จับสัญญาณเกม “เพื่อไทย” พลิกขั้วทิ้ง “ก้าวไกล”

เจาะลึกโหวตประธานสภาฯไม่ปกติ เหตุพรรคร่วมรัฐบาลเดิมไม่ส่งผู้ท้าชิงลงชิงชัย ชี้พิรุธมีนัยยะแอบตกลงอะไรบางอย่างกับเพื่อไทยหรือไม่ พร้อมจับสัญาณภูมิใจไทยไม่โหวตรองประธานสภาฯ ให้รวมไทยสร้างชาติไทยเป็นการปลดแอกพันธะพรรคร่วมเดิมหรือไม่ พร้อมส่งเกมเพื่อไทยดันก้าวไกลสุดความสามารถ ก่อนทิ้งไว้กลางทาง จัดตั้งรัฐบาลเอง

เจาะลึกโหวตประธานสภาฯไม่ปกติ เหตุพรรคร่วมรัฐบาลเดิมไม่ส่งผู้ท้าชิงลงชิงชัย ชี้พิรุธมีนัยยะแอบตกลงอะไรบางอย่างกับเพื่อไทยหรือไม่ พร้อมจับสัญาณภูมิใจไทยไม่โหวตรองประธานสภาฯ ให้รวมไทยสร้างชาติไทยเป็นการปลดแอกพันธะพรรคร่วมเดิมหรือไม่ พร้อมส่งเกมเพื่อไทยดันก้าวไกลสุดความสามารถ ก่อนทิ้งไว้กลางทาง จัดตั้งรัฐบาลเอง

 

 

การเมืองไทยเริ่มเข้มขั้นขึ้นทุกขณะ หลังการเลือกประธานสภาฯผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อย โดยนายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ได้รับเลือกเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติแบบไร้คู่แข่ง แต่สิ่งที่น่าจับตามองอย่างยิ่งคือการเลือกประธานสภาฯในครั้งนี้มีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

อะไรคือความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะโดยปกติการเสนอชื่อประธานสภาฯตั้งแต่อดีตจะพบว่า พรรคการเมืองที่จัดตั้งรัฐบาล และพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายค้านจะส่งชื่อประธานสภาฯลงชิงตำแหน่ง โดยการเลือกตั้งในปี 2562 พรรคร่วมรัฐบาลเสนอชื่อนายชวน หลีกภัยจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานสภาฯ ขณะที่ 7 ร่วมฝ่ายค้านในครั้งนั้นส่งชื่อนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยเป็นผู้ท้าชิง และนี่คือความปกติของการเมืองไทยในระบบรัฐสภาไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า การเลือกประธานสภาฯเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา มีข้อพิรุธที่ไม่ปกติเกิดขึ้น คือ ทำไมพรรครัฐบาลเดิมที่ประกอบไปด้วย ภูมิใจไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์ ฯลฯ จึงไม่เสนอชื่อประธานสภาฯเข้าแข่งขันกับ 8 พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล

อะไรคือคือสิ่งผิดปกติที่พรรคร่วมรัฐบาลเดิมไม่ส่งชื่อประธานสภาฯเข้าแข่งขัน ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ว่า พรรคร่วมเดิมอาจมีข้อตกลงอะไรบางอย่างกับพรรคเพื่อไทย เพราะตามครรลองประชาธิปไตย กลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลเดิมไม่มีเหตุผลที่จะไม่เสนอชื่อประธานสภาฯเข้าแข่งขัน แต่ในครั้งนี้ทั้งพรรคภูมิใจไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ และประชาธิปัตย์ต่างปิดหู ปิดตาเงียบเป็นเป่าสาก

 

ที่น่าสงสัยยิ่งขึ้นเมื่อมีการเสนอชื่อรองประธานสภาคนที่สองที่มาจากพรรคเพื่อไทย คือนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ปรากฎว่า พรรคร่วมรัฐบาลเดิมไม่ได้ส่งชื่อใครลงชิงดำ แต่พอมาถึงคิวพรรคก้าวไกลที่เสนอชื่อนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ปรากฎว่า พรรครวมไทยสร้างชาติเสนอชื่อนายวิทยา แก้วภราดัย เข้าชิงชัย ซึ่งตรงนี้มองได้หรือไม่ว่า สาเหตุที่พรรคร่วมรัฐบาลเดิมไม่เสนอชื่อประธานสภาฯแข่งขันกับนายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา อีกทั้งยังไม่เสนอชื่อรองประธานสภาฯแข่งกับนายพิเชษฐ์เ ป็นการส่งสัญาณทอดสะพานความเป็นมิตรไปถึงพรรคเพื่อไทย โดยผ่านการตกลงและวางแผนกันมาก่อนหน้านี้หรือไม่

 

ส่วนความผิดปกติลำดับต่อมาคือการลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกรองประธานสภาฯคนที่สองจากพรรคก้าวไกลพบว่า นายปดิพัทธ์ได้คะแนนเสียงจาก 8 พรรคการเมืองท้วมท้นเต็มคาราเบล 312 เสียง โดยเฉพาะ 141 เสียงของเพื่อไทยเทไปให้ก้าวไกลครบถ้วนไม่มีแตกแถวถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า เพื่อไทยสนับสนุนก้าวไกลอย่างสุดความสามารถตามข้อตกลงเอ็มโอยูที่เซ็นร่วมกันเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

 

 

ขณะที่นายวิทยา จากรวมไทยสร้างชาติได้คะแนนจากพรรคร่วมรัฐบาลเดิมจำนวน 105 เสียง งดออกเสียง 81 บัตรเสีย 2 ใบ โดยการงดออกเสียงมาจากภูมิใจไทยทั้งพรรคด้วยจำนวน 71 เสียง ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล อ้างว่าเป็นการปล่อยให้ ส.ส.ในพรรคมีอิสระในการโหวต แต่ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวออกมาว่า สาเหตุที่ภูมิใจไทยไม่โหวตให้นายวิทยาเป็นเพราะต้องการสื่อให้รู้ว่า ภูมิใจไทยไม่มีข้อตกลงกับพรรคร่วมรัฐบาลเดิมในการตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ซึ่งตรงนี้อาจเป็นการส่งสัญญาณสะกิดไปถึงเพื่อไทยให้รับรู้ไม่ว่า ขณะนี้พรรคของเสี่ยหนูไม่มีพันธะใด ๆ กับกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลเดิมแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นวันเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรีก็น่าเชื่อว่า เสียงในฝั่ง 8 พรรคการเมืองที่โหวตใหนายพิธาจะท้วมท้นเหมือนเดิมคือ 312 เสียง โดยเฉพาะ 141 เสียงของเพื่อไทยจะเทให้ก้าวไกลครบถ้วนสุดความสามารถเช่นเดิม แต่ถ้านายพิธาไม่สามารถฝ่าด่าน ส.ว. ในการโหวตในครั้งแรก จากนั้นหากมีการโหวตเลือกนายพิธาเป็นนายกฯในครั้งที่สอง และครั้งที่สาม แต่นายพิธายังไม่ผ่านด่าน ส.ว.เช่นเคยทั้งที่เพื่อไทยเทเสียงสนับสนุนทุกครั้ง

ตรงนี้ต่างหากคือไฮท์ไลท์สำคัญ เพราะเมื่อนายพิธาไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากติดหล่มของของ ส.ว. ก็จะทำให้พรรคเพื่อไทยพลิกสถานการณ์ โดยอ้างว่าที่ผ่านมาเพื่อไทยทำทุกทางเพื่อสนับสนุนพรรคก้าวไกลอย่างสุดความสามารถ แต่นายพิธาไม่สามารถผ่านด่าน ส.ว. จึงขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง โดยอาจไปจับขั้วกับพรรคการเมืองฝั่งอนุรักษ์นิยมอย่างพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพันธมิตรขั้วเดิมอย่างพรรคประชาชาติ เพื่อไทยรวมพลัง และพรรคเสรีรวมไทยเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก

จากนั้นจะทิ้งก้าวไกลเป็นฝ่ายค้านไปโดยปริยาย พร้อมให้เหตุผลสวย ๆ อีกว่าหากก้าวไกลยังร่วมรัฐบาล จะทำให้การจัดตั้งรัฐบาลของเพื่อไทยในการเสนอชื่อนายกฯไม่ผ่านด่าน ส.ว.อยู่ดีไม่ว่าจะเป็น น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร หรือนายเศรษฐา ทวีสิน เนื่องจากก้าวไกลมีนโยบายแก้มาตรา 112 รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง และสถาบันฯ จึงจำเป็นต้องสลัดก้าวไกลออกไปให้พ้นทาง

จากท่วงท่าทำนองในบริบทการเมืองของเพื่อไทยและก้าวไกล จากนี้ไปจึงต้องจับสัญาณการเมืองให้ดีว่า ขณะนี้เกมของเพื่อไทยในการกินรวบทั้งกระดานกำลังดำเนินแบบเป็นขั้นตอน โดยทุกอย่างสอดรับกันไปหมดอย่างมีชั้นเชิงในทุก ๆ ทาง?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น