“อดีตบิ๊กข่าวกรอง” แจงอีกรอบ เวทีถกแก้ปัญหาเมียนมา เป็นประโยชน์ไทยโดยตรง เตือนอย่าจุดไฟขัดแย้งชาติเพื่อนบ้าน

"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" แจงอีกรอบ เวทีถกแก้ปัญหาเมียนมา เป็นประโยชน์ไทยโดยตรง เตือนอย่าจุดไฟขัดแย้งชาติเพื่อนบ้าน

20 มิ.ย. 2566 นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้

 

 

 

 

 

 

ผลประโยชน์ของประเทศ วันนี้ขอพูดเรื่องการจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับเมียนมา ที่กระทรวงการต่างประเทศจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน ที่ผ่านมา

 

 

การจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการคือ informal meetion เป็นการประชุมที่ไม่อยู่ในกรอบของอาเซียน และไทยได้เคยแจ้งอาเซียนทราบมาก่อนแล้วว่า ไทยจะจัดให้มีการประชุมที่เรียกว่า track 1.5 ไม่เปฺ็นทางการ และไทยเคยจัดประชุมเช่นนี้มาก่อนหน้านี้สองครั้งแล้ว และรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียก็เคยมาร่วมประชุมดังกล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

ไม่ได้เป็นการเริ่มนโยบายใหม่ แต่ทำเรื่องที่ริเริ่มไว้และค้างคาอยู่ให้เสร็จ ปูทางให้รัฐบาลใหม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ ด้วยการเมืองระหว่างประเทศที่สร้างสรรค์ ไม่เปฺ็นศัตรูกับใคร และไม่ผลักมิตรเป็นศัตรู การสู้รบในเมียนมาเริ่มรุนแรง มีผู้อพยพหนีภัยการสู้รบเข้ามาในไทยและอินเดียจำนวนมาก มีการลักลอบส่งอาวุธให้กลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลเมียนมา จนจะกลายเป็นการสร้างประชาธิปไตยบนซากศพของเพื่อนมนุษย์

 

หากการสู้รบขยายตัว จะตามมาด้วยการปิดด่านชายแดนที่กระทบต่อการค้าตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ คนไทยต้องเดือดร้อนด้วย

 

ถ้ารัฐบาลใหม่ไม่ชอบแนวทางนี้ ไม่อยากผูกสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับเมียนมา อยากกดดัน อยาก isolate เมียนมา อยากแซงชั่นเมียนมาอย่างที่ตะวันตกต้องการ ก็เป็นการตัดสินใจของรัฐบาลใหม่

 

การจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการเช่นนี้ เป็นการประชุมที่ไม่มีประธานในการประชุม ไม่มีวาระการประชุม ลักษณะการประชุมเป็นแบบฟรีสไตล์ ใครใคร่พูดอะไรพูด ใครใคร่ถาม ถาม ในบรรยากาศสบาย ๆ ไม่มีโต๊ะประชุม ไม่มีการกดดันกัน

 

 

 

การประชุมในครั้งนี้มีประเทศต่าง ๆ ส่งผู้แทนมาร่วมประชุม 9 ประเทศ มีทูตพิเศษจากจีนและอินเดียมาร่วมในการประชุมด้วยในฐานะเพื่อนของเมียนมา Myanmar Friends

ยืนยันว่าการประชุมครั้งนี้ ไม่ใช่การประชุมในกรอบของอาเซียน และไม่ใช่การจัดประชุมเพื่อตัดหน้าหรือชิงดีชิงเด่นกับใคร เป็นความพยายามของไทยในการแสวงหาหนทางและโอกาสในการช่วยแก้ปัญหาของ

 

 

เมียนมาและดึงเมียนมาให้กลับมาสู่ครอบครัวอาเซียน เป็นการแสวงหาทางออกทางการเมืองที่ต้องแยกออกจากการทหารและการสู้รบ

 

 

การประชุมในลักษณะนี้เป็นเสมือนความพยายามในการสร้างสะพานจากทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ต้องหาจุดร่วม จุดที่ตั้งของตอม่อสะพานจากทั้งสองฝั่งให้ตรงกัน เพื่อสะพานจะสามารถบรรจบตรงกันได้กลางแม่น้ำโดยไม่คลาดเคลื่อน ความพยายามของไทยในการผูกสัมพันธ์ Engagement คือ ทุกฝ่ายต้องได้มีโอกาสพูด อธิบายข้อจำกัด ซึ่งจะเกิดความไว้วางใจ ความเชื่อใจ Trust

 

 

และมีสัญญาณที่ดีมากจากการประชุมในครั้งนี้ ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการกีดกันเมียนมาออกไปจากครอบครัวอาเซียน ต้องไม่ชี้หน้าใครว่า มึงทำผิด ต้องทำอย่างกู กูทำถูก ต้องไม่สั่งให้ใครทำอะไร เพราะทุกประเทศมีอธิปไตยของตนเอง ต้องไม่เอามาตรฐานของตัวเองไปตัดสินใคร มิเช่นนั้น ความขัดแย้งและสงครามจะไม่สิ้นสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิชัย" หารือ "รมต.พาณิชย์-อุตสาหกรรม" บาห์เรน ยกระดับสัมพันธ์การค้า จัดทำ FTA เชื่อม 2 ปท.
‘ซัวเถา’ จัดมหกรรมดอกไม้ไฟสุดยิ่งใหญ่รับตรุษจีน
เม็กซิโก-แคนาดา-จีนประกาศสงครามการค้ากับสหรัฐ
ทรัมป์ไฟเขียวกำแพงภาษีแคนาดา เม็กซิโกและจีนแล้ว
สรุปผล 47 นายกอบจ. "เพื่อไทย" คว้าชัย 10 ที่นั่ง "ภูมิใจไทย" 9 สู้สูสี "ปชน." ได้แค่ 1 ที่
ผู้โดยสารดับยกลำจากเหตุเครื่องบินกู้ชีพตกที่สหรัฐ
ทบ.ร่วม สตช. ประสานเมียนมา ช่วยเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวฮ่องกง 1 ราย
พรรคปชน.ช้ำ! ส่งเลือกตั้งนายกอบจ.17 จังหวัด คว้าชัยแค่ลำพูน
รวมไทยสร้างชาติ คว้าชัยนายกอบจ. 5 จังหวัด
"นิด้าโพล" เผยคนกรุงฯส่วนใหญ่ ชี้ขึ้นฟรีรถไฟฟ้า-เมล์ขสมก.ลดฝุ่นไม่ได้ผล มาตรการรัฐขาดประสิทธิภาพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น