อาลัย "John Goodenough" ผู้บุกเบิกแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่อยู่ในอุปกรณ์เทคโนโลยีชาร์จไฟซ้ำได้ทุกวันนี้ เสียชีวิตแล้วด้วยอายุ 100 ปี
ข่าวที่น่าสนใจ
อาลัย “John Goodenough” หรือ John Bannister Goodenough เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2019 ผู้บุกเบิกแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่เปลี่ยนโลกเทคโนโลยีไปตลอดกาล ทำให้แบตเตอรี่อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถชาร์จซ้ำได้ และอยู่ในอุปกรณ์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงเครื่องกระตุ้นหัวใจ เสียชีวิตแล้วด้วยอายุ 100 ปี
John Goodenough เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านใน ในสถานสงเคราะห์ที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส โดย Jay Hartzell อธิการบดีมหาวิทยาลัย Texas at Austin กล่าวว่า เขาเป็นผู้นำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำสมัยตลอดหลายทศวรรษในอาชีพของเขา จนสามารถเปลี่ยนโลกเทคโนโลยีไปตลอดกาล ซึ่ง Goodenough เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยนานถึง 37 ปี
Royal Swedish Academy of Sciences กล่าวในการมอบรางวัลโนเบลว่า แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้นี้เป็นรากฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือและแล็ปท็อป และยังเป็นความหวังที่จะทำให้โลกไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอีกต่อไป เพราะ แบตเตอรี่นี้สามารถใช้ได้กับทุกอย่าง ตั้งแต่การรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการจัดเก็บพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน”
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Goodenough และทีมมหาวิทยาลัยของเขายังได้สำรวจทิศทางใหม่ในการจัดเก็บพลังงาน ซึ่งรวมถึง glass battery ด้วย โดย Goodenough เคยกล่าวเมื่อตอนปี 2019 ว่า เมื่ออายุยืนถึง 97 แล้วคุณจะทำอะไรก็ได้ พร้อมเผยว่าเขารู้สึกขอบคุณที่ไม่โดนบังคับให้เกษียณเมื่ออายุ 65 ปี ทำให้เขาทำงานที่รักต่อไปได้เรื่อย ๆ ด้วยการเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการณ์เคมีอนินทรีย์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ
ถึงแม้ “John Goodenough” จะไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเหมือนคนอื่น แต่งานวิจัยของเขาช่วยปฏิวัติวางการเทคโนโลยีให้กับมนุษย์โลก ซึ่งตัวเขาเองคิดว่าสิ่งประดิษฐ์น่าจะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีได้ แต่ไม่คาดคิดว่าจะยิ่งใหญ่จนสามารถปฏิวัติวงการอิเล็กทรอนิกส์ได้
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่แบบพกพาและชาร์จใหม่ได้จริง ๆ ชนิดแรก และใช้เวลากว่าทศวรรษในการพัฒนา ซึ่ง Michael Stanley Whittingham หนึ่งในผู้ร่วมการบุกเบิกกล่าวในปี 2562 ว่า เขาไม่รู้ว่างานของเขาเมื่อหลายสิบปีก่อนช่วยเปลี่ยนโลกได้ขนาดนี้
โดยงานของ Whittingham ใช้ประโยชน์จากลิเธียม ซึ่งเป็นโลหะที่เบาที่สุด ในการสร้างแบตเตอรี่ที่สามารถสร้างโวลต์ได้มากกว่า 2 โวลต์ เมื่อปี 1970 และในปี 1980 Goodenough ได้สร้างผลงานจาก Whittingham และเพิ่มความจุของแบตเตอรี่เป็น 4 โวลต์โดยใช้โคบอลต์ออกไซด์ในแคโทด ซึ่งเป็นหนึ่งในสองอิเล็กโทรดที่ประกอบเป็นแบตเตอรี่
ต่อมา Akira Yoshino กำจัดลิเธียมบริสุทธิ์ที่ระเหยง่ายออกจากแบตเตอรี่และเลือกใช้ลิเธียมไอออนแทน ซึ่งปลอดภัยกว่า ทำให้แบตเตอรี่เชิงพาณิชย์ที่มีน้ำหนักเบา ปลอดภัย ทนทาน และเป็นแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จไฟได้ก้อนแรกเข้าสู่ตลาดในปี 1991
ประวัติ John Good enough
- เกิดที่เมืองเยนา ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ. 2465 เติบโตในสหรัฐอเมริกา
- ได้รับปริญญาเอกสาขาเคมีจากมหาวิทยาลัยชิคาโก
- เริ่มต้นอาชีพสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ซึ่งงานวิจัยของเขาได้วางรากฐานสำหรับการพัฒนา random-access memory สำหรับคอมพิวเตอร์ดิจิทัล
- เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีอนินทรีย์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ
- เมื่อเขาค้นพบลิเธียมไอออน ได้เข้าร่วมคณะที่มหาวิทยาลัยเทกซัสในปี 1986 และยังคงสอนและวิจัยวัสดุแบตเตอรี่ โซลิดสเตต (Solid State) เกี่ยวกับปัญหาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมถึง 37 ปีที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส
- Goodenough และ Irene ภรรยาของเขาแต่งงานกันเป็นเวลา 70 ปี จนกระทั่งเธอเสียชีวิตในปี 2559
ข้อมูล : theguardian
ข่าวที่เกี่ยวข้อง