แบงก์ชาติแนะสังเกต "แบงก์ปลอม" 7 จุดลักษณะพิเศษธนบัตรจริง ตรวจสอบง่าย ๆ ด้วยวิธีการ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง ย้ำ ควรเช็คอย่างน้อย 3 จุดขึ้นไป
ข่าวที่น่าสนใจ
ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะ 7 จุดสังเกตธนบัตรของจริงที่มีลักษณะพิเศษ ยากต่อการปลอมแปลง แต่ง่ายต่อการสังเกตและตรวจสอบ ด้วยวิธีการ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง เพื่อความมั่นใจว่าไม่ใช่ “แบงก์ปลอม” ควรตรวจสอบอย่างน้อย 3 จุดขึ้นไป
7 วิธีสังเกตธนบัตร แบบ 17
สัมผัส
- เนื้อกระดาษ : ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้าย มีความทนทาน ไม่ยุ่ยง่าย เหนียวแกร่ง สัมผัสแล้วจะรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป
- ลวดลายเส้นนูน : ตัวเลข ตัวอักษรแจ้งชนิดราคาและลวดลายดอกไม้แทนอังษรเบรลล์ สัมผัสความนูนได้ด้วยปลายนิ้ว
ยกส่อง
- ลายน้ำ : เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาบางไม่เท่ากันจนเกิดเป็นภาพตามต้องการ ลายน้ำในธนบัตรไทยเป็น พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร นอกจากนี้ ลายน้ำยังมีตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ
ยกส่อง พลิกเอียง
- แถบสี : จะฝังในเนื้อกระดาษ เมื่อยกส่องจะเห็นเป็นเส้นตรง เมื่อพลิกเอียงจะเปลี่ยนสลับสีไปมาได้
- พลิกเอียง
- หมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติ : ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ลายดอกพิกุลสีทองจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว และรูปวงกลมเคลื่อนไหวไปมา ธนบัตรชนิดราคา 500 บาท ลายดอกจอกสีทอง จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว และรูปสี่เหลี่ยมเคลื่อนไหวไปมา
- หมึกพิมพ์พิเศษ : ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ลายดอกห้ากลีบสีทอง เป็นประกายระยิบระยับ
- ตัวเลขแฝง : ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง
- ลักษณะพิเศษ : เมื่อส่องภายใต้รังสีเหนือม่วง จะมีลักษณะพิเศษปรากฏให้เห็น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง