รู้จักสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ "ตุ๊กแกบิน" Gekko Mizoramensis เจ้าของรูปลักษณ์แปลกตา ผิวหนัง-เท้าเป็นพังผืด ใช้คุมทิศทางเหมือนร่มชูชีพ
ข่าวที่น่าสนใจ
นักวิจัยจาก Mizoram University และ Max Planck Institute for Biology Tubingen ค้นพบ “ตุ๊กแกบิน” สายพันธุ์ใหม่ในป่าทางตอนเหนือของอินเดีย ตีพิมพ์ในวารสาร Salamandra ฉบับล่าสุดของเยอรมนี เผยว่า ตุ๊กแกชนิดนี้
มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Gekko Mizoramensis หรือ Mizoram (มิโซรัม) ตามชื่อรัฐที่ค้นพบในอินเดีย จุดเด่นของสายพันธุ์นี้อยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอกที่มีผิวหนังและเท้าเป็นพังผืดร่วมกัน ทำให้สามารถควบคุมทิศทางระหว่างต้นไม้ได้
โดยพังผืดเหล่านั้นจะสามารถต้านอากาศจะดันให้กางปีกออกเหมือนร่มชูชีพ นอกจากจะใช้ในการเคลื่อนที่ในอากาศแล้ว ลวดลายยังสามารถพรางตัวจากผู้ล่าได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้ว ตุ๊กแกชนิดนี้ เคยถูกพบในเมียนมาร์มาแล้วตั้งแต่ 20 ปีก่อน แต่ตอนนั้นนักวิจัยจัดให้อยู่ในสปีชีส์ที่มีชื่อว่า Ptychozoon lionotum เมื่อศึกษาให้ละเอียดมากขึ้น จึงพบให้เข้าใจว่าที่ผ่านมาเข้าใจผิดมาตลอด
เพราะทั้ง 2 สายพันธุ์มีความแตกต่างทาง DNA มากถึง 21% ทำให้ Mizoram จัดเป็นสปีชีส์ใหม่นั่นเอง ส่วนลักษณะนิสัยของตุ๊กแกสายพันธุ์นี้ ก็เหมือนกับชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน
โดย Zeeshan Mirza นักศึกษาระดับ ป.เอก ผู้ร่วมศึกษาตุ๊กแก Mizoram เผยว่า ที่ผ่านมางานวิจัยส่วนใหญ่มักเน้นไปที่สัตว์จำพวกนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลาน
ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยพบสัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์ใหม่ ๆ รวมถึงงูพิษของซัลลาซาร์ (ตั้งชื่อตามตัวละครจากแฮร์รี่ พอตเตอร์) เชื่อว่าในอนาคตจะได้พบสัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์ใหม่ในแถบนี้มากขึ้น
ข้อมูล : hindustantimes
รูปภาพ : Lal Muansanga
Apple Back to School โปรปังรับเปิดเทอม ลดสูงสุด 30%
Banana IT : ลดไม่ต้องรอโปรราคานักศึกษา สินค้า Apple และอุปกรณ์เสริม ลดสูงสุด 5,000.- สินค้าใหม่ ราคาดี ไม่ติดสัญญา ใครๆ ก็ได้ราคานี้ : คลิกที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง