วันนี้ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง วิเคราะห์การเมือง พรรคการเมืองใดจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ และบุคคลใดจะก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศว่า สูตรที่หนึ่ง จัดตั้งรัฐบาลผสม “รัฐบาลพิธา” โดยพรรคก้าวไกลที่ชนะการเลือกตั้งลำดับหนึ่ง มีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล รวบรวมเสียง ส.ส.จาก 8 พรรคการเมือง จำนวน 312 เสียง แต่การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี มาตรา 272 จะต้องใช้เสียงทั้งสองสภาถึง 376 เสียง จึงขาดอีก 64 เสียง โดยจะต้องไปรวบรวมเพิ่มเติมจาก ส.ส.หรือ ส.ว. แต่ช่องทางรวบรวมเสียงของก้าวไกล เกิดตัวแปรสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1)ดึงพรรคภูมิใจไทย จำนวน 71 ที่นั่งให้เข้าร่วมรัฐบาล แต่ทั้งสองพรรคคนละขั้ว คนละอุดมการณ์ อำนาจเด็ดขาดโดยพฤตินัยอยู่ที่หมอผีเขมร “ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร” อำนาจอยู่ที่คนนี้คนเดียว และมีตัวแปรหลักกระทรวงเกรด A+ อาทิ คมนาคม สาธารณสุข ที่สำคัญ คือ นโยบายกัญชาเสรี 2)เสียงจาก ส.ว.64 เสียง แต่ปัญหาเกิดจาก การเสนอแก้ไข มาตรา 112 ทันทีเมื่อได้เปิดสภา จะเป็นตัวเร่งบดขยี้ให้ ส.ว.นำเป็นเงื่อนไข ไม่โหวตเสียงให้ ประกอบกับ กกต.ตั้งคณะกรรมการไต่สวน มาตรา 151 กฎหมายเลือกตั้ง จะเป็นตัวแปรจากจะโหวตให้ เป็นปฎิเสธการโหวตหรืองดออกเสียง 3)กรณีประชาชนผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลชุมนุมกันนอกสภา เพื่อกดดัน ส.ว.ในวันเลือกนายกรัฐมนตรี ประเด็นนี้ สว.จะอ้างเหตุไม่โหวตให้ โดยอ้างเอกสิทธิ์ดุลพินิจในการโหวตในสภา
“ดร.ณัฎฐ์” ชำแหละ 3 สูตรจัดตั้งรัฐบาล ก้าวไกลต้องเผชิญแปรสำคัญ รัฐบาลพิธาเสี่ยงไปไม่ถึงฝัน
ข่าวที่น่าสนใจ
สูตรที่สอง อีกขั้วหนึ่งตรงกันข้ามจากสูตรที่หนึ่ง โดย 10 พรรคการเมือง 188 เสียง ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคใหม่ พรรคท้องที่ไทย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน โดยเสนอให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งในพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ใน 10 พรรคการเมืองนี้เป็นนายกรัฐมนตรี ปัญหาตัวแปรการจัดตั้งรัฐบาลสูตรนี้ จะพบว่ารวบรวมเสียงได้เพียง 188 เสียง เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย อาจเกิดขึ้นได้โดยใช้โมเดล มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม หากนำเสียงไปรวมกับ ส.ว.อีก 188 เสียงเช่นกัน จะได้เสียงครบ 376 เสียง สามารถจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ แต่จะเกิดปัญหาองค์ประชุมในการประชุมสภาฯขาดเสียงถึง 63 เสียง ถึงจะเกินกึ่งหนึ่ง 251 เสียง ดังนั้นจะเกิดปรากฎการณ์งูเห่าทางการเมืองขึ้น องค์ประชุมจะล่มบ่อย การเมืองจะขาดเสถียรภาพ อยู่ได้ไม่นาน เพราะจะต้องผ่านกฎหมายการเงิน
สูตรที่สาม การถอนตัวของพรรคเพื่อไทย 141 ที่นั่ง ไปจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว โดยเสนอบุคคลที่มีรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง อาทิ นายเศรษฐา ทวีสิน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจเกิดขึ้นได้ในทางการเมือง เพราะการเมืองไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร หากผลประโยชน์ทางการเมืองลงตัว ประกอบกับเมื่อไปรวมกับ 188 เสียง เท่ากับสูตรที่สามนี้ รวบรวมเสียงได้ 329 ที่นั่ง เกินหนึ่งหนึ่งในสภา มากกว่าสูตรที่หนึ่ง และบวกเสียงของ ส.ว.อีก 47 เสียง จะครบ 376 เสียง ส่งผลให้สูตรที่หนึ่งไปเป็นฝ่ายค้านโดยปริยาย ทั้งนี้การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ของ ส.ว. ในดุลยภาพทางการเมือง อยู่ที่เงื่อนไขอำนาจ ว่า 2 ป. ว่าบุคคลใดคุมเสียง สว.มากที่สุด จะเป็นตัวแปรสำคัญได้นั่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง