ดราม่าสุดๆ “ธาริต” ขนญาติแดงนปช. แถลงบีบน้ำตา ขอความเป็นธรรมศาลฎีกา โอ่ทำหน้าที่รักษากม. แต่โดนข้อหาแกล้งใส่ร้าย “อภิสิทธิ์-สุเทพ”

ดราม่าสุดๆ "ธาริต" ขนญาติแดงนปช. แถลงบีบน้ำตา ขอความเป็นธรรมศาลฎีกา โอ่ทำหน้าที่รักษากม. แต่โดนข้อหาแกล้งใส่ร้าย "อภิสิทธิ์-สุเทพ"

วันที่ 8 ก.ค. 66 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI พร้อมด้วยญาติผู้เสียชีวิต 99 ศพในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ปี 2553 ร่วมแถลงเรียกร้องความยุติธรรม โดยก่อนการแถลงนายธาริต เปิดเผยว่า สาเหตุที่ออกมาแถลงในวันนี้ เพราะทราบว่าเวลาของตัวเองเหลือน้อย มีแนวโน้มว่าตัวเองจะเข้าไปอยู่ในเรือนจำ โดยมาเล่าเรื่องราวที่อยู่ในการรับรู้ของตนเอง ไม่เคยบอกเล่าต่อสาธารณชน เท่าที่ได้ยินมาจากหูตนเองว่าหากทำคดี 99 ศพ จะมีการปฏิวัติ ก็เกิดการปฎิวัติขึ้นจริงและย้ายอดีตอธิบดีดีเอสไอ ถึง 2 คน

นายธาริต ยอมรับว่าได้ขอเลื่อนฟังคำพิพากษาหลายครั้งจริงจากเหตุผล 4 กรณีคือการส่งหมายศาลไม่ถึงภูมิลำเนาของผู้เสียหาย เหตุผลจากสุขภาพเป็นโควิด 2 ครั้ง เส้นโลหิตตีบ ผ่าตัดไตทั้งสองข้าง , มีญาติผู้เสียหายขอเข้าเป็นคู่ความหลายครั้ง และล่าสุดเมื่อวานนี้ (7 ก.ค.66)ได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200 ในการปฏิบัติกรณีการชุมนุม และส่งให้ศาลฎีกาดำเนินการ ไม่ได้หลบเลี่ยงไม่ไปฟังพิพากษา ทั้งนี้ยังมีความกังวลในการอ่านคำพิพากษาที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10 ก.ค.อีก 2 วัน ซึ่งตนประสงค์ขอศาลฎีกาคืนความเป็นธรรมให้ผู้เสียชีวิต 99 คน และตนในฐานะผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ก็ไม่มั่นใจว่าศาลฎีกาจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

นายธาริต ระบุ พร้อมติดคุก ยืนยันเป็นข้าราชการธรรมดา หากจะติดคุกเหมือนคดีโรงพักร้าง ก็จำเป็นต้องเคารพคำวินิจฉัย แต่ไม่อาจทำใจยอมรับใจ ซึ่งการชี้แจงวันนี้เป็นการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายให้สาธารณชนได้เข้าใจเหตุการชุมนุม โดยก่อนหน้านี้ตนไม่เคยเปิดเผยหรือให้ข้อมูลต่อศาลโดยอ้างว่าประเทศและสถานการณ์การเมืองไม่เป็นปกติมาตลอด 9 ปี

ทั้งนี้มองว่าการตาย 99 ศพปี 53 เป็นสาเหตุของการปฏิวัติปี 57 มีการดำเนินคดี 3 คดีกับแกนนำคดีก่อการร้าย โดยส่วนตัวเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ปกติ อัยการสูงสุดได้ฟ้องตามที่ดีเอสไอ ระบุว่ามีคนถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ออกคำสั่งศอฉ. แต่ทั้ง 3 ศาลกลับไม่ได้พิจารณาเนื้อหานี้ แต่ไปพิจารณาในประเด็นการปฏิบัติหน้าที่ให้ส่งกลับมาทำการไต่สวนที่ ป.ป.ช. ยอมรับว่าเป็นข้อกังวล หลังศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น อีกทั้งยังพบว่าประธานศาลฎีกา คนปัจจุบัน เคยร่วมชุมนุมกับ กปปส. จึงคาดการณ์ว่า คำวินิจฉัยนายสุเทพ อภิสิทธิ์น่าจะไม่มีความผิด และญาติผู้เสียชีวิตยุติการได้รับความช่วยเหลือ แม้จะเหลืออีก 2 วันก่อนศาลจะตัดสินคดี

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายธาริต กล่าวเพิ่มเติมว่านายทหารชั้นผู้ใหญ่และเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติได้เรียกรถเข้าไปพบได้ขอให้ตนอย่าส่งฟ้องคดี 99 ศพ ไม่เช่นนั้นจะทำการปฏิวัติ และพวกตนจะถูกย้าย ตนยืนยันว่าจะต้องทำ เพราะศาลสั่งว่า เหตุการณ์เสียชีวิตเกิดจากการทำหน้าที่ของทหาร และหลังปฏิวัติไม่ถึง 24 ชม. พบว่า ตนและนายอรรถพล ใหญ่สว่าง ที่ดำเนินคดี 99 ศพ ถูกย้ายทันที

ทั้งนี้ นายธาริต ยืนยันว่าพร้อมติดคุก คิดว่าไม่สูญเปล่า แต่เป็นจุดแตกหักในการเกิดความยุติธรรม และให้กำลังใจข้าราชการยุคใหม่อย่างย่อท้อในการแสวงหาความยุติธรรม ส่วนกรณีที่ตนเองกลับคำสารภาพโดยมีเงื่อนไขในคำร้อง ว่าขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อกฎหมายจะรับสารภาพ เพราะมั่นใจว่ามาตรา 157 และมาตรา 200 ในต่างประเทศไม่มีความชัดเจนแน่นอนเป็นหน้าตาที่มีลักษณะอย่างกระทบสิทธิ จนท.รัฐอย่างไม่เป็นธรรมเชื่อว่าเมื่อการเมืองที่เปลี่ยนตนจะได้รับความยุติธรรม พร้อมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระที่เป็น senior super boad แก้ไขข้อผิดพลาดคืนความยุติธรรมให้กับผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ

ส่วนการยื่นศาล รธน.นั้นจะเป็นการประวิงเวลาคดีหรือไม่ นายธาริต เห็นว่าสถานการณ์ในช่วงนี้ถือว่าดีที่สุดที่จะต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมและเพื่อเป็นการแสวงหาความยุติธรรมให้กับญาติและผู้บาดเจ็บ

 

 

นายธาริต ยอมรับว่ามีความคาดหวังเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรมในรัฐบาลชุดใหม่ เพราะมองว่าจะเกิดความสมานฉันท์ทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมสีเหลืองและสีแดงที่ผ่านมาขออย่ามองว่าใครจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน พร้อมกันนี้นายธาริตยืนยันว่าตนไม่ใช่คู่ขัดแย้งนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเป็นการส่วนตัวแต่เป็นการปกป้องสิทธิ์ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับการที่นายอภิสิทธิ์จะถูกเสนอชื่อกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด

นายธาริต กล่าวว่า ตนไม่รู้สึกเครียดในการที่จะไปรับฟังคำพิพากษาของศาลในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ได้เตรียมของใช้ส่วนตัวและยารักษาโรคเพราะเคยมีประสบการณ์ถูกจำคุกมาแล้ว

 

 

 

 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 63 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นโจทก์ ฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ในฐานะอดีตหัวหน้าชุดคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐจากเหตุรุนแรงทางการเมืองปี 53, พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ และ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ในฐานะพนักงานสอบสวน เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนกระทำการโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200

คำฟ้องระบุว่า กรณีเมื่อเดือน ก.ค.54 – 13 ธ.ค. 55 ดีเอสไอ ได้สรุปสำนวนดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ข้อหาก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าโดยเจตนาและเล็งเห็นผล จากการออกคำสั่ง ศอฉ. ใช้กำลังเจ้าหน้าที่กระชับพื้นที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 53 ที่ชุมนุมเพื่อขับไล่นายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่งนายกฯ ซึ่งโจทก์เห็นว่าการแจ้งข้อหาบิดเบือนจากข้อเท็จจริง โดย นปช.ก่อความไม่สงบ ก่อการร้าย โจทก์ได้มอบนโยบายชัดเจนว่าให้สลายการชุมนุมโดยหลีกเลี่ยงความสูญเสีย เพื่อระงับความเสียหายของบ้านเมือง โจทก์ไม่ต้องรับผิด เมื่อการชุมนุมยุติลง ดีเอสไอสอบสวนดำเนินคดีแกนนำและชายชุดดำข้อหาก่อการร้ายด้วย ต่อมานายธาริต จำเลยที่ 1 ยอมตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จำเลยทั้งสี่ร่วมกันแจ้งข้อหาสั่งฆ่าประชาชน กลั่นแกล้งโจทก์สนองความต้องการของรัฐบาล โดยดีเอสไอไม่มีอำนาจ เพราะโจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องเป็นการวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ก.ย.61 ยกฟ้องจำเลยทั้งสี่

ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือเเล้วเห็นว่า ก่อนหน้าที่จะมีความเห็นควรเเจ้งข้อหาโจทก์ที่ 1-2 ในความผิดฐานฆ่าเล็งเห็นผลจากเหตุการสลายการชุมนุมปี 53 จำเลยทั้ง 4 เคยมีความเห็นว่าการชุมนุม นปช.เป็นความผิดกฎหมายจึงเเจ้งข้อหาก่อการร้าย แสดงว่าจำเลยที่ 1-4 เห็นว่าโจทก์ที่ 1-2 กระทำไปตามหน้าที่ เเม้ภายหลังการไต่สวนการตายของ นายพัน คำกอง ศาลอาญาจะชี้ว่ากระสุนมาจากฝั่งทหาร เเต่ไม่ได้ระบุว่าการกระทำโจทก์ทั้ง 2 เป็นความผิด จากการพิจารณาพฤติการณ์ประกอบกัน ฟังได้ว่าการที่จำเลยทั้ง 4 มีความเห็นต่างจากเดิม เชื่อว่าเป็นการกลั่นเเกล้งโจทก์ทั้งสองเพื่อเอาใจรัฐบาลเพื่อมีผลในการต่ออายุตำเเหน่งอธิบดีดีเอสไอ การที่จำเลยทั้ง 4 สืบสวนสอบสวนโจทก์ทั้ง 2 พร้อมเเจ้งข้อหาฆ่าคนตายโดยเล็งเห็นผลทั้งที่เป็นอำนาจ ป.ป.ช.การกระทำจึงเป็นความผิดตามฟ้อง

“ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้ง 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เเละมาตรา 200 วรรค 2 การกระทำเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลักบทให้ลงโทษบทหนักสุดตามมาตรา 200 วรรค 2 จำคุกคนละ 3 ปี เเต่คำเบิกความเป็นประโยชน์ลดโทษ 1ใน 3 คงจำคุกจำเลยคนละ 2 ปี

ทั้งนี้ จำเลยทั้ง 4 อยู่ระหว่างการดำเนินการยื่นคำร้องและหลักทรัพย์ขอปล่อยตัวชั่วคราว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น