สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น นำนักศึกษาหลักสูตรพัฒนานักกฏหมายท้องถิ่น ศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง“โคกหนองนาบุญ 108”

สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น นำนักศึกษาหลักสูตรพัฒนานักกฏหมายท้องถิ่น รุ่นที่ 22 ศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ศึกษาเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ประยุกต์ใช้ในการทำงาน

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ หมู่ 9 ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นำโดย นายรติภัทร  สาดะระ  ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรนิติกร  สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย  นำนักศึกษาหลักสูตรพัฒนานักกฏหมายท้องถิ่น รุ่นที่ 22 จำนวน 60 กว่าคน  มาศึกษาดูงานนอกสถานที่  โดยมี ดร.บุญสมหญิง  พลเมืองดี ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ พร้อมด้วยนายชูเกียรติ  บุญมี  นายกเทศมนตรีตำบลบางบาล นายปราโมทย์  กิจปลื้ม ที่ปรึกษาพัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  นายมิตรชัย  ศรีผ่าน  พัฒนาการอำเภอบางบาล  คณะวิทยากร และปราชญ์ชาวบ้านคอยให้การต้อนรับ

นายรติภัทร  สาดะระ  ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรนิติกร  กล่าวว่า ในการนำคณะนักศึกษาหลักสูตรนิติกร สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น  มาศึกษาดูงานนอกสถานที่ ที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ ในครั้งนี้  เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และ ประสบการณ์จากสถานที่จริง เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และ งานในหน้าที่ของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม หลักการทรงงาน เศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมอบให้กับคนไทย รับรู้และเข้าใจนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ายุคสมัยในปัจจุบัน  สำหรับนิติกรที่ปฏิบัติงานแต่ละพื้นที่บางครั้งในเรื่องข้อกฏหมายต้องนำไปใช้สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน  ซึ่งในบางครั้งชาวบ้านเคยทำมาแบบผิดๆถูกๆจะได้นำไปแนะนำให้กับชาวบ้านได้รับรู้ได้อย่างถูกต้องลดความขัดแย้งในพื้นที่และการกระทำที่ผิดกฏหมาย เช่นการบุกรุกในพื้นที่  การทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย เช่นการเผาตอซังข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชนในปัจจุบัน อาจจะเกิดข้อพิพาทโต้แย้งกันในชุมชน นิติกรก็ต้องเข้าไปสร้างความเข้าใจ ไกล่เกลี่ยชี้แนะให้ความรู้กับประชาชน ถึงความถูกต้องในหลักข้อกฏหมาย

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านนายชูเกียรติ  บุญมี  นายกเทศมนตรีตำบลบางบาล กล่าวว่า ตนก็เคยศึกษาที่สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น แห่งนี้มาก่อน  การที่นักศึกษาหลักสูตรนิติกร ได้มีโอกาสมาศึกษาดูงานเรียนรู้จากสถานที่จริง จะได้รับรู้ถึงปัญหา และการแก้ปัญหา เวลาที่มีการตรวจรับงาน ว่าขั้นตอนการทำงานในบางครั้งต้องมีการปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ หากยึดตามหลักการอย่างเดียวก็จะเกิดความขัดแย้งกับประชาชนที่มีวิถีชีวิตในชุมชนในแต่ละชุมชนที่ไม่เหมือนกัน ตามยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ระบบขั้นตอนการทำงานของหน่วยงานราชการ กับ การดำรงชีวิตของชาวบ้านไม่เหมือนกัน แต่ก็สามารถไปในทิศทางเดียวกันได้ อยู่ที่ความเข้าใจปัญหา การแก้ปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ตนในฐานะที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลบางบาล ยาวนานมาหลายปี จึงรับรู้ถึงปัญหาของชุมชน และหาทางแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของชุมชนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน

ดร.บุญสมหญิง  พลเมืองดี ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ถือเป็นโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน เป็นแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันที่มีแบบแผน หลักการ ในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ครอบครัว   อีกทั้งยังเป็นศูนย์ฝึกทักษะ เรียนรู้ทางวิชาการของนักศึกษาจากสถาบันต่างๆได้มาศึกษาเรียนรู้จากสถานที่จริงตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้เรียนรู้จากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ที่เป็นโคก เป็นหนอง และนา ในการทำเกษตรแบบพอเพียงเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

ด้านนายชลัฏกิตติ์ เหมะธุลิน  ประธานคณะกรรมการนักศึกษา หลักสูตรพัฒนานักกฎหมายท้องถิ่น รุ่นที่ 22  กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณเจ้าของสถานที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  “โคกหนองนาบุญ 108”  ที่ได้ให้ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่นักศึกษาหลักสูตรพัฒนานักกฏหมายท้องถิ่น รุ่นที่ 22   เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรต่อไป

นายสิทธิ  อาษากิจ เลขานุการ รุ่น   กล่าวว่า ในการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้แนวคิดที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ในเรื่องของความพอเพียงนั้นเราไม่ได้นำไปใช้ในแง่ของการเกษตรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้จ่ายอย่างพอประมาณ อย่างเรื่องเงินถ้ามีเหลือก็เก็บไว้ใช้  ถ้ามีมากกว่านั้นก็ใช้ในการเก็บออม  ในเรื่องของปัจจัย 4 นำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาใช้  ทั้งเรื่องหยูกยาก็ใช้พืชผักที่เป็นสมุนไพร  เสื้อผ้าเครื่องใช้ ก็ใช้ในสิ่งที่ทำมาจากวัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ การเดินทางก็ใช้พลังงานที่เป็นธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในการเดินทาง โดยรวมก็คือหลักของการพอเพียง พอประมาณ เป็นภูมิคุ้มกันตัวเองเพื่อที่จะได้ไม่ไปหลงกับเรื่องของการบริโภคนิยมจนเกินไป  ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงก็สามารถดำรงชีวิตตนเองอยู่ได้ และยังช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย

เกียรติยศ  ศรีสกุล ผอ.ข่าว TOPNEWS ภาคกลาง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น