“อดีตบิ๊กข่าวกรอง” ย้ำผลดี หลังไทยเชิญอาเซียนถกเมียนมา ชื่นชมรัฐบาลห่วงประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ

"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ย้ำผลดี หลังไทยเชิญอาเซียนถกเมียนมา ชื่นชมรัฐบาลห่วงประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ

23 มิ.ย.2566 นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า อย่าผลักเพื่อนเป็นศัตรู ไทยกับเมียนมามีพรมแดนติดต่อกันและไม่สามารถยกประเทศหนีกันไปไหนได้ ต้องอยู่กันไปแบบนี้

 

ต้องถามตัวเองว่า อยากมีเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน พูดจากันได้ หรือจะอยู่กันแบบไม่เป็นมิตร ไม่พูดไม่จากัน ต้องคอยหวาดระแวงกันตลอดเวลา ชอบแบบนั้นหรือในอดีตไทยกับพม่าเคยรบรากันมาตลอดในประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาติ น่าจะพอแล้วมั้ง

นายอาลี อาลาตัช อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้อาวุโสในเกมการเมืองระหว่างประเทศ ได้เคยกล่าวไว้ว่า ภายใต้คำประกาศกรุงเทพ 1967 Bangkok Declaration อาเซียนจะรับผิดชอบร่วมกันเพื่อความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคนี้ อาเซียนมีกำเนิดจากความขัดแย้งของมหาอำนาจและสงครามเย็น ดังนั้นอาเซียนต้องสนับสนุนสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่งคั่ง คำประกาศของอาเซียน Asean Declaration คือ ภูมิภาคแห่งสันติภาพ เสรีภาพและเป็นกลาง รวมทั้งการก่อตั้ง ARF Asian Regional Forum เพื่อให้เป็นเวทีของการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก

ข่าวที่น่าสนใจ

คำกล่าวของนายอาลี อาลาตัชนี้ น่าจะช่วยเตือนสติและสะท้อนแนวความคิดของผู้นำในอดีตที่ผ่านความขัดแย้งในภูมิภาคระหว่างสมาชิกและความขัดแย้งภายในของประเทศสมาชิก ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการเจรจาปฏิเสธการพูดคุย

วันนี้สมาชิกอาเซียนอาจจะมีแนวความคิดในการผูกสัมผัสกับเมียนมาที่ไม่สอดคล้องต้องกันมากนัก บางประเทศอาจต้องการใช้ไม้แข็งกับรัฐบาลทหารเมียนมา ด้วยการกีดกันรัฐบาลทหารเมียนมาออกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียน ไม่สนใจที่จะรับฟังข้อมูลใหม่ ๆ ของเมียนมา แต่กลับสนใจทึ่จะผูกสัมพันธ์กับกลุ่ม NUG และสนับสนุนกองกำลัง PDF ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภูมิภาคนี้ตกอยู่ภายใต้การแข่งขัน และเป็นพื้นที่ช่วงชิงของมหาอำนาจ แนวทางเก่า ๆ ที่เคยทำกันมาในอดีตกำลังย้อนกลับมาใช้อีก

ประเทศไทยเลิกนโยบายสร้างพื้นที่กันชน Buffer Zone ในประเทศเพื่อนบ้านมา 40 ปีมาแล้ว และไม่เคยประสบความสำเร็จ หวังว่าจะไม่มีการเดินย่ำรอยความล้มเหลวเดิม ๆ

การสู้รบในเมียนมาส่งผลกระทบโดยตรงต่อไทย ผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ คนไทยตามแนวชายแดนเดือดร้อน เมื่อมีการสู้รบ กลุ่มต่าง ๆ ต้องหาเงินเพื่อซื้ออาวุธ ปัญหาที่ติดตามมาคือ การลักลอบส่งอาวุธเข้าไปให้กลุ่มตรงข้ามกับรัฐบาล เกิดการค้าอาวุธสงคราม ค้ายาเสพติดเพื่อหารายได้ อาชญากรรมใหม่ call center ที่อยู่ในพื้นที่ของกลุ่มตรงข้ามรัฐบาลเมียนมา ที่สร้างความเดือดร้อนทั้งในไทยและภูมิภาค

การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ อยากจะเล่าว่า ดำเนินไปภายใต้บรรยากาศที่ดีมาก ต่างฝ่ายต่างรับฟังซึ่งกันและกัน เพียงแต่เอามาเล่าไม่ได้ว่าใครพูดว่าอะไรบ้าง ด้วยหลักการ Chatham House Rule ที่จะไม่เปิดเผยผลการหารือให้คนนอกทราบ แต่พูดได้ว่า ผลการพูดคุยดีมากรอดูความคืบหน้า รัฐบาลต้องห่วงผลประโยชน์และความมั่นคงของไทยเหนือสื่งอื่นใด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น