รู้หรือไม่ สัตว์ที่เร็วที่สุดในโลกไม่ใช่เสือชีตาห์ แต่เป็น "เหยี่ยวเพเรกริน" ด้วยความเร็วถึง 386 กม./ชม. เร็วกว่า super car และเสือชีตาห์เกือบ 3 เท่า
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ เจ้าของตำแหน่งสัตว์ที่เร็วที่สุดในโลก ไม่ใช่เสือชีตาห์อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็น “เหยี่ยวเพเรกริน” นกล่าเหยื่อทั่วไปกลุ่มเดียวกับเหยี่ยวอื่น ๆ และนกอินทรี จากการบันทึกสถิติใน Guinness World Records ด้วยความเร็วกว่า 386 กม./ชั่วโมง เร็วกว่าเสือชีตาห์เกือบ 3 เท่า
รู้จัก เหยี่ยว เพเรกริน เจ้าของตำแหน่งสัตว์ที่เร็วที่สุดในโลก
- เพเรกริน อาศัยอยู่ตั้งแต่ทุ่งทุนดราที่หนาวเย็นไปจนถึงทะเลทรายที่ร้อนระอุ ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงภูเขาสูง
- เป็นนกที่มีความสามารถในการปรับตัวสูงมาก สามารถอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลายกว่านกล่าเหยื่อทุกชนิด
- บางตัวอพยพในฤดูหนาวจากอาร์กติกไปจนถึงอเมริกาใต้ ด้วยระยะทางไปกลับสูงถึง 15,500 ไมล์ (24,945 กิโลเมตร)
ลักษณะพฤติกรรม
- เพเรกริน มักล่านกขนาดกลางในอากาศด้วยการดำดิ่งอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะนกพิราบ นกชายฝั่งและเป็ด
ความเร็ว
- ความสามารถพิเศษอยู่ที่ความเร็ว สมมงเจ้าของตำแหน่งสัตว์ที่เร็วที่สุดในโลก
- เวลาบินปกติ เพเรกรินจะบินด้วยความเร็วเฉลี่ยที่ 40-55 กม./ชม. และเร่งความเร็วพุ่งไปที่ 112 กม./ชม. (ความเร็วพอ ๆ กับเสือชีตาห์)
- แต่จุดเด่นอยู่มี่เวลาล่าเหยื่อ โดยนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ดำดิ่ง เมื่อเพเรกรินเจอเหยื่อ มันจะพาตัวเองให้อยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า จากนั้นมันจะดำดิ่งลงมาด้วยความเร็วสูงสุดที่มากได้ถึง 386 กม./ชม. ซึ่งเร็วกว่าซุปเปอร์คาร์ และเร็วกว่าทุกชนิด
และด้วยความเร็วระดับนี้ ยิ่งทำให้กรงเล็บแหลมคมของมันอันตรายยิ่งกว่าเดิม เทียบกับการขับรถความเร็วสูงสุดชนสิ่งของ ซึ่งลักษณะการล่าของเพเรกรินมีลักษณะจู่โจมคล้าย ๆ กัน เพียงโจมตีครั้งเดียวก็ทำให้เหยื่อตายได้ในทันที
การวางไข่
- เพเรกรินเป็นนกที่ไม่สร้างรัง มักจะขูดร่องลึกในดินบนขอบหน้าผา หรือขอบของอาคาร
- เพเรกรินตัวเมียวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 1 เดือนจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว
- ลูกนกเพเรกรินอยู่ในรังนานถึง 6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเวลาที่พวกมันเรียนรู้ที่จะบิน
สถานะปัจจุบัน
- “เหยี่ยวเพเรกริน” ในสหรัฐอเมริกาเคยกลายเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ หลังจำนวนลดต่ำจนเป็นอันตราย ในช่วงระหว่างปี 1950-1970 จากยาฆ่าแมลงบางชนิดที่เกษตรกรใช้ รวมถึง DTT
- ทำร้ายเพเรกรินด้วยการทำให้เปลือกไข่บางเปราะบางจนแตก เมื่อพยายามฟักไข่
- ต่อมามีการออกกฎหมายใช้ยาฆ่าแมลง ประกอบกับความพยายามในการอนุรักษ์นำไปสู่การฟื้นตัวของสายพันธุ์
ข้อมูล : nationalgeographic
ขอบคุณรูปภาพ : Prairie Wildlife Rehabilitation Centre
ข่าวที่เกี่ยวข้อง