงในหลายรายว่า รัฐบาลรักษาการของไทยเสนอแผนการทำงานของอาเซียนร่วมกับรัฐบาลทหารเมียนมาแบบเต็มรูปแบบ โดยการหารืออย่างไม่เป็นทางการจะเริ่มขึ้นในวันนี้ (18 มิ.ย.)
รายงานข่าวเอ็กซ์คลูซีฟของสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (16 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ และแหล่งข่าววงในสามรายได้เห็นจดหมายเชิญของทางการไทยจากนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ถึงบรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของชาติสมาชิกอาเซียนลงวันที่ 14 มิ.ย.
แหล่งข่าวสองรายที่รับทราบเกี่ยวกับการประชุมที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์นี้กล่าวกับรอยเตอร์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเมียนมาได้รับคำเชิญดังกล่าว เมื่อผู้สื่อข่าวรอยเตอร์สอบถามผ่านโทรศัพท์ไปยังโฆษกกองทัพเมียนมาพบว่าไม่มีผู้รับสาย
ขณะที่แหล่งข่าวทั้งสามคนบอกกับรอยเตอร์ว่า อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการหารือครั้งนี้ ต่อมานักข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ ได้สอบถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียได้คำตอบว่าไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการเชิญหารือมาก่อน อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์ ใช้ความพยายามในการตรวจสอบอีกทางด้วยการสอบถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐ
ข่าวหนังสือพิมพ์หลายฉบับทำให้ดูเหมือนว่า รัฐบาลรักษาการณ์ของท่าน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังคบคิดอะไรกันอยู่กับรัฐบาลเมียนมา ดังนั้น จึงขอนำการแถลงข้อเท็จจริงจากกระทรวงการต่างประเทศนำมาชี้แจงแถลงไขนะคะ ใครที่คิดจะ ด้อยค่า ดิสเครดิตลุงตู่ ต้องบอกว่า ลุงแข็งแกร่งดังศิลาอาสน์ อะไรที่จะกระทบกับประเทศชาติบ้านเมืองลุงไม่ทำหรอกค่ะ และ ใช้วิถีทางการฑูตประนีประนอมตลอด เพื่อให้ประเทศชาติเกิดความมั่นคงวัฒนาสถาพร ค่ะ
แถลงการณ์โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๖
ภูมิหลัง
▪ มีการปล่อยข่าวให้กับสำนักข่าว Reuters เรื่องการประชุมพบปะแบบการสนทนาอย่างไม่เป็นทางของกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งในประเทศเมียนมาที่จะมีขึ้นที่ ประเทศไทย วันที่ ๑๘ มิถุนายนนี้ ว่าเป็นการกระทำที่บ่อนทำลายความเป็นเอกภาพ ของอาเซียน
▪ ข้อตำหนิที่ตามมาคือ
ด้านสาระ การจัดประชุม ของประเทศไทยเป็นการไม่สมควร จุ้นจ้าน ไม่ไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ของอาเซียน และทำให้ประเทศในอาเซียน แตกกัน
รัฐบาลเมียนมา เป็น รัฐบาลที่ทำทารุณกรรม กับ ประชาชน มิบังควรเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ตามหลักสากล
ด้านการเมือง เป็นรัฐบาลทำเรื่องนี้อย่างปิด ๆ บัง ๆ ลับ ๆ ล่อล่อ ส่อพิรุธว่าตัวเองก็รู้ว่ากำลังทำผิดและร้ายกว่านั้นคือ ตนเองเป็นแค่ รัฐบาลรักษาการ จึงไม่สมควรถึงขั้นผิดกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศที่ริเริ่มจัดประชุมนี้ขี้นมา ควรรอให้ รัฐบาลใหม่เป็นผู้ต้ดสินใจดำเนินการใด ๆ ที่เขาเห็นว่าสมควรเอง ประเด็นการเมืองนี้เริ่มมีนักการเมืองจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เข้ามากล่าวโทษ และตำหนิรุนแรงและขยายวงกว้างขึ้น เพื่อผล ประโยชน์ทางการเมืองของตน
คำชี้แจง
1. การเชิญมาร่วมพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการนี้ ไม่ได้ทำในกรอบอาเซียนแต่อย่างใด แต่จะช่วยสนับสนุนความพยายามของอาเซียนในการแก้ไข ปัญหาเมียนมาได้ ทั้งนี้ประเทศไทยได้แจ้งอย่างเป็นทางการต่อที่ ประชุม ARF ของอาเซียนที่กรุงพนมเปญเมื่อปี ๒๕๖๕ ว่า ประเทศไทยจะดำเนินการให้มีการพูดคุยเพื่อหาวิธีซึ่งจะได้มาเพื่อการแก้ ปัญหาในเมียนมาอย่างสันติในทุกกรอบ รวมทั้ง ในกรอบที่เรียกว่า การทูต ๑.๕ ด้วย (กรอบ ๑ คือ กรอบที่เป็นการ ประชุมของราชการ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ กรอบ ๒ ภาควิชาการ กรอบ ๑.๕ คือการประชุมที่มีทั้งภาคราชการและวิชาการ) ทั้งนี้ ที่ ประชุมอาเซียนรับทราบและไม่มีผู้คัดค้าน เพราะเป็นเรื่องที่ทุกประเทศทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว
2. การจัดให้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องประเทศเมียนมานี้ไม่ใช่เพิ่งจัดครั้งนี้ครั้งแรก จัดมาหลายครั้งแล้ว ในหลากหลายรูปแบบ และหลายระดับ ซึ่ง ระดับ รมว. ตปท. นี้จัดมาแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ และทุกครั้ง ประเทศไทยก็ไม่ได้ปิดบังอาเซียน แต่ตรงกันข้าม ได้แจ้งให้ รมว. กต. ของประเทศอาเซียนทราบทุกครั้ง และเชิญมาด้วยหากเห็นโอกาสที่อาเซียนจะต่อยอดใช้เป็น ประโยชน์ได้ รวมทั้งที่เคยจัดให้ รมว. กต. ของ อินโดนีเซีย ได้พบกับ รมว. กต. ของเมียนมาไปแล้ว และต่อมาก็เปิดโอกาสให้ รมว. กต. ของเมียนมาได้มีพบกับ ผู้แทนของสหประชาชาติ และนักธุรกิจไทยที่กำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาภายในของเมียนมาให้มีโอกาสพูดคุยกับ รมว.ด้านเศรษฐกิจของ เมียนมาโดยตรง ทำให้ปัญหาหลายอย่างคลี่คลายไปได้ นอกจากนั้นก็ยังมีการจัด ประชุมที่ไม่ใช่ระดับ รมว. กต. แต่เป็นองค์และภาคส่วน ที่สนใจในการหาทางแก้ไข ปัญหาเมียนมาโดยวิธีสันติ ตลอดจนนักวิชาการ มาร่วมการสัมมนา ในหัวข้อที่สำคัญ ๆ เช่น ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ที่หลายประเทศกำลังประสบ ปัญหาทั้งหมดนี้ เป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสามารถต่อยอดซึ่งกันและกันได้ โดยเน้นว่าจะไม่มีการนำเอาเรื่องที่พูดคุยกันออกมาเปิดเผยภายใต้กฎที่เรียกว่า Chatum House Rules เพื่อให้การสนทนาทำได้อย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย สร้างความไวนื้อเชื่อใจ ไม่ต้องกลัวว่าสิ่งที่ตนเองพูดจะออกมาเป็นข่าวหน้า ๑ ทั้งหมดนี้ ประเทศไทยยึดถือหลักสากลที่ให้ความสำคัญกับการทูต และการเจรจาในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี เพื่อประโยชน์ของประชาชนธรรมดาที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในความขัดแย้ง ไม่ให้มีการเสียชีวิต หรือเลือดเนื้อของประชาชนคนเดินดิน
3. ย้ำว่า การพูดคุยเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของการทูตทั่วโลก เพื่อแสวงหาทางออกโดยสันติ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายประเทศเห็นพ้องกันสำหรับกรณีเมียนมา นอกจากนี้ ประเทศไทยไม่เชื่อว่าการหาทางออกอย่างสันติจะเกิดขึ้นได้หากไม่มีการพูดคุยเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ กันก่อน ที่จะไปบังคับให้คนนั้นทำเช่นนั้นเช่นนี้ตามที่เราเห็นสมควร หรือต้องการทำเองแล้วนั้น โอกาสจะเกิดขึ้นได้ยาก หลักการ ของอาเซียนเองจึงเน้นเรื่องการปรึกษาหารือ (consultations) การร่วมมือ (cooperation) และฉันทามติ (Consensus) มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งอาเซียน ทั้งยังเน้นเรื่องการไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน ซึ่งทำให้ ประเทศหลาย ที่เคยมี ปัญหากัน และแต่ละประเทศก็มีแผลของตัวเองต่าง ๆ กันไป ไม่ต้องทะเลาะกัน แต่สามารถร่วมมือกันได้ แม้มีความแตกต่าง และสิ่งนั้นทำให้อาเซียนสามารถเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเมืองมาได้ในปัจจุบันจนเกิดคำที่เรียกว่า ความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) ขึ้นมาได้จากความเป็นปึกแผ่นและมีเอกภาพ ทำให้อาเซียนสามารถมีบทบาทนำท่ามกลางความท้าทาย และความหลายหลากในหลาย ๆ ด้านของประเทศ สมาชิก