นายกฯจีน-เยอรมนี ร่วมหารือหลายประเด็นครอบคลุม

นายกรัฐมนตรีจีนพบกับนายกรัฐมนตรีเยอรมนี หวังหารือปรับความร่วมมือ และความสมดุลระหว่างกันอีกครั้ง หลังเยอรมนีออกเอกสารระบุ จีนมีความเป็นคู่แข่งที่เป็นระบบ

นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ แห่งเยอรมนี เป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาหารือกับนายกรัฐมนตรีหลี่ เฉียง แห่งจีน ที่เดินทางไปเยือนเยอรมนีเป็นประเทศแรก หลังรับตำแหน่ง ภายหลังหารือร่วมกัน ทั้ง 2 ก็ได้ออกมาแถลงต่อผู้สื่อข่าว โดยชอลซ์ได้กล่าวว่า เยอรมนีมุ่งมั่นที่จะขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ กับเอเชีย และส่วนอื่นๆ เยอรมนีไม่ต้องการปิดตัวเองให้อยู่กับพันธมิตรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการสร้างและขยายกลุ่มพันธมิตรที่สมดุล ไปทั่วทั้งเอเชีย และที่อื่นๆด้วย

นอกจากนี้ ชอลซ์ยังได้กล่าวถึงประเด็นอื่นๆด้วย เช่นเรื่องยูเครนนั้น ชอลซ์ได้กล่าวว่า ตนขอร้องอีกครั้ง ให้รัฐบาลจีนใช้อิทธิพลมากขึ้นกับรัสเซียในสงครามครั้งนี้ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกถาวรของ UN และคณะมนตรีความมั่นคง สิ่งนี้จึงเป็นงานพิเศษของจีน ขณะที่ในเรื่องสภาพอากาศ ชอลซ์ก็ได้กล่าวว่า ในฐานะผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ เยอรมนีและจีนจึงมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษ ซึ่งเราจะเผชิญหน้าความรับผิดชอบนี้ร่วมกัน ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ด้านหลี่ก็ได้กล่าวถึงประเด็นของเศรษฐกิจว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกขาดแรงผลักดัน จีนและเยอรมนีในฐานะชาติที่มีอิทธิพลและมีขนาดใหญ่ ควรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อสันติภาพและการพัฒนาของโลก ทั้งนี้ จีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระหว่างจีนและเยอรมนี รวมถึงความสัมพันธ์ของจีนและยุโรปด้วย จีนยินดีทำงานร่วมกันทั้งเยอรมนีและสหภาพยุโรป เพราะจีนต้องการให้ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น

หลี่กล่าวต่อในประเด็นอื่นๆว่า การเจรจาครั้งนี้ ถือว่ามีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ เราจะมีการประกาศการจัดตั้งกลไกการเจรจา และความร่วมมือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงสีเขียวอย่างเป็นทางการ ประเทศของเราทั้ง 2 จะจัดการประชุมระดับสูงครั้งที่ 3 ร่วมกันด้วย ทั้งนี้ ตนขอเสนอให้จีนและเยอรมนี เป็นพันธมิตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และร่วมกันจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความร่วมมือในอนาคตของเราต่อไป

ในการพบกันของรัฐบาลจีนและเยอรมนีครั้งนี้ ทางนิตยสารเดล สปีเกลของเยอรมนีตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ทั้ง 2 จะต้องมีความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันต่อไป เพราะการพูดนั้นง่ายกว่าการทำให้เกิดขึ้น ซึ่งในประเด็นเศรษฐกิจนั้น แม้รัฐบาลเยอรมนีจะต้องการลดความเสี่ยงในการพึ่งพาจีน แต่ด้วยความที่จีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี เมื่อถึงคราวเกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่างจีนและชาติตะวันตก เศรษฐกิจของเยอรมนีโดยรวม ก็เสี่ยงที่จะต้องตกอยู่ในอันตรายอย่างรุนแรง ดังนั้น การจัดการความสมดุลที่เยอรมนีต้องการ จึงถือเป็นความท้าทายที่แท้จริง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมโยธาฯ" จับมือ "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" ลงนาม MOU ช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการบริจาคโลหิต
“ไทด์” แฉลึก! ยศใหญ่โทรปิดเกม สั่งย้าย “แตงโม” เข้านิติเวช รพ.ตำรวจ
เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น