“ดอน” ย้ำเร่งคุยกลุ่มอาเซียนปมเมียนมา เพื่อรักษาประโยชน์ประเทศไทย ชี้เริ่มมีสัญญาณทางออกที่ดี

“ดอน” ย้ำเร่งคุยกลุ่มอาเซียนปมเมียนมา เพื่อรักษาประโยชน์ประเทศไทย ชี้เริ่มมีสัญญาณทางออกที่ดี

วันที่ 20 มิ.ย.66. นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การเชิญประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มอาเซียนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งในประเทศเมียนมา วานนี้ (19 มิ.ย.66) ไม่มีปัญหาอะไร ทุกประเทศที่เข้าร่วมประชุมพอใจและต้องการให้จัดการประชุมลักษณะนี้อีก ซึ่งยืนยันการจัดประชุมนี้มีเหตุและผล ซึ่งเคยออกแถลงการณ์ว่าจะดำเนินการให้ปัญหาของเมียนมาลุล่วง เปิดโอกาสให้หาวิธีการต่างๆ ซึ่งเคยจัดมาแล้ว 2 ครั้ง และได้ประโยชน์

สำหรับผลลัพท์การของประชุม ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นข้อตกลงกันไว้แล้ว แต่ขอให้รับรู้ว่าเป็นประโยชน์ อีกทั้งได้พูดถึงเรื่องที่ไม่เคยพูดมาก่อน และถือว่ามีพัฒนาการ ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันหาทางออก และเมียนมาก็พยายามดำเนินการต่างๆให้มีความคืบหน้าและมีโอกาสเห็นทางออก ซึ่งเมื่อครั้งที่เมียนมามีรัฐประหาร ก็ยืนยันมีทางออก ด้วยการจัดการเลือกตั้ง

นายดอน ย้ำว่าในส่วนของไทย ภาครัฐพยายามดูแลผลประโยชน์ของประเทศ และคนไทย ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม ซึ่งอาเซียนมีแนวทาง 5 ข้อ แต่ใน5 ข้อนั้น ไม่มีทางออก แต่เนื่องจากไทยมีพรมแดนติดต่อกับเมียนมากว่า 2,400 กิโลเมตร ในขณะที่ประเทศอื่นๆในอาเซียนไม่มีพรมแดนติดเมียนมา ก็ไม่ได้เดือดร้อน และไม่ได้จำเป็นต้องรีบหาทางออก แต่ปัญหานี้กระทบต่อประเทศไทย ผลผระโยชน์ของคนไทย พ่อค้าไทย และนักลงทุนต่างประเทศที่สนใจมาลงทุนในไทย ดังนั้นต้องมองประเด็นเหล่านี้ด้วย ย้ำว่าทุกอย่างอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศและคนไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ยังมีปัญหาค้ามนุษย์ ยาเสพติด ค้าอาวุธ และแสกมมิ่งต่างๆ จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา เพราะฉะนั้นมีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่อาเซียนรับรู้ว่าต้องการหาทางออกจากปัญหานี้โดยเร็วที่สุด เพราะได้รับผลกระทบมากที่สุด จึงขอให้มองมุมนี้ด้วย เนื่องจากอาเซียนว่าไปตามหลักการ

สำหรับประเทศอาเซียนมาเข้าร่วมประชุม 7 ประเทศ ซึ่งมากกว่าการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา และยังมีอีก 2 ประเทศที่ได้รับผลกระทบเพราะมีชายแดนติดต่อเมียนมา คือ อินเดียและจีน เนื่องจากต้องการทราบว่าจะแก้ไขปัญหากันอย่างไร

ส่วนเรื่องนี้ต้องส่งต่อให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการหรือไม่นั้น รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นการดูแลผลประโยชน์ของประเทศไทย ซึ่งสิ่งใดที่เป็นผลประโยชน์ ผู้ที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่รับผิดชอบก็จะต้องดูแลกันต่อไป และทุกคนควรรู้ว่าปัญหาส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง อย่ารับฟังเฉพาะข่าวสารที่อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้นต้องให้ข่าวที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

สำหรับการลี้ภัยของชาวเมียนมาเข้ามาในไทย ก็ปฏิบัติตามหลักสากล ดูแลให้การรักษาและให้เดินทางกลับประเทศ แต่สิ่งที่ไม่ต้องการคือไม่อยากให้มีการสู้รบ เพราะหากบานปลาย ยืดเยื้อ กระทบต่อไทยทั้งหมด การค้าชายแดนเสียหาย จนกว่าสถานการณ์จะสงบเรียบร้อย

ทั้งนี้ย้ำว่าผลประโยชน์ของประเทศไทยรอไม่ได้ และครั้งนี้ไม่มีการลงนามข้อตกลง เป็นการรับรู้ร่วมกันเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”
วินาศสันตะโร รถชนกันสนั่น 7 คันรวด น้ำมันหกเต็มถนนพหลโยธิน มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น