“ส้ม ภรณี” สวนเจ็บ “ศิริกัญญา” โชว์กึ๋นเพิ่มแบงก์ แก้ดอกเบี้ยกู้ ยันการเงินยุคใหม่ไม่จำเป็น แถมเสี่ยง bank run

"ส้ม ภรณี" สวนเจ็บ "ศิริกัญญา" โชว์กึ๋นเพิ่มแบงก์ แก้ดอกเบี้ยกู้ ยันการเงินยุคใหม่ไม่จำเป็น แถมเสี่ยง bank run

จากกรณีที่ “ศิริกัญญา ตันสกุล” รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค ได้แสดงวิสัยทัศน์ถึงกรณีการแก้ดอกเบี้ยเงินกู้ ด้วยการเพิ่มธนาคารนั้น จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก

 

 

นางสาว ภรณี วัฒนโชติ (ส้ม) อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ “ส้ม ภรณี วัฒนโชติ | Som Poranee Wattanachot” ระบุว่า
คำถามชวนคิด: “จำนวนธนาคารเพิ่มขึ้น ดอกต่ำ กู้ง่าย” จริงหรือ?

1. ข้อเท็จจริง จำนวนธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยนับเฉพาะที่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีทั้งหมด 17 แห่ง และธนาคารรัฐอีก 6 แห่ง ซึ่งแบงค์ชาติได้กำหนดให้มี virtual banking อีก 3 ใบอนุญาต เนื่องจากเป็นช่วงทดลองขั้นต้นในsandbox ของแบงค์ชาติ จึงรวมมีธนาคาร 26 แห่ง

**มากกว่าที่มีผู้กล่าวหาแบงค์ชาติว่าธนาคารในประเทศไทยมีน้อยกว่า 20 แห่งเมื่อรวมใบอนุญาติ virtual banking แล้ว

ซึ่งจำนวนที่ไทยเรามีอยู่เรียกว่าน้อย หรือไม่ ขอยกตัวอย่างประเทศเกาหลีที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 3เท่านิดๆ มีจำนวนธนาคารพาณิชย์ 15 แห่ง และ ธนาคารรัฐฯ 5 แห่ง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2. ธนาคาร กับทุนใหญ่ ตัดขาดกันได้จริงหรือ?

ไม่ใช่ทุนใหญ่ เงินทุนไม่มากพอ ไม่มีเงินค้ำประกันกับแบงค์ชาติ รับฝากเงินแล้ว แกล้งล้ม rugpull กันได้ง่ายๆแบบสถานการณ์ของหลายๆเหรียญในโลกcrypto และเมื่อมีความกังวลคนแห่ไปถอนเงินฝากออกพร้อมกัน จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเหตุ bank run ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ความเสียหายจะเกิดกับประชาชน แบงค์ล้ม ไม่มีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจพังทั้งระบบ

3. อยากลดดอกเบี้ยเงินกู้ ต้องเปิดธนาคารเพิ่ม จริงหรอ?

อาจไม่เสมอไป เพราะตัวแปรในการคิดอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้อย่างง่าย คือ
ต้นทุนทางการเงิน + อัตราผลกำไร + ดอกเบี้ยพรีเมี่ยมชดเชยความเสี่ยงตามลักษณะของผู้กู้

ดังนั้น การเพิ่มจำนวนธนาคารอาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด แต่การช่วยให้สถาบันการเงิน(ไม่ใช่แค่เพียงธนาคาร และไม่จำเป็นที่ต้องกำหนดว่าธนาคารเท่านั้นจึงจะสามารถปล่อยกู้ได้) โดยเมื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้กู้ได้

จะช่วยขยายฐานคนที่จะเข้าถึงเงินกู้ในระบบ และ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เช่น

-การส่งเสริมการประเมินความเสี่ยงทางเลือก (Alternative Credit Scoring) ในการปล่อยกู้ เช่น fastwork ที่ช่วยให้ฟรีแลนซ์เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้
-ใบอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ เช่น
-ใบอนุญาตสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ลิสซิ่ง
-ใบอนุญาตการกู้ยืมทางดิจิตอล (digital lending license) เช่น Shopee
-ใบอนุญาตสินเชื่อให้กู้ไร้ตัวกลาง (Peer-to-peer lending) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนเงินและดอกเบี้ยได้เป็นอย่างดี

 

ซึ่งมีบริษัทผ่านขั้นตอนทดสอบsandbox กับแบงค์ชาติแล้ว 5 ราย เช่น ฟินเทคสตาร์ทอัพ peer power เป็นต้น

ดังนั้นด้วยเครื่องมือทางการเงินยุคใหม่ แนวความคิดการเพิ่มจำนวนธนาคาร เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จึงมีความจำเป็นน้อยลง (เพราะมีวิธีอื่นที่ดีกว่าและสร้างความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจน้อยกว่า)

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ชูศักดิ์" ชูคณิตศาสตร์การเมือง รับเสี่ยงเกินไป ปรับภูมิใจไทยพ้นรัฐบาล
ปตท. สนับสนุนการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย 2568
“พาณิชย์” ประกาศขึ้นทะเบียน GI “แตงโมเกาะสุกร” จ.ตรัง ยกเป็นแตงโมคุณภาพดี รสหวานธรรมชาติ
ราคาทองเปิดตลาดเช้านี้ ร่วงลงแรง หลังพุ่งปรี๊ด รูปพรรณขายออก 53,850 บาท
“เอกนัฏ” สั่ง “ทีมสุดซอย” บุกรวบ 2 โรงงานทุนจีน ลักลอบหลอมเหล็กเส้นแบบ IF ยึดเพิ่มเหล็กเส้น มูลค่ากว่า 11.5 ล้านบาท
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เด็กน้อยจีน 'ควบม้า' เคียงข้างพ่อที่มองโกเลียใน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ยูนนานงัด 'ยานยนต์ไร้คนขับ' พัฒนาโลจิสติกส์ในชนบท
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) รถไฟความเร็วสูงจีนนำร่องรับผู้โดยสารพร้อมสัตว์เลี้ยง
“สุดารัตน์” มั่นใจก่อนเลือกตั้ง “เพื่อไทย” เอาคืน “มหาดไทย” แน่ มองโอกาสผลักภท.เป็นฝ่ายค้าน ยัง 50:50
เปิดภาพล่าสุด "โรงแรมดาราเทวี" เชียงใหม่ หลังเพลิงสงบ เร่งหาสาเหตุ ความเสียหายยังประเมินค่าไม่ได้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น