แพทย์เตือน เสริม "แคลเซียม" ที่ไม่มาจากธรรมชาติ เพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่าเดิม โดยเฉพาะหญิงสูงวัยที่เคยเป็นอัมพฤกษ์ เปิดสาเหตุสำคัญที่ต้องรู้
ข่าวที่น่าสนใจ
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อัปเดตข่าวสารวงการแพทย์ โดยระบุว่า เสริม “แคลเซียม” สมองเสื่อมเพิ่มขึ้น (ถ้ามีเส้นเลือดผิดปกติในสมอง ทั้งที่มีหริอไม่มีอาการอยู่แล้ว)
เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงเริ่มลดลง กระดูกจะเริ่มพรุนบางขึ้น ประกาศของสหรัฐอเมริกาผ่านทางวิทยาลัยอายุรแพทย์ กุมภาพันธ์ 2013 (US Preventive Service Task Force : วารสาร Annals of Internal Medicine) ไม่สนับสนุนให้เสริมแคล เซียม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีวิตามินดีด้วยก็ตาม เนื่องจาก ติดตามสตรีวัยทองจำนวน 36,282 ราย อายุระหว่าง 50 – 79 ปี อัตรากระดูกหัก ไม่ว่าสะโพกหรือกระดูกส่วนอื่น ๆ ไม่ต่างกับกลุ่มที่ได้หรือไม่ได้รับแคล เซียม-วิตามินดี
โดยช่วงวัยที่สมควรเสริมแคล เซียมจะเริ่มตั้งแต่สตรีอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจาก มีความเสี่ยงของการหกล้มลุกคลุกคลานมากกว่าวันอื่น ทั้งนี้ การได้รับแคล เซียม-วิตามินดี มีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะในอัตรา 1 ต่อ 273 ราย เมื่อเสริมต่อเนื่องไปนาน 7 ปี
การตรวจความหนาแน่นของกระดูก
- ในรายงานเดียวกันแนะให้ทำในสตรีอายุ 65 และในผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องทำในอายุน้อยกว่านั้น
- ยกเว้น แต่ว่าเคยมีกระดูกหักง่าย แม้ถูกกระแทกเบาะ ๆ เช่น
- โรคข้อรูมาตอยด์
- มีบิดามารดาที่มีกระดูกสะโพกหัก ดื่มจัด สูบหนัก
- ใช้ยาสเตียรอยด์
- ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับกาแฟที่เชื่อกันนักกันหนาว่าทำให้กระดูกพรุน
สำหรับคนที่กระดูกบางเล็กน้อยแล้วเริ่มโหมกระหน่ำแคล เซียม วิตามินดี จากที่หมอให้ หรือซื้ออาหารเสริมกินเติมกระหน่ำเพิ่มอีกด้วย มีโอกาสเกิดแคล เซียมสูงในเลือด และอาจมีผลต่อหัวใจเต้นผิดปกติ
โดยรายงานล่าสุด 2 ชิ้น ในวารสารสมาคมแพทย์ของอังกฤษ (British Medical Journal 2015) ไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า การเสริมแคล เซียมในปริมาณ 700-800 มก./วัน ไม่ว่าจากในอาหารหรือการกินเป็นยา อาหารเสริมทั้งร่วมหรือไม่ร่วมกับวิตามินดี ทำให้กระดูกหนาขึ้นหรือป้องกันกระดูกหัก
รายงานแรกวิเคราะห์ทั้งผู้ชายและผู้หญิงตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป
- จำนวน 1,533 คนที่ได้แคล เซียมเพิ่มเติมจากอาหาร (จากการศึกษา 15 ชิ้น)
- และจำนวน 12,257 คนที่ได้รับเพิ่มจากยาหรืออาหารเสริม (จากการศึกษา 51 ชิ้น)
การวัดความหนาแน่นของกระดูกที่สะโพกและทั้งตัว 1 ปีหลังได้แคล เซียมจากอาหารมีการเพิ่มขึ้น 0.6-1%
- เมื่อผ่านไป 2 ปี เพิ่มขึ้นจากเริ่มแรก 0.7-1.8% ที่สะโพก และทั้งตัว ที่กระดูกสันหลังระดับเอวและกระดูกโคนขาส่วนคอ แต่ไม่มีผลที่กระดูกแขน
กรณีที่ได้แคลเ ซียมเป็นยา หรืออาหารเสริม อัตราการเพิ่มความหนาแน่นยังอยู่ที่ 0.7–1.8% ไม่ว่าจะวัดทีตำแหน่งใดก็ตาม หลังจากใช้ไป 1 ปี หรือมากกว่า 2 ปีครึ่งก็ตาม โดยสรุปความหนาแน่นไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มน้อยมาก และไม่ขึ้นกับระยะเวลาที่กิน
นอกจากนั้น ผลที่ได้ไม่ต่างกันไม่ว่าจะกินอาหารที่มีแคล เซียมเพิ่มในระดับสูงมาก หรือระดับต่ำลงมาบ้าง ผลที่ได้ก็ยังไม่ต่างกับการกินแคล เซียมที่เป็นในรูปของยาในขนาดต่ำ หรือสูงมีหรือไม่มีวิตามินดีก็ตาม โดยรายงานถัดมาประเมินว่า “แคลเซียม” ที่ได้เพิ่มขึ้นจากอาหาร นม หรือยาทั้งที่มีหรือไม่มีวิตามินดี พบว่าไม่สามารถป้องกันกระดูกหักได้ในกลุ่มที่ศึกษา คือในคนอายุมากกว่า 50 ปี จำนวน 44,505 ราย
รายงานใหญ่ทั้ง 2 ชิ้นที่ได้นี้ ผลตรงกันกับที่ทางสหรัฐฯ รายงานมาก่อน ทั้งนี้ การได้แคล เซียมจากอาหารตามปกติ ในขนาดวันละ 700-800 มิลลิกรัม ที่เป็นมาตรฐานในประเทศอังกฤษและในประเทศนอร์ดิก (เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน) น่าจะเพียงพอโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณไปจนถึง 1200 มก.
และยังต้องเสริมด้วยวิตามินดีอีกในขนาด 800-1000 หน่วยในผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่แคลเซียมปริมาณมากกว่า 800 มก. นี้ จะได้จากอาหารอย่างเดียว
ล่าสุด มีรายงานพบว่า การเสริม “แคลเซียม” ที่ไม่ใช่ธรรมชาติ (พยายามให้ได้ถึงวันละ 900-1,200 มก. ต่อวัน) กลับเพิ่มภาวะสมองเสื่อม ในสตรีเริ่มมีอายุที่เคยมีเป็นอัมพฤกษ์ หรือมีรอยผิดปกติอยู่แล้วในสมองสีขาว ใต้เปลือกสมอง กลไกไม่ทราบชัด
โดยรายงานในวารสารประสาทวิทยา neurology ของอเมริกา 2016 เผยว่าติดตามสตรีที่ไม่มีอาการใด ๆ ส่อให้เห็นถึงภาวะสมองเสื่อม เป็นเวลา 5 ปี จำนวน 700 ราย อายุระหว่าง 70-92 ปี จากการตรวจมีวิธีการประเมินพุทธิปัญญา (cognitive test) หลายอย่าง เกี่ยวกับระบบความจำ และความเชี่ยวชาญในกระบวนการคิด มีการทำคอมพิวเตอร์สมองจำนวน 447 ราย
เมื่อจบการศึกษา สรุปรวม มีผู้ใช้แคล เซียมเสริมแต่ต้น 98 ราย และ 54 ราย มีโรคอัมพฤกษ์ ที่เกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองตีบอยู่แล้ว และในช่วงเวลา 5 ปีต่อมา มีอัมพฤกษ์เพิ่มอีก 54 ราย และ อีก 59 รายเกิดอาการสมองเสื่อม ในรายที่มีการทำคอมพิวเตอร์สมอง มี 71% ที่พบความผิดปกติในสมองส่วนสีขาว ที่อยู่ใต้ผิวสมองทางด้านนอก และเป็นหลักฐานของการที่มีโรคเส้นเลือดในสมอง
สตรีที่ได้แคล เซียมเสริม จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้เสริม (14/98 หรือ 14% เทียบกับ 45/602 หรือ 8%) เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกลงละเอียด พบว่า การที่มีโรคประจำอัมพฤกษ์อยู่แล้ว และได้แคล เซียมเพิ่มจะเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมสูงกว่ากลุ่มที่มีอัมพฤกษ์อยู่แล้วแต่ไม่มีเสริม ถึง 7 เท่า (6/15 เทียบกับ 12/93) และสตรีที่มีความผิดปกติในสมองสีขาวจากในคอมพิวเตอร์สมอง ถ้าเสริมแคล เซียม จะเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติแบบเดียวกันแต่ไม่เสริม 3 เท่า
อย่างไรก็ดี สตรีที่ปลอดจากอัมพฤกษ์ และไม่มีคอมพิวเตอร์สมองผิดปกติดังกล่าว การเสริมแคล เซียมจะไม่มีความเสี่ยงเพิ่มของสมองเสื่อม เทียบกับกลุ่มไม่เสริม (18/83 เทียบกับ 33/509)
ถึงแม้จำนวนของผู้ที่อยู่ในการศึกษาจะน้อย แต่วิธีการรัดกุม รวมทั้งผลควรนำมาซึ่งการตระหนักชองการเสริมแคลเ ซียม ซึ่งไม่ได้จากอาหารตามธรรมชาติ อาจเกิดผลร้าย โดยเฉพาะผู้ที่มีหรือมีแนวโน้มว่ามีความผิดปกติของเส้นเลือดสมองอยู่แล้ว
ข้อมูล : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
Apple Back to School โปรปังรับเปิดเทอม ลดสูงสุด 30%
Banana IT : ลดไม่ต้องรอโปรราคานักศึกษา สินค้า Apple และอุปกรณ์เสริม ลดสูงสุด 5,000.- สินค้าใหม่ ราคาดี ไม่ติดสัญญา ใครๆ ก็ได้ราคานี้ : คลิกที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง