“แอมเนสตี้ฯ” โผล่อุ้ม “หยก” แขวะสังคมไทย หัดเรียนรู้สิทธิเด็ก

"แอมเนสตี้ฯ" โผล่อุ้ม "หยก" แขวะสังคมไทย หัดเรียนรู้สิทธิเด็ก

วันที่ 22 มิ.ย. 66 นายชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยระดับภูมิภาคประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แสดงความคิดเห็นกรณี ‘หยก’ เยาวชนอายุ 15 ปีที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิทางการศึกษา และสิทธิในเนื้อตัว ร่างกายของเด็กนักเรียน โดยระบุว่า การตัดสถานภาพความเป็นนักเรียนของหยกโดยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ซึ่งกระทำบนพื้นฐานของกฎระเบียบข้อบังคับให้มีผู้ปกครองรับรองการมอบตัวนั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิด้านการศึกษาของเด็ก พร้อมเรียกร้องให้โรงเรียนและหน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการทันทีเพื่อคืนสถานะความเป็นนักเรียนและรับรองสิทธิด้านการศึกษาของหยก

นายชนาธิป ระบุว่า การตัดสิทธิเข้ารับการศึกษาในกรณีของหยก เพียงเพราะไม่มีผู้ปกครองที่โรงเรียนรับรองมามอบตัว อิงอยู่บนกฎระเบียบที่ไม่เป็นธรรมและเลือกปฏิบัติ และไม่สอดคล้องกับทั้งกฎหมายไทยว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

“ในทุกการตัดสินใจ โรงเรียนต่างๆ ควรคำนึงถึงหลักการสำคัญ “ผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก” ตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน โดยผลประโยชน์ดังกล่าว ย่อมรวมถึงสิทธิด้านการศึกษา ซึ่งได้รับการรับรองภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อันเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

มาตรา 3 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กกำหนดว่า “ในการกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะกระทำโดยสถาบันสังคมสงเคราะห์ของรัฐหรือเอกชน ศาลยุติธรรม หน่วยงานฝ่ายบริหาร หรือองค์กรนิติบัญญัติ ผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก” นอกจากนี้ มาตรา 28 ระบุว่า รัฐภาคีจะต้องจัดให้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา “แพร่หลายและเปิดกว้างแก่เด็กทุกคน”

“หลักการว่าผู้เยาว์ต้องมีผู้ปกครองให้ความยินยอมรับรองในการตัดสินใจ มีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเผชิญกับอันตราย หรือการถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ชอบ แต่ในกรณีของหยก การมอบตัวเข้าศึกษาต่อนับว่าอยู่ในผลประโยชน์สูงสุดของเด็กโดยตรง ช่วยให้น้องได้รับสิทธิทางการศึกษา ซึ่งได้รับการรับรองทั้งภายใต้กฎหมายไทยและระหว่างประเทศ โรงเรียนสามารถยึดหลักการอะลุ่มอล่วยด้วยการยึดถือหลักการดังกล่าวและอนุญาตให้ยืดหยุ่นกฎได้เลยเพื่อให้เด็กสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนที่พึงมีได้อย่างเต็มที่” ชนาธิปกล่าว

ส่วนกรณีที่มีการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย เกี่ยวกับเครื่องแบบนักเรียน มองว่าเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องเรียนรู้ว่า การที่เด็กออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วหลายครั้ง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กก็ได้กำหนดถึงประเด็นนี้ว่า กฎระเบียบของโรงเรียนต้องกำหนดขึ้นโดยสอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก เรื่องนี้จึงควรเป็นบทเรียนหรือจุดประกายให้สังคมทบทวนเรื่องกฎระเบียบที่มีอยู่ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน

 

“ในประเด็นเรื่องการปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับเครื่องแบบและทรงผม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เด็กออกมาเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิเนื้อตัวในร่างกายของเขา และอยากให้สังคมได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ว่า การที่เด็กออกมาพูดเรื่องนี้ การที่เด็กเริ่มออกมาทำการอารยขัดขืน ประท้วงกฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่เรื่องแปลก ควรเป็นสิ่งที่จุดประกายให้สังคมเริ่มตั้งคำถามว่ากฎระเบียบเหล่านี้จำเป็นมากน้อยแค่ไหน”

“โรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองเด็ก ต้องหันกลับมาพิจารณาถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กตามกฎหมายและหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และดำเนินการทันทีเพื่อให้หยกสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและเข้าเรียนได้ตามที่ควรจะเป็น” ชนาธิปกล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”
วินาศสันตะโร รถชนกันสนั่น 7 คันรวด น้ำมันหกเต็มถนนพหลโยธิน มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย
"สันติสุข" แจงมองต่าง เหตุแพทยสภาเลื่อนตัดสินปมชั้น 14 เชื่อคกก.รู้สังคม จับตา ไม่ยอมทำสิ่งเสื่อมเสียเกียรติแน่นอน
อากาศวันนี้ "อุตุฯ" เผยไทยตอนบน อากาศร้อนทะลุ 40°C เตือน 21 จว. รับมือฝนถล่ม กทม.โดนด้วย
จัดอย่างยิ่งใหญ่ ชวนเที่ยวงานวัฒนธรรม วันสงกรานต์ "งานเทศกาลหนังใหญ่วัดขนอน และมหกรรมหนังเงานานาชาติ"
เปิดภาพนาทีรวบหนุ่มเมา แต่งกายคล้ายกู้ภัย ต่อยหน้าตร.หลังถูกจับได้แอบเข้าเขตตึกถล่ม สตง.
กลับมาอีกครั้งกับ "คอนเสิร์ตเพชรในเพลง" ในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 8 เม.ย.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชมฟรี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น