รู้จัก โรค “SLE” แพ้ภูมิตัวเอง กับ 14 อาการจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ

SLE, systemic lupus erythematosus, sle disease, โรค sle อาการ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคพุ่มพวง, การอักเสบของอวัยวะ

ทำความรู้จัก โรค "SLE" โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง เช็ค 14 อาการบ่งชี้จากภูมิคุ้มกันผิดปกติ พร้อมแนะวิธีดูแลตัวเอง

ทำความรู้โรค “SLE” systemic lupus erythematosus s le disease โรค sle อาการ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวงที่หลายคนคุ้นเคย เปิด 14 อาการบ่งชี้จากภูมิคุ้มกันผิดปกติ พร้อมแนะวิธีดูแลตัวเอง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

โรค “SLE” (Systemic Lupus Erythematosus) คืออะไร

  • เป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะทั่วร่างกาย และอวัยวะที่เกิดการอักเสบจะได้รับความเสียหาย
  • ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีการอักเสบในแต่ละอวัยวะแตกต่างและมีอาการแสดงแตกต่างกัน แต่มักเกิดการอักเสบของหลายอวัยวะร่วมกัน
  • เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย และมีอัตราการเสียชีวิตตํ่า พบเพียงร้อยละ 0.1 (0.014 – 0.122) หรือคิดเป็นจํานวนผู้ป่วยในประเทศไทยราว 50,000 – 700,000 คน
  • ส่วนใหญ่มักพบในเพศหญิงช่วงอายุราว 20 – 40 ปี
  • ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับ
    • พันธุกรรม
    • แสงแดด
    • การติดเชื้อไวรัส
    • การติดเชื้อแบคทีเรีย
    • การได้วัคซีน
    • การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด

 

SLE, systemic lupus erythematosus, sle disease, โรค sle อาการ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคพุ่มพวง, การอักเสบของอวัยวะ

 

14 อาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย

  • มักจะมีอาการไข้ตํ่า
  • ปวดข้อ ปวดเมื่อย
  • เหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • นํ้าหนักลด
  • ผมร่วง
  • มีผื่นที่หน้า ที่แก้ม คล้ายปีกผีเสื้อ
  • ผื่นตามตัว แขน ขา
  • ผื่นแพ้แสง
  • แผลในปาก
  • บวม
  • ซีด
  • มีจ้ำเลือดหรือจุดแดงคล้ายยุงกัดตามแขนขา

มักมีอาการมาก่อนเป็นสัปดาห์หรือหลายสัปดาห์

การตรวจวินิจฉัยโรค

  • แพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการดังกล่าวของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อหาอวัยวะที่มีการอักเสบ
  • การตรวจปัสสาวะ และการตรวจทางภูมิคุ้มกัน (ANA , anti-dsDNA , anti Sm) โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยจากสมาคมแพทย์โรคข้อของสหรัฐอเมริกาและยุโรป
  • ผู้ป่วยโรค “SLE” จะต้องทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยการใช้ยา ประกอบด้วย
    • ยาต้านมาลาเรีย ร่วมกับยาสเตียรอยด์
    • ยากดภูมิอื่น ๆ ซึ่งขนาดและวิธีการให้ยาจะขึ้นกับความรุนแรงของโรค

 

SLE, systemic lupus erythematosus, sle disease, โรค sle อาการ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคพุ่มพวง, การอักเสบของอวัยวะ

วิธีดูแลตัวเอง

  • การดูแลความสะอาด
  • รับประทานอาหารที่สะอาด
  • ระวังการติดเชื้อโรค
  • รับประทานยาให้ตรง
  • ห้ามหยุดยาเอง
  • หลีกเลี่ยงยาสมุนไพรหรือยาชุด อาหารเสริมนอกระบบ
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด
  • ลดหรือหลีกเลี่ยงความเครียด
  • การคุมกําเนิด หากจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแล

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง

  • อาจเกิดจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • กระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ลําไส้อักเสบ
  • ไส้ติ่งอักเสบ เหมือนบุคคลทั่วไป
  • แต่โรคนี้อาจมีการอักเสบของอวัยวะในช่องท้องหรือในระบบทางเดินอาหารเองได้

ทั้งนี้ การอักเสบของอวัยวะในช่องท้องหรือในระบบทางเดินอาหารจากโรค เป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างน้อย แต่มีความรีบด่วน

SLE, systemic lupus erythematosus, sle disease, โรค sle อาการ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคพุ่มพวง, การอักเสบของอวัยวะ

การวินิจฉัยและการรักษา

ประกอบด้วยเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หลอดเลือดแดงในระบบทางเดินอาหารและลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ

  • ปวดท้อง
  • ท้องอืด
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • อาจจะมีอาการถ่ายเหลว
  • อาการปวดท้องมักเป็นค่อนข้างรุนแรงและมักจะมีอาการเป็นวันหรือหลายวัน
  • การตรวจท้องจะพบท้องอืด กดเจ็บทั่วท้อง ลำไส้ทำงานลดลง

การวินิจฉัย

  • จะอาศัยการตรวจเลือดประเมินการอักเสบ ประเมินค่าตับ ค่าการทำงานของไต
  • ประเมินแร่ธาตุในเลือด และตรวจหาค่าเอนไซน์ amylase หรือ lipase เพื่อประเมินภาวะตับอ่อนอักสบ
  • การส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ทางช่องท้องจะช่วยในการวินิจฉัย ตับอ่อนอักเสบซึ่งจะพบตับอ่อนบวมโต และหลอดเลือดลำไส้อักเสบซึ่งจะพบลักษณะจำเพาะคือพบลำไส้บวมหนา มีลักษณะคล้ายโดนัท

การรักษา

  • การให้สารน้ำทางหลอดเลือด
  • การให้ยาสเตียรอด์ขนาดสูง สำหรับภาวะหลอดเลือดลำไส้อักเสบ

 

SLE, systemic lupus erythematosus, sle disease, โรค sle อาการ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคพุ่มพวง, การอักเสบของอวัยวะ

 

ถ้าให้การรักษาล่าช้าอาจทำให้ลำไส้เน่าตายและเสียชีวิตได้ นอกจากภาวะหลอดเลือดแดงอักเสบแล้ว พบว่าลำไส้เน่าตาย อาจเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันจากลิ่มเลือด เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันกระตุ้นให้เลือดแข็งตัวง่ายกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่า

ผู้ป่วยมักไม่มีอาการอักเสบในระบบอื่น การวินิจฉัยโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสีจะพบจุดอุดตัน การรักษาจะใช้ยาละลายลิ่มเลือด อาการอื่น ๆ ที่พบได้น้อยมาก คือ มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่อักเสบและมีการปริแตกที่ผนังหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องค่อนข้างรุนแรง และถ้ามีผนังหลอดเลือดแดงแตกมักเสียชีวิตค่อนข้างรวดเร็ว การวินิจฉัยค่อนข้างยากและการรักษาต้องอาศัยการผ่าตัดซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนร่วมกับการให้ยาสเตียรอยด์ขนาดสูง

ข้อมูล : กรมการแพทย์


Apple Back to School โปรปังรับเปิดเทอม ลดสูงสุด 30%

Banana IT : ลดไม่ต้องรอโปรราคานักศึกษา สินค้า Apple และอุปกรณ์เสริม ลดสูงสุด 5,000.- สินค้าใหม่ ราคาดี ไม่ติดสัญญา ใครๆ ก็ได้ราคานี้ : คลิกที่นี่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปัตตานีระทึก คนร้ายชักปืน จี้ "พนง.ร้านสะดวกซื้อ" ชิงเงินสด 1.2 ล้าน หนีลอยนวล
เตรียมพบเทศกาลนานาชาติ พลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 "จันทบุรีนครอัญมณี" ปีที่ 5 ชูเอกลักษณ์เมืองจันท์ อัญมณีอันเลื่องชื่อ
“สมศักดิ์” นำร่อง “ตู้ห่วงใย” บริการแพทย์ทางไกลเชิงรุกในชุมชน ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ 
"พงษ์ศักดิ์" ยื่นร้องกกต. ขอระงับรับรองผลเลือกตั้งนายกอบจ.ขอนแก่น ชี้พบเหตุหาเสียงส่อผิดกม.
“กฤษอนงค์” ไร้เงาคนยื่นประกัน นอนคุกคืนแรก ด้าน “บอสพอล” มอบทีมกม.ยื่นค้านประกันตัว
‘ทะเลสาบน้ำเค็ม’ โผล่กลางทะเลทรายในมองโกเลียใน
เปิดศึก "พระ" ปะทะคารม "แม่ชี" ปมไม่จ่ายค่าไฟ
หนุ่มตีนผีขับรถ ชนพนักงานกวาดถนน สาหัส ซิ่งหนี เมืองดี ล้อมจับ เป่าขึ้น 77 มก.
ชุดปฏิบัติการพิเศษปกครองเมืองคอนสนธิกำลังจับผู้ต้องหายาเสพติดเครือข่ายภาคใต้ยาบ้าเกือบ 2 แสนเม็ด มูลค่า 2 ล้านบาท-เผยเริ่มต้นปฏิบัติการจับกุมผู้เสพผู้ค้ารายย่อยของกลางยาบ้าไม่ถึง 10 เม็ด จนขยายผลจับกุมข้ามจังหวัดรวมยาบ้า เกือบ 1.4 แสนเม็ดพร้อมยึดทรัพย์รถ เก๋ง 1 คัน สั่งขยายผลถึงตัวการใหญ่บงการอยู่เบื้องหลัง
รัสเซียลั่นจะตอบโต้ถ้ายูเครนใช้ ATACMS จริง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น