“ส.ว.คำนูณ” ยกคำวินิจฉัยศาลรธน.ชี้ชัดสถานะม.112 ไม่ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ ชวนจับตาชี้ขาดคนคิดรื้อแก้ เท่าล้มล้างปกครองหรือไม่

"ส.ว.คำนูณ" ยกคำวินิจฉัยศาลรธน.ชี้ชัดสถานะม.112 ไม่ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ ชวนจับตาชี้ขาดคนคิดรื้อแก้ เท่าล้มล้างปกครองหรือไม่

วันที่ 4 ก.ค. 66 นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก“Kamnoon Sidhisamarn” ระบุว่า ‘มาตรา 112 สอดคล้องกับหลักนิติธรรม’

โดย ส.ว.คำนูณ ได้เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555 ที่อรรถาธิบายความเป็น “มาตรา 112” และเป็น 1 ใน 2 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อ้างถึงในความเห็นทางกฎหมายเมื่อปี 2564 ที่ระบุว่าร่างแก้ไขมาตรา 112 ของส.ส.พรรคก้าวไกลน่าจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6

สำหรับคดีนี้เกิดขึ้นในยุคของรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นคดีที่โด่งดังพอสมควรในยุคนั้น จำเลยในคดีอาญา 2 คดี 2 คน ต่อสู้โต้แย้งในชั้นพิจารณาคดีในศาลว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่พวกเขาถูกฟ้องว่ากระทำความผิดนั้น ขัดรัฐธรรมนูญ 2550 หลายมาตราด้วยกัน ศาลอาญาจึงส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 112 ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญตามที่โต้แย้ง เพราะ

-มาตรา 112 สอดคล้องและเสมือนเป็นกฎหมายลูกบทของรัฐธรรมนูญมาตรา 2 และมาตรา 8 หรือมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
-พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสถาบันหลักและคุณลักษณะประการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงต้องมีกฎหมายคุ้มครอง มิให้ผู้ใดละเมิด
– การละเมิดพระมหากษัตริย์จึงเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
– มาตรา 112 จึงอยู่ในหมวดความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
– การคุ้มครองสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์จึงเป็นการคุ้มครองเด็ดขาด ไม่มีข้อยกเว้น
– ต้องบัญญัติโทษไว้พอสมควรแก่เหตุ
– มาตรา 112 เป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อความมั่นคงของรัฐ ที่สามารถกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 (ปัจจุบันอยู่ในมาตรา 34)
– มาตรา 112 สอดคล้องกับหลักนิติธรรม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส.ว.คำนูญ ระบุอีกว่า ในเวลาใกล้เคียงกันนั้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 คณะนิติราษฏรได้เสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 ต่อสาธารณะ เนื้อหาสำคัญคือย้ายออกจากหมวดความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ลดโทษ เพิ่มบทยกเว้นความผิดและบทยกเว้นโทษ และให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ร้องทุกข์แทนพระมหากษัตริย์ ร่างกฎหมายดังกล่าวพัฒนามาเป็นร่างแก้ไขมาตรา 112 ที่ ส.ส.พรรคก้าวไกลยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี 2564 แต่ไม่ได้รับการบรรจุเข้าระเบียบวาระ เนื่องจากฝ่ายบริหารของสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าน่าจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 พรรคก้าวไกลยังคงนำหลักการทุกประการจากร่างฯดังกล่าวมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้งปี 2566

 

 

ส่วนเหตุจากมาตรา 112 เดินทางมาถึงศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งในพ.ศ.นี้ โดยมีผู้ยื่นร้องต่ออัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการเสนอแก้ไขมาตรา 112 เป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดการกระทำนั้นเสีย แม้เนื้อหาของคดีจะแตกต่างกัน แต่ในสำนวนคดีน่าจะต้องมีคำวินิจฉัยที่ 28-29/2555 รวมอยู่ด้วย อย่างน้อยในเบื้องต้นก็ปรากฎอยู่ในความเห็นทางกฎหมายของสำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี 2564 ที่อยู่ระหว่างการจัดส่งไปยังอัยการสูงสุดตามร้องขอ อัยการสูงสุดจะวินิจฉัยสั่งการคำร้องนี้อย่างไร ยก หรือส่งศาลรัฐธรรมนูญ? ศาลรัฐธรรมนูญยุคปัจจุบันจะรับเรื่องไว้วินิจฉัยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นกรณีอัยการสูงสุดส่งมา หรือกรณีผู้ร้องใช้สิทธิยื่นโดยตรง? ถ้ารับไว้พิจารณา ผลการวินิจฉัยจะเป็นอย่างไร? อีกไม่นานจะมีคำตอบทั้ง 3 ประการแน่นอน

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" ไม่โกรธฉายาครม.ปี 67 มองเป็นสีสัน ลั่น "รัฐบาลพ่อเลี้ยง" ก็ดีช่วยทำงาน เพราะพ่อมีประสบการณ์
"นายกฯ" อวยพรปีใหม่คนไทย ขอให้มีความสุขเรื่องใกล้ตัว บอกปีหน้าเป็นปีแห่งโอกาส รัฐบาลจะทำเต็มที่
ทร.เอาจริง! ติดเขี้ยวเล็บให้ปชช.แนวชายแดน สอนจับปืน-ศัตรูมาพร้อมซัดโป้ง
คดีสังหาร สจ.โต้ง ส่อบานปลาย คลิปเสียงโผล่อีกไขปมยิง โยงเงินปริศนา 70 ล้าน
"อดีตสว.สมชาย" ชี้ฝ่ายอนุรักษ์เดินหมากผิด เปิดโอกาส"ระบอบทักษิณ"ฟื้นชีพรอบวกส้ม
ม่วนกรุ๊ป เริ่มแล้ว เทศกาลตีคลีไฟชัยภูมิ หนึ่งเดียวในโลก 1 ครั้งในรอบปี สุดคึกคัก
ชาวเวียดนามในโฮจิมินห์ดีใจมีรถไฟใต้ดินใช้แล้ว
ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น