“อัษฏางค์” ย้อนประวัติศาสตร์ 2475 ไล่เลียงชัดๆ ถามกลับ “ก๊วนธนาธร” อ้างสานภารกิจคณะราษฎร์ เบื้องหลังแผนใครแน่

"อัษฏางค์" ย้อนประวัติศาสตร์ 2475 ไล่เลียงชัดๆ ถามกลับ "ก๊วนธนาธร" อ้างสานภารกิจคณะราษฎร์ เบื้องหลังแผนใครแน่

ปรีดี พนมยงค์ ได้เขียนบันทึกจุดกำเนิดและภาระกิจของคณะราษฏร์เอาไว้ว่า… เมื่อปี ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468) ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี มาถึงปารีสและได้พบข้าพเจ้า และข้าพเจ้าได้สนทนากับ ร.ท. ประยูรฯ หลายครั้ง

ต่อมาจึงชวน ร.ท. แปลก, ร.ต. ทัศนัย ซึ่งย้ายจากบ้านพักเดิมไปอยู่ถิ่นเดียวกับข้าพเจ้าที่ Quartier-Latin จึงได้สนทนากันแทบทุกวันแล้วก็ได้ชวนเพื่อนอื่นๆ ให้ร่วมด้วย

การประชุมเป็นทางการครั้งแรกของคณะราษฎรเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927 ที่หอพักแห่งหนึ่ง ณ ‘Rue Du Sommerard’ ซึ่งเราเช่าห้องใหญ่ไว้เฉพาะการประชุมนั้น

ผู้ร่วมประชุมก่อตั้ง “คณะราษฎร” มี 7 คน คือ 1. ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี, 2. ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ, 3. ร.ต. ทัศนัย มิตรภักดี, 4. นายตั้ว ลพานุกรม, 5. หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี), 6. นายแนบ พหลโยธิน, และ 7. นายปรีดี พนมยงค์

ปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า “วัตถุประสงค์ของคณะราษฎร คือ… เปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ… เปลี่ยนการปกครองของพระมหากษัตริย์ที่อยู่เหนือกฎหมายมาเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย และดำเนินการเพื่อให้สยามบรรลุหลัก 6 ประการ คือ

•1 รักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

•2 รักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดลงให้มาก

•3 บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

•4 ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

•5 ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวแล้ว

•6 ให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

พลโทประยูร ภมรมนตรี 1 ใน 7 ของผู้ร่วมก่อตั้ง “คณะราษฎร” ที่กรุงปารีส, ได้บันทึกความทรงจำในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เอาไว้ว่า….

“การที่คิดเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ไม่ได้เป็นการกบฏ หรือล้มราชบัลลังก์ เพราะการมีรัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมืองนั้นนับเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพระเจ้าอยู่หัว ความดีทั้งหลายก็เทิดทูนถวายส่งเสริมพระบารมี ฉะนั้นพระมหากษัตริย์ย่อมรุ่งโรจน์ตลอดไป…”

หลังจากปฏิวัติเปลี่ยนแปลงกรรปกครองสำเร็จ
ปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวในที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2489 ความตอนหนึ่งว่า…

“คณะราษฎรเพิ่งทราบเมื่อ 6 วันภายหลังที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว คือเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน…มีพระราชกระแสรับสั่งว่า จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อได้ทรงปรึกษาข้าราชการมีตำแหน่งสูงในขณะนั้น ก็ไม่เห็นพ้องกับพระองค์…

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

คณะราษฎรมิได้รู้พระราชประสงค์มาก่อน การเปลี่ยนแปลงได้กระทำโดยบริสุทธิ์ ไม่ได้ช่วงชิงดั่งที่มีผู้ปลุกเสกข้อเท็จจริงให้เป็นอย่างอื่น และโดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระราชประสงค์มาก่อนแล้ว หากมีผู้ทัดทานไว้ ฉะนั้นเมื่อคณะราษฎรได้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ พระองค์จึงพระราชทานด้วยดี

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวไทย ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่นี้ และบรรดาชาวไทยทั้งหลาย จงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเทอดพระเกียรติของพระองค์ไว้ชั่วกัลปาวสาน”

จะเห็นได้ว่า… ภาระกิจ 2475 ของคณะราษฎร์ ไม่มีข้อใดเป็นไปตามที่ธนาธร คณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกลอ้างถึงเลย

•ไม่มีภาระกิจปฏิรูปรัฐราชการรวมศูนย์

•ไม่มีภาระกิจปฏิรูประบบยุติธรรม

•ไม่มีภาระกิจในการปฏิรูปกองทัพ….เลย

•ภาระกิจปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ มีเพียงเรื่องเดียวคือ…

ภาระกิจในการ”เปลี่ยนการปกครองของพระมหากษัตริย์ที่อยู่เหนือกฎหมายมาเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย”

ซึ่งกระทำการสำเร็จ สมบูรณ์เรียบร้อยไปแล้ว เมื่อ 80 กว่าปีก่อน

ภาระกิจ 4 ข้อของคณะราษฎร์ ที่ธนาธรอ้างนั้น ไม่ใช่ภาระกิจ 4 ข้อของคณะราษฎร์แต่อย่างใด แต่เป็นภาระกิจของคณะก้าวหน้า-ก้าวไกล ที่ธนาธรตั้งขึ้นมาเองมากว่า ภาษาชาวบ้านคงพูดว่า ธนาธร…อย่ามั่วนิ่ม กล้าทำ ต้องกล้าคิด กล้ารับผิดชอบ อย่าทำตัวเป็นคนคิดเอง พูดเอง เออเอง แล้วอ้างคนอื่นขึ้นลอยๆ ประกาศไปเลยว่า สานต่อภาระกิจ 4 ข้อของคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล

นอกจากนี้ ภาระกิจของคณะราษฏร์ ที่ธนาธรประกาศจะสานต่อ ควรเป็นไปตามปณิธานที่พลโทประยูร ภมรมนตรี ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลแรกที่จุดประกายการก่อตั้งคณะราษฎร์และการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองให้กับปรีดี พนมยงค์ ที่ประกาศไว้ว่า… “ไม่ได้เป็นการกบฏ หรือล้มราชบัลลังก์ เพราะการมีรัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมืองนั้นนับเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพระเจ้าอยู่หัว ความดีทั้งหลายก็เทิดทูนถวายส่งเสริมพระบารมี”

***ดังนั้นภาระกิจที่คณะก้าวหน้าก้าวหน้า-พรรคก้าวไกลประกาศจะสานต่อคณะราษฎร์ ต้องเป็น”การทำงานแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพระเจ้าอยู่หัว และความดีทั้งหลายก็เทิดทูนถวายส่งเสริมพระบารมี”

รวมทั้งสิ่งที่ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าและผู้ก่อตั้งคณะราษฏร์ ได้ประกาศไว้ในที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2489 ว่า….

“พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวไทย ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่นี้ และบรรดาชาวไทยทั้งหลาย จงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเทอดพระเกียรติของพระองค์ไว้ชั่วกัลปาวสาน”

***ดังนั้นภาระกิจที่คณะก้าวหน้าของธนาธรประกาศจะสานต่อคณะราษฎร์ ต้องเป็น”ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและเทอดพระเกียรติของพระองค์ไว้ชั่วกัลปาวสาน”

ซึ่งถ้าธนาธรคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล มีความจริงใจที่สารต่อภารกิจคณะราษฎร์จริงดังปากพูดแล้วนั้น

สองเรื่องดังกล่าวนี้ คือสิ่งที่ธนาธรคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกลควรรณรงค์ให้สมาชิกขบวนการสามนิ้ว ซึ่งเป็นสาวกคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล ได้สานต่อ

มิใช่เอาภาระกิจของคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกลของตนเอง มาประกาศว่าเป็นภาระกิจของคณะราษฏร์

สรุป

ภาระกิจ 4 ข้อดังกล่าวข้างต้นเป็นของคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล

ส่วนภารกิจของคณะราษฎร์ที่แท้จริงคือ…

  • 1.เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
  • 2.เปลี่ยนการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย
  • 3.การทำงานแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพระเจ้าอยู่หัว
  • ความดีทั้งหลายก็เทิดทูนถวายส่งเสริมพระบารมี
  • 4.ให้ราษฎรมีสิทธิเสรีภาพเสมอภาคกัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น