“ส.ว.ประพันธ์” ย้ำชัดสภาฯสูงไม่โหวต “พิธา” นั่งนายกฯ ชี้นโยบายพรรคเป็นอันตรายต่อระบอบปชต.

วันที่ 6 ก.ค. นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เปิดเผยถึงการประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 ก.ค.2566 ว่า จากที่การประเมินสถานการณ์และการพูดคุยกันระหว่างเพื่อนสมาชิก ส.ว.ด้วยกัน เสียงส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ไม่ยอมรับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้ไปเป็นนายกฯ จึงไม่ยินดีที่จะโหวตให้นายพิธา

นายประพันธ์ กล่าวว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ส.ว.ส่วนใหญ่มองและเห็นตรงกันก็คือ ประเด็นเรื่องแนวคิดและจุดยืนทางการเมืองของนายพิธา เป็นแนวคิดและจุดยืนที่มีปัญหาต่อระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน อย่างเรื่องการพยายามแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และที่มีแนวคิดจะดำเนินการปฏิรูประบบสถาบันกษัตริย์ตามแนวคิดของพรรค ก.ก. และกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนเขายังดำรงอยู่ โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง รวมถึงจุดยืนและแนวคิดในเรื่องนโยบายการต่างประเทศก็เป็นอันตรายต่อประเทศไทยและสังคมไทย จากประเทศไทยที่เป็นมิตรกับทุกประเทศ คบค้าสมาคมได้กับทุกฝ่าย ก็จะเป็นปัญหาว่าหากนายพิธา ขึ้นมาแนวคิดและแนวนโยบายด้านต่างประเทศก็จะเปลี่ยนไป ส่อไปในทิศทางที่จะชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน และเอนเอียงเข้าข้างมหาอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เปิดทางให้มหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงครอบงำประเทศ สิ่งเหล่านี้ ทุกคนมีข้อมูลตรงกันว่าเป็นเหตุสำคัญอย่างยิ่ง

ข่าวที่น่าสนใจ

นายประพันธ์ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ พรรคก้าวไกลและตัวนายพิธายังมีพฤติกรรม ที่ส่อไปในลักษณะที่จะสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดน พยายามไปบิดเบือนประวัติศาสตร์ พยายามไปปลุกระดมประชาชนและชนเผ่าต่าง ๆ ให้มีความคิดกระด้างกระเดื่องและแบ่งแยกรัฐออกจากราชอาณาจักรไทย ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมากที่สุด

“นายพิธาไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะมาเป็นผู้นำในระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ เพราะทุกบทบาท ทุกความเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขา ที่เดินสายออกไปทั่วประเทศ กำลังปลุกปั่นยุยงประชาชน สร้างความขัดแย้งแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศ เป็นนายกฯ ก็ไม่สามารถสร้างความสามัคคีให้คนมาร่วมมือกันทำงานได้ แม้แต่กับพรรคการเมืองด้วยกัน ก็มีแต่คนเบือนหน้าหนี กับประชาชน เขาก็เลือกที่จะดูแลหรือปกป้องสนับสนุน กลุ่มด้อมส้มที่สนับสนุนเขาเท่านั้น แต่ไม่เห็นหัวประชาชนส่วนใหญ่ ผู้นำที่มีวุฒิภาวะแบบนี้ มันไม่สามารถเป็นผู้นำของประเทศได้ ไม่สามารถทำให้คนสามัคคีกันมาร่วมกันพัฒนาบ้านเมือง” นายประพันธ์ กล่าว

นายประพันธ์ กล่าวว่า พูดถึงเรื่องจุดยืนการที่จะโหวตนายพิธาเป็นนายกฯ หรือไม่ ทุกคนก็เห็นว่าจากเหตุผลต่างๆ ตัวนายพิธา ไม่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย อันนี้ยังไม่นับถึงปัญหาคุณสมบัติส่วนตัวของเขา การถือหุ้นไอทีวี การมีคุณสมบัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ การที่มีนโยบายจะแก้ไขยกเลิกมาตรา 112 ในการหาเสียงจนถูกยื่นคำร้องว่าอาจจะกระทำผิดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 49 หรือไม่ ที่ก็เป็นเรื่องใหญ่ในเรื่องคุณสมบัติส่วนตัวและของพรรค ที่ไม่อาจสนับสนุนหรือให้ความเห็นชอบเป็นนายกฯ ได้ กรณีของนายพิธาจบไปแล้ว มองข้ามไปได้เลยว่า โอกาสที่จะได้เป็นนายกฯ แทบไม่มี

นายประพันธ์ กล่าวอีกว่า ในระหว่างนี้ ที่กำลังจะมีการโหวตนายกฯ ก็มีความพยายามที่จะไปเจาะ ไปขอเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. มีข่าวความเคลื่อนไหวในกลุ่ม ส.ว.เช่นเดียวกันว่า มีคนพยายามที่จะใช้เงินไปซื้อเสียง ส.ว. มาสนับสนุนยกมือให้ ซึ่ง ส.ว.มองเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ ทั้งที่อ้างตนว่าเป็นพรรคประชาธิปไตย เป็นคนรุ่นใหม่ แต่ว่ามันมีกระแสข่าวทำนองนี้ แต่จะเกี่ยวข้องกับพรรคก้าวไกลเป็นคนทำเองหรือไม่ หรือมีกลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลังที่เดินสายเพื่อจะจัดการให้หรือไม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามและตรวจสอบของฝ่ายข่าวและฝ่ายความมั่นคง ซึ่ง ส.ว.ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเขามีใครบ้าง ตอนนี้ฝ่ายความมั่นคงเขาติดตาม มาร์กตัวเป็นรายบุคคลเลย

เมื่อถามว่า หากนายพิธา เสียงโหวตไม่ถึง 376 เสียง แล้วพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทน โดยอาจเสนอชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน แต่ยังมีพรรคก้าวไกลอยู่ในพรรคจัดตั้งรัฐบาล นายประพันธ์ กล่าวว่า เรามองข้ามช็อตไปแล้ว คือว่านายพิธากับพรรคก้าวไกล เราไม่ได้มองแค่ว่านายพิธา ไม่เหมาะสมที่จะเป็นนายกฯ ความเห็นส่วนตัวมีความเห็นว่า พรรคก้าวไกลไม่เหมาะสมที่จะเป็นพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ซึ่งเหตุผลนอกเหนือจากที่บอกไว้ข้างต้นว่า จะไม่โหวตให้นายพิธาเป็นนายกฯแล้ว ก็ยังมีเหตุผลว่า พรรคก้าวไกลมีจุดยืนทางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจากพฤติกรรมที่เขาทำหลายอย่าง เช่น การมีนโยบายจะแก้ไข มาตรา 112 แล้วใช้นโยบายนี้หาเสียง เพื่อนำไปสู่การยกเลิกมาตรา 112 ไม่ใช่แค่แก้ไขอย่างเดียว และต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเลย ไม่ว่าจะเป็นหมวด 1 หมวด 2 หมวดพระมหากษัตริย์ หมวดเรื่องราชอาณาจักรไทยเป็นหนึ่งเดียวแบ่งแยกไม่ได้ เขาก็จะแก้ไข เพราะฉะนั้น ลักษณะของพรรคก็เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย และพรรคก้าวไกลก็มีเรื่องถูกยื่นคำร้องร้องในประเด็นนี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญด้วย

นายประพันธ์ กล่าวว่า เพราะฉะนั้นโดยพฤติกรรมของพรรคการเมืองพรรคนี้ จึงไม่สมควรมีโอกาสให้เข้าไปเป็นพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลได้เลย เรามองข้ามช็อตไปแล้ว คือความเห็นของผมตอนนี้ ไม่เพียงแต่จะไม่สนับสนุนนายพิธา ยังเห็นว่าไม่ควรสนับสนุนให้พรรคก้าวไกลไปเป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วย หากพรรคการเมืองใด จะขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้วยังเอาพรรคก้าวไกลมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล เสนอชื่อมาเป็นแคนดิเดตนายกฯ ผมก็ไม่โหวตให้ เพราะผมไม่เห็นชอบกับแนวคิดและนโยบายที่เป็นอันตรายของพรรคการเมืองพรรคนี้ ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องของบ้านเมือง ซึ่งก็มี ส.ว.หลายคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" วางพานพุ่มดอกไม้ ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึก "มหาจักรี"
สมาคมประชาคมคนตาบอดไทย เข้าพบ "ดร.ปราจิน"  รับมอบเงิน  6 แสนบาท สมทบทุนซื้อ "ไม้เท้าขาว" ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตาทั่วประเทศ
“DITP" ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ยกทัพบุก 5 จังหวัดชายแดนใต้ ปั้นนักรบการค้า "ฮาลาล" สู่ตลาดโลก
กู้ภัยพบเพิ่มอีก 1 ศพ เร่งนำร่างออกจากตึกสตง. "รองผู้ว่าฯกทม." ย้ำจากนี้ต้องรอนิติเวช ยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิต ป้องกันเกิดความสับสน
เอาแล้ว “อ.ไชยันต์” ถือฤกษ์วันจักรี ประกาศสมัครเป็นตุลาการศาลรธน.
แผ่นดินไหวเขย่า “พม่า” 4.0 ดับสะสม 3,471 กลิ่นศxคลุ้ง-เตาเผาใกล้แตก
ยูเอ็นเตือนฝนเป็นอุปสรรคกู้ภัยแผ่นดินไหวเมียนมา
ทรัมป์บอกชาวอเมริกันอดทนไว้ปมภาษีตอบโต้
"ทรัมป์" เล่นใหญ่ แจ้งพลเมืองอเมริกัน อดทน ปฏิบัติการขึ้นภาษีตอบโต้การค้า โวสหรัฐจะเป็นผู้ชนะ
“ทรัมป์” กระอักเลือด! “จีน” ประกาศงัดข้อ ขึ้นภาษี 34% แบน 11 บริษัทมะกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น