“พล.ต.อ.อดุลย์” เร่งปรับกฎหมายแรงงาน พลิกโฉมทันยุค หวังแรงงานได้รับคุ้มครองเป็นธรรม

"พล.ต.อ.อดุลย์" ปธ.กมธ.แรงงาน วุฒิสภา เร่งปรับกฎหมายแรงงาน พลิกโฉมทันยุค หวังแรงงานได้รับคุ้มครองเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 66 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา เรื่อง “ประมวลกฎหมายแรงงานไทย พลิกโฉมทันยุคสู่สากล ครั้งที่ 2” เพื่อเปิดเวทีประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็น รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาศึกษา แนวทางการจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงานจากทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและวิเคราะห์ แนวทางที่เหมาะสม ในการพิจารณาศึกษาและการทำร่างประมวลกฎหมายแรงงานในระยะต่อไป และเพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะประกอบการจัดทำรายงานของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา โดยมีภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง นักวิชาการด้านแรงงาน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย ตลอดจนอาจารย์และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา ในครั้งนี้ ณ ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

 

ข่าวที่น่าสนใจ

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ปัจจุบันพัฒนาการของสังคมในมิติด้านการทำงานนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกสังคมตั้งแต่อดีตเรื่อยมา และมีรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย ขณะเดียวกันภาครัฐก็ได้มีการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือการแรงงาน ออกมาใช้บังคับในสังคมเฉพาะเรื่องตามความเหมาะสมของแต่ละยุคสมัยเรื่อยมาเช่นกัน ซึ่งการตรากฎหมายเรื่องเดียวกันขึ้นใช้บังคับมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจนำไปสู่การมีกฎหมายมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะการมีกฎหมายเรื่องเดียวกันกระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ ย่อมเป็นที่มาของปัญหาความไร้ระบบระเบียบของกฎหมาย ไม่สะดวกต่อการบังคับใช้ การศึกษาอ้างอิง และสำคัญที่สุด คือ สภาพดังกล่าว ย่อมทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้โดยสะดวกและทำความเข้าใจกฎหมายได้ยาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องการให้รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ และดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวก และสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่าย เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

 

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า ผลจากการจัดสัมมนาในครั้งนี้ จะช่วยผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการจัดระบบกฎหมายว่าด้วยการแรงงานที่กระจัดกระจายอยู่ในปัจจุบันจำนวน 13 ฉบับ เป็น 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 1,146 มาตรา ให้เหลือเพียง 510 มาตรา เป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เพื่อให้มีเนื้อหาสั้น กระชับชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อภาคแรงงาน ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้บังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ เป้าหมายหลักเพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม

 

 

สำหรับขั้นตอนภายหลังที่คณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะจัดทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยมีร่างประมวลกฎหมายแรงงานที่จัดทำขึ้นนี้เป็นภาคผนวก และจัดส่งไปยังรัฐบาลต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น