“วัคซีนโควิด” ควรหยุดฉีดเข็มกระตุ้นป้องกันโควิด-19 แล้วหรือไม่ เช็ค

วัคซีนโควิด

"วัคซีนโควิด" ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ไขข้อข้องใจ เราควรยุติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันโควิด-19 กันแล้วหรือไม่ พร้อมเผยข้อมูลควรรู้เรื่องวัคซีน

“วัคซีนโควิด” ราย ชื่อ วัคซีน โค วิด วัคซีนเข็มกระตุ้น moderna bivalent คือ โดยล่าสุดทางด้าน ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาเผยข้อมูลในประเด็น เราควรยุติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันโควิด-19 กันแล้วหรือไม่? พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน โมโนวาเลนต์, ไบวาเลนต์ และ ไตรวาเลนต์ ดูได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics โดย ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ระบุข้อความว่า เราควรยุติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันโควิด-19 กันแล้วหรือไม่ วัคซีนโควิด-19 โมโนวาเลนต์, ไบวาเลนต์ และ ไตรวาเลนต์ ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ว่า ‘เรายังควรยุติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (booster shot) เพื่อป้องกันโควิด-19 หรือไม่

คำตอบชัดเจนจากองค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA) และองค์กรด้านสาธารณสุขของจีน รวมทั้งงานวิจัยที่ศูนย์จีโนมฯดำเนินการร่วมกับรพ. รัฐและเอกชนเพื่อศึกษาธรรมชาติของโควิด-19 จากอาสาสมัคร 15,171 คนในเขตพื้นที่ความเสี่ยงสูงในประเทศไทย ตลอด 3 ปีภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บ่งชี้ว่า

‘ยังมีความจำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบาง 608’ กล่าวคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป, ผู้ที่มีโรคประจําตัว, และกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะกลุ่มนี้หากติดเชื้อโควิดจะมีอาการรุนแรงและเป็นอันตรายมาก ทั้งนี้ในปัจจุบันจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมยังไม่มีข้อบ่งชี้ใดๆให้เห็นว่าวิวัฒนาการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกมีการชะลอตัวหรือลดลง ยังคงมีความสุ่มเสี่ยงที่จะกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ร้ายแรงอยู่ตลอดเวลา

วัคซีนโควิด ราย ชื่อ วัคซีน โค วิด วัคซีนเข็มกระตุ้น moderna bivalent คือ

คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีการติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB แบบไม่แสดงอาการ (asymptomatic infection) ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันในอดีตและมีการติดเชื้อตามธรรมชาติ ทำให้คนที่แข็งแร็งสุขภาพดีมักจะไม่ป่วยหนักและเสียชีวิตจากโควิด โดยเฉพาะเมื่อมีการติดเชื้อโควิดตระกูลโอไมครอน

ทำให้หลายคนขณะนี้เลือกไม่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (booster vaccine) เนื่องจากไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องฉีดสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย หรือจากความกังวลใจในเรื่องผลข้างเคียง แต่อาจกลายเป็นแหล่งรังโรคเคลื่อนที่ของโควิด-19 ได้ ฉะนั้นหากผู้ที่แข็งแร็งสุขภาพดี และไม่ได้ฉีดวัคซีนเมื่อพบปะกับ ‘ผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบาง’ จึงควรพิจารณาป้องกันตนเองมิให้แพร่เชื้อด้วยการใส่หน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ

วัคซีนโควิดที่มีใช้ในปัจจุบันมีความชัดเจนว่าด้อยประสิทธิภาพในการป้องกัน ‘การติดเชื้อ’ แต่ก็มีความชัดเจนว่ายังสามารถป้องกัน ‘การเจ็บป่วยรุนแรง’ และป้องกัน ‘การเสียชีวิต’ ได้ดี ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทั้งจีนและสหรัฐยังเร่งผลิตวัคซีนเข็มกระตุ้นออกมาปกป้องพลเมืองของเขาไม่ให้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางให้ทันกับการระบาดระลอกใหม่ของโควิดในปลายปีนี้ต่อต้นปีหน้า ดังนั้นหากพูดถึงการป้องกันการติดเชื้อโควิดที่ได้ผลดีที่สุดขณะนี้คือ การใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ มิใช่การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มกระตุ้นประเภท mRNA ถูกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ พบว่าประสิทธิภาพของเข็มกระตุ้นดั้งเดิมซึ่งเป็นโมโนวาเลนต์ใช้สายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นต้นแบบสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงได้ประมาณ 25% ในขณะที่ประสิทธิผลของเข็มกระตุ้นแบบไบวาเลนต์เพิ่มขึ้นเป็น 62% โดยรวมแล้วการฉีดวัคซีนไบวาเลนต์เข็มกระตุ้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อรุนแรงมากกว่า 37% เมื่อเทียบการฉีดวัคซีนโมโนวาเลต์แบบดั้งเดิมที่มีไวรัสอู่ฮั่นเป็นต้นแบบ (โมโน, ไบ, หรือ ไตร มาจากภาษาละติน monos, bis, and tres แปลว่า 1,2, และ3)

วัคซีนโควิด ราย ชื่อ วัคซีน โค วิด วัคซีนเข็มกระตุ้น moderna bivalent คือ

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ อเมริกา (US FDA) ประสานเสียงเสนอให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 เปลี่ยนมาใช้โอไมครอนสายพันธุ์เดียว XBB เป็นหัวเชื้อหรือต้นแบบในการผลิต ‘วัคซีนโมโนวาเลนต์’ พร้อมแนะนำให้ประเทศต่างๆควรเตรียมตัวเปลี่ยนมาใช้วัคซีน XBB เพื่อให้ทันต่อการป้องกันการติดเชื้อ และทันต่อการป้องกันการเกิดอาการรุนแรงหากติดเชื้อกลายพันธุ์ในปีหน้า (พ.ศ. 2567) แทนการฉีดวัคซีน 2 สายพันธุ์ (ไวรัสอู่ฮั่น+โอไมครอน BA.4/BA.5)

หรือ ‘วัคซีนไบวาเลนต์’ ซึ่งได้มีการนำมาใช้ในช่วงปีนี้ (พ.ศ. 2566) และเพื่อให้การผลิตวัคซีนถึงประชาชนอเมริกันในเดือน กรกฎาคม 2566 สามบริษัทซึ่งผลิตวัคซีน mRNA และ วัคซีนชิ้นส่วนโปรตีนของโควิด-19 (protein subunit) จึงเลือกใช้โอไมครอน XBB.1.5 เป็นต้นแบบในการผลิตวัคซีนสำหรับใช้ในช่วงฤดูกาล พ.ศ. 2566-2567

จากข้อมูลการทดสอบวัคซีนเบื้องต้นยังแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีน XBB.1.5 โมโนวาเลนต์ สามารถสร้างแอนติบอดีที่ขัดขวางโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยอื่นในกลุ่ม XBB เช่น XBB.1.16, XBB.2.3 ไม่ให้จับกับเซลล์ของมนุษย์และแพร่เชื้อได้ ทั้งนี้จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมก่อนหน้านี้พบว่าในกลุ่มโอไมครอน XBB มีการกลายพันธุ์ต่างกันเพียง 2-3 ตำแหน่งบนส่วนของหนาม ต่างกับการกลายพันธุ์ระหว่างโอไมครอน BA.4 และ BA.5 ซึ่งแตกต่างกันถึง 28 ตำแหน่ง

นั่นหมายความว่าการฉีดวัคซีน XBB.1.5 จะกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีที่สามารถเข้าจับและทำลายโอไมครอนในกลุ่ม XBB ได้ทั้งกลุ่ม เนื่องจากมีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนามต่างกันไม่มาก

วัคซีนโควิด ราย ชื่อ วัคซีน โค วิด วัคซีนเข็มกระตุ้น moderna bivalent คือ

องค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาเห็นตรงกันว่าวัคซีนโควิด-19 ในปี 2567 ควรเป็นวัคซีนสายพันธุ์เดียว หรือวัคซีนโมโนวาเลนต์ (covid-19 monovalent vaccine) ที่กำหนดเป้าหมายไปที่โอมิครอน XBB.1.5, XBB.1.16 หรือ XBB.2.3

เนื่องจากปัจจุบันพบสายพันธุ์ย่อย XBB มากกว่า 95% ของสายพันธุ์ไวรัสที่หมุนเวียนระบาดอยู่ในสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2566 สายพันธุ์ XBB หลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้มากกว่าสายพันธุ์ย่อยโอไมครอนก่อนหน้า และปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 95% ของผู้ป่วยโควิดทั่วโลก

ในสหรัฐอเมริกา พบสายพันธุ์ XBB จำนวน 8 สายพันธุ์คิดเป็นกว่า 98% ของผู้ป่วยทั้งหมดในปัจจุบัน โดยมี 3 สายพันธุ์หลักโอไมครอน XBB.1.5 จำนวน 40% และ XBB.1.16 ประมาณ 18% และ XBB.2.3 ประมาณ 6% ตามลำดับ

สำหรับประเทศไทยพบสายพันธุ์โอไมครอนจากฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID) ระหว่าง 1 พฤษภาคม-15มิถุนายน 2566 จำนวน 658 ราย พบเป็นสายพันธุ์

  • โอไมครอน XBB ประมาณ 95.6%
  • XBB.1.5 ประมาณ 17.5%
  • XBB.1.16 ประมาณ 35.6%
  • XBB.1.9 ประมาณ 13.5%
  • XBB.2.3 ประมาณ 4.7%

โอไมครอน XBB.1.16, XBB.1.9 และ XBB.2.3 คาดว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นมาและแทนที่ XBB.1.5 ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2566

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ใช้สายพันธุ์เก่ามาเป็นหัวเชื้อร่วมกับสายพันธุ์ใหม่ (วัคซีนไบวาเลนต์) แม้ผลกระทบทางคลินิกจะยังไม่ชัดเจนแต่มีหลักฐานในหลอดทดลองบ่งชี้ว่าหากใช้สายพันธุ์เดิมฉีดกระตุ้นซ้ำๆจะทำให้การสร้างแอนติบอดีของเม็ดเลือดขาวต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ไปเล็กน้อยลดประสิทธิภาพลง (การประทับตราภูมิคุ้มกัน: immune imprinting*) จึงควรใช้ไวรัสสายพันธุ์ใหม่เท่านั้นในการผลิตวัคซีนในอนาคต

อย่างไรก็ดีนักวิทยาศาสตร์และทางการของจีนเห็นต่างที่จะใช้เพียง ‘โควิด-19 โมโนวาเลนต์วัคซีน’ เพราะเกรงว่าจะมีการติดเชื้อซ้ำในสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้าที่มีความรุนแรงคือสายพันธุ์ เดลตา และโอไมครอน BA.4/BA.5 จึงเลือกที่จะผลิต ‘โควิด-19 ไตรวาเลนต์วัคซีน’ โควิด-19 ไตรวาเลนต์วัคซีนจากจีนอาศัยกระบวนการทางวิศวพันธุกรรมตัดต่อยีนบางส่วนของไวรัสโควิดสามสายพันธุ์ คือ โอไมครอน XBB.1.5 + โอไมครอน BA.5 + เดลตา ไปแสดงออกในเซลล์แมลง(Sf9 Cell) ในรูปของโปรตีนที่นำไปฉีดกระตุ้นภูมิ

วัคซีนโควิด ราย ชื่อ วัคซีน โค วิด วัคซีนเข็มกระตุ้น moderna bivalent คือ

โปรตีนแอนติเจนที่ใช้ในวัคซีนไตรวาเลนต์นี้ได้รับการออกแบบโดยอิงโครงสร้างของโปรตีน S-RBD และ HR ของโควิด-19 เดลตา และโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 และ BA.5 โดยประกอบขึ้นเป็นอนุภาคโปรตีนไตรเมอร์ แขวนลอยในน้ำมัน สามารถกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวประเภททีเซลล์ (T-cell) ในระดับที่สูงขึ้น ทั้งยังพบว่าแอนติบอดีสร้างจากบีเซลล์ถูกกระตุ้นด้วยการฉีดวัคซีนไตรวาเลนต์เข้าไป 14 วัน สามารถจับและทำลาย (neutralization) โอไมครอน XBB.1.5, XBB1.16, XBB1.9.1, XBB.2.3, BA.5, BF.7, BQ 1, BA.2.75. ได้ในหลอดทดลอง และจากการทดสอบยังพบมีประสิทธิภาพในการป้องกัน XBB.1, XBB.1.5, XBB1.9 ถึง 93.28% เป็นวัคซีนที่ป้องกันเชื้อโควิดได้หลายสายพันธุ์ (board spectrum vaccine

ปลายปี 2566 ต่อไปยังปี 2567 คงจะมีข้อมูลทางคลินิกจากผู้ที่ฉีดโควิด-19 XBB โมโนวาเลนต์และกลุ่มที่ฉีดโควิด-19 XBB ไตรวาเลนต์ ทยอยออกมาให้เปรียบเทียบว่าวัคซีนประเภทใดจะป้องกันการติดเชื้อ ป้องการการเกิดอาการรุนแรง และป้องกันการเสียชีวิตได้ดีกว่ากัน ประสิทธิภาพของวัคซีน XBB ทั้งโมโนวาเลนต์และไตรวาเลนต์ในป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและการทดลองทางคลินิก อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นเสนอว่าหากวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ XBB ไม่ได้ หรือได้ไม่ดี ยาต้านไวรัส เช่น เรมเดซิเวียร์ ยังมีประสิทธิภาพในการต่อต้านทั้ง XBB.1.5 และ XBB ทั้งจากการทดสอบในหลอดทดลองและทางคลินิก

วัคซีนโควิด ราย ชื่อ วัคซีน โค วิด วัคซีนเข็มกระตุ้น moderna bivalent คือ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Center for Medical Genomics 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เคาะวันแล้ว กกต. เปิดแผนงานเลือกตั้งนายก-สมาชิกอบจ.
"เคนโด้" นำ "กลุ่มผู้เสียหาย" ค้านประกันตัว "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" หวั่นคุกคามเหยื่อ
วัดพิบูลสัณหธรรม เตรียมจัดงานวันลอยกระทงเพื่อสมทบทุนบูรณะต่อเติมศาลาการเปรียญให้แล้วเสร็จ เพื่อใช้ประโยชน์ ในการประกอบศาสนกิจของวัด ใช้ประกอบพิธีในพระพุทธศาสนา
ชื่นชม หนุ่มใหญ่จิตอาสาชาวชะอำ จ.เพชรบุรี เดินลุยฝนเก็บขยะอุดตันตามท่อ เพื่อช่วยระบายน้ำท่วม
สุดเสียวกลางดึกช้างป่าบุกใจกลางชุมชนบ้านเกาะลอยซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โฉบบ้านนักข่าวก่อนเข้าพังรั้วค่ายทหารพรานที่1306 เสียหาย ทำชาวบ้านผวาหวั่นอันตราย
หมูเด้ง เสี่ยงทายเลือกตั้งสหรัฐฯ ประธานาธิบดีอเมริกาคนต่อไป คือคนนี้ รอลุ้นจะใช่หรือไม่
"ทนายสมชาติ" พา "เจ๊อ้อย" เข้าให้ปากคำ "ตำรวจกองปราบฯ" เพิ่ม ปมเงิน 71 ล้านบาท
“ทนายตั้ม” โผล่พบตํารวจกองปราบฯ ชี้แจงปมเงิน 71 ล้านบาท
"ภูมิธรรม" มอง MOU44 กลไกที่ดีที่สุด ก่อนย้อน พปชร.ไปถาม "บิ๊กป้อม" เคยนำเจรจากัมพูชา ก่อนมาคัดค้าน
"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น