กกต.ตีกรอบลุยสอบ “พิธา” ถือหุ้นไอทีวีรอสรุปผลนำร้องศาลรธน.

กกต.ตีกรอบลุยสอบ "พิธา" ถือหุ้นไอทีวีรอสรุปผลนำร้องศาลรธน.

วันที่ 29 มิ.ย.66 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นายแสวง บุญมี เลขาฯคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการตรวจสอบคดีหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิตเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกลว่า เรื่องนี้มีความซับซ้อนโดยเฉพาะตัวกฎหมาย โดยเงื่อนไขแรกห้วงเวลาก่อนการเลือกตั้ง คือการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ตามกระบวนการจะต้องส่งให้ศาลฎีกาพิจารณา โดยจะเชิญผู้สมัครมาชี้แจงหรือไม่มาชี้แจงก็ได้ เงื่อนไขที่ 2 หลังการเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามจะดำเนินการตามมาตรา 151 ตามพ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งเป็นการดำเนินคดีอาญา จะต้องแจ้งให้กับผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจง โดยจะต้องดูเอกสารหลักฐานอย่างครบถ้วนปราศจากข้อสงสัย แล้วดูเจตนาประกอบด้วย ส่วนเงื่อนไขหลังประกาศรับรองผลการเลือกตั้งวิธีการ คือตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งกรณีนี้จะเชิญผู้ที่มีลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ส.มาชี้แจงหรือไม่ก็ได้ อยู่ที่ว่ากกต.มีหลักฐานหรือเห็นเป็นความปรากฏ ซึ่งในชั้นนี้ผู้ที่สามารถวินิจฉัยได้คือศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ กกต.

 

ส่วนที่มีกระแสข่าว กกต.จะเชิญนายพิธามาชี้แจงนั้น เลขาฯกกต. ระบุว่า เป็นอำนาจของคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนที่กกต.ตั้งขึ้น ถ้ามีมูลก็เชิญ แต่ถ้าดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะเชิญหรือไม่เชิญมาก็ได้ หากมีหลักฐานเพียงพอที่จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นคณะกรรมการสืบสวนยังไม่รายงานการดำเนินการตรวจสอบให้ กกต.พิจารณาจนกว่าจะสืบสวนเสร็จ เนื่องจาก กกต.และสำนักงานไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการสืบสวนได้ โดยกรอบการพิจารณา 20 วันแรกจะครบกำหนดกรอบแรกในวันที่ 3 กรกฏาคม แต่หากไม่เสร็จสามารถยื่นขอขยายเวลาดำเนินการอีก 15 วัน เบื้องต้นยังไม่เห็นว่ามีการยื่นหนังสือขอขยายเวลาตรวจสอบ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนจะต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในกรณีดังกล่าว ก่อนการโหวตเลือกนายกฯหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า กกต.จะต้องมีการประชุม แต่ท่านจะดูว่ามีข้อมูลพยานหลักฐานแค่ไหน เพียงพอที่จะส่งให้ศาลวินิจฉัยได้หรือไม่ ส่วนจำเป็นหรือไม่ที่กกต.จะต้องส่งศาลให้วินิจฉัยก่อนโหวตนายกฯ ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ กกต.ที่จะต้องมาพิจารณา กกต.ทำงานตามเวลาที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นกรณีการตรวจสอบตามมาตรา 151 ซึ่งต้องหาพยานหลักฐานให้แน่นหนา เพราะเป็นคดีอาญา รวมทั้งดูเจตนาด้วย ส่วนการดำเนินการรัฐธรรมนูญมาตรา 82 กรณีสงสัยคุณสมบัติของ ส.ส. ตอนนี้กกต.ประกาศรับรองผลได้เพียง 1 สัปดาห์ และเมื่อมีผู้มายื่นร้องด้วย กกต.ก็คงจะพิจารณา

 

นายแสวง ยังกล่าวถึงกรณี นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เข้าหารือเข้ามอบหลักฐานกับ กกต.กรณีนายพิธาเมื่อ 28 มิถุนายนว่า ท่านไม่ได้มาตามเรื่องพิธา แต่ท่านได้มาพูดเรื่องการเมือง การเลือกตั้งเกิดปัญหาต้องการการสนับสนุนอย่างไรบ้าง และได้นำหลักฐานประกอบคดีหุ้นนายพิธามามอบให้ ซึ่งจากนี้ สำนักงาน กกต.ก็จะนำหลักฐานไปประกอบการพิจารณาคดี ทั้งกรณีรู้อยู่แล้วว่าไม่มีคุณสมบัติแต่ยังลงสมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา 151 พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. 2561 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 กรณีสงสัยคุณสมบัติของ ส.ส.จะต้องมีการเข้าชื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรณีมาตรา 82 นั้นมีคนร้องเข้ามาแล้ว แต่ขณะนี้ทางสำนักงานยังไม่ได้สรุปเรื่องส่งคณะกรรมการ ทั้งนี้เมื่อถามเหตุใดกรณีนี้ถึงใช้เวลานาน นายแสวงได้เลี่ยงการตอบคำถาม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ภูมิธรรม" สวน "จุรินทร์" แถลงนโยบายผ่านรัฐสภาแล้ว ชี้ "เอ็นเตอร์เทนเมนท์ฯ" ไม่จำเป็นต้องประชามติซ้ำ
ตร.จับตัวนักโทษคดียาเสพติดได้แล้ว หลังแหกคุกห้วยกลั้ง จ.ชุมพร
รวบสาวแสบ ตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเหยื่อเทรดเงินดอลลาร์แคนาดา
"ทบ." ยันตรวจ 2-3 ปี ไม่พบข้อมูล "แสตมป์" ร้องเรียนศูนย์รับร้องทุกช์ ถูกนายพลยัดผิด ม.112
จนท.ควบคุมไฟไหม้บ่อขยะเอกชนบางปูได้แล้ว เหลือเพียงกลุ่มควันเล็กน้อย
ตร.บุกรวบแก๊งเด็กช่าง ย่านพระประแดง มั่วสุมโชว์ปืนไทยประดิษฐ์ ยึดของกลางอื้อ
กรมอุตุฯ เผยไทยอุ่นขึ้น อากาศเย็นในตอนเช้า ภาคใต้เจอฝนคะนองบางแห่ง
จี้เร่งบังคับใช้กฎหมายจัดการ "บ่อกุ้งร้าง" แหล่งเพาะพันธุ์ปลาหมอคางดำ
ยอดจอง "บ้านเพื่อคนไทย" ทะลุ 1.5 แสน เฟสแรกเข้าอยู่ปีหน้า
"กรมวังฯ" ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเรือนจำกลาง - รพ.ถลาง จ.ภูเก็ต ตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น