“สารสเตียรอยด์” 7 ภัยอันตรายที่ค่อนข้างสำคัญ ควรรู้อย่างยิ่ง

สารสเตียรอยด์

ตายไว ร่างกายพัง "สารสเตียรอยด์" อันตราย ยก 7 ข้อที่ค่อนข้างสำคัญและควรรู้อย่างยิ่ง เช็คด่วน เพราะอาจช็อกหมดสติ เสียชีวิต

TOP News ย้ำเตือนภัย “สารสเตียรอยด์” อันตราย แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยก 7 ข้อที่ค่อนข้างสำคัญและควรรู้อย่างยิ่ง เช็คด่วน ๆ

ข่าวที่น่าสนใจ

สารสเตียรอยด์

7 ข้อภัยอันตรายจากสเตียรอยด์

ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

  • กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นแผลที่ผิวหนังตามร่างกาย แขน ขา นิ้วมือ ทำให้แผลหายช้า บางรายแผลลุกลามทั่วร่างกายจนเกิดการติดเชื้อเข้าในกระแสเลือด และบางทีสเตียรอยด์อาจปิดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ กว่าจะตรวจพบเชื้อโรคก็ลุกลามรุนแรงมากจนทำให้เสียชีวิต

กระดูกพรุน

  • ทำให้กระดูกพรุน แตกหักง่าย ดังนั้น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไขกระดูก ผู้อยู่ในวัยทอง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรตรวจภาวะกระดูกพรุนหรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

  • ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติได้ จะมีระดับน้ำตาลสูง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ทำให้อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อบริเวณแขนและขาไม่มีแรง จึงปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรืออาจหยุดเต้นได้

สารสเตียรอยด์

อารมณ์แปรปรวน

  • ทำให้อารมณ์แปรปรวนง่าย การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูง จะทำให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จึงทำให้ผู้ใช้ชอบใช้จนติดยา แต่ใช้ไปนาน ๆ อาจพบอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากยาตามมาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ หงุดหงิด เป็นต้น

เลือดออกทางเดินอาหาร

  • ทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลงและยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารใหม่ อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารโดยไม่มีอาการปวดท้องมาก่อน

อาจช็อกหมดสติ เสียชีวิต

  • เมื่อร่างกายได้รับ “สารสเตียรอยด์” เป็นเวลานานร่างกายจะหยุดสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติที่เคยสร้างเอง ดังนั้น เมื่อผู้ใช้หยุดใช้ยานี้อย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์อย่างฉับพลัน อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ หากนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน ดังนั้น หากสงสัยว่ากินสเตียรอยด์จากการซื้อมาเอง ไม่ใช่การรักษาโดยแพทย์ อย่าหยุดยาเอง ขอให้รีบไปปรึกษาแพทย์ให้เร็วเพื่อหาทางลดยา

ที่มา : แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

สารสเตียรอยด์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น