“อ.ชูชาติ” แจงข้อกม.ชื่อ “พิธา” โผล่สำนักพิมพ์ ลุ้นซ้ำรอย “ธนาธร” หรือไม่

"อ.ชูชาติ" แจงข้อกม.ชื่อ "พิธา" โผล่สำนักพิมพ์ ลุ้นซ้ำรอย "ธนาธร" หรือไม่

 

9 กรกฎาคม 2566 อ.ชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Chuchart Srisaeng” ระบุว่า นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า หลังจากที่ส่งหนังสือขอให้ กกต. ตรวจสอบหนังสือ 4 เล่ม ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธาสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) ประกอบมาตรา 98(3) หรือไม่ ไปแล้วนั้น

 

 

 

 

…..ปรากฏว่า มีหลายคนหลายฝ่ายแสดงความคิดเห็นผ่านทางโลกออนไลน์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งน่าจะมาจากความไม่มีความรู้ แต่อยากแสดงความเห็น จนอาจทำให้เนื้อหาในคำร้องถูกบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

…..ดังนั้น เพื่อให้คำร้องมีความชัดเจนขึ้น จึงได้ทำหนังสือขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อ กกต. ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1. พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้บางส่วนดังนี้
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“หนังสือพิมพ์” หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงนิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ที่เรียกชื่ออย่างอื่นทํานองเดียวกัน
“ผู้พิมพ์” หมายความว่า บุคคลซึ่งจัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์
“เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์”

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อ 2. พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ศาลรัฐธรรมนูญเคยนำมาใช้วินิจฉัยลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ด้วย เช่น คำวินิจฉัยที่ 14/2562 เป็นต้น

ข้อ 3. หนังสือทั้ง 4 เล่ม ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จึงอยู่ในความหมายของคำว่า “หนังสือพิมพ์” ซึ่งหมายความรวมถึงนิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ที่เรียกชื่ออย่างอื่นทํานองเดียวกัน

 

ข้อ 4. ดังนั้น การที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นผู้เขียนด้วยตัวเองหรือร่วมกับผู้เขียนอื่น รวมทั้งเป็นสำนักพิมพ์ด้วยนั้น ย่อมจะทำให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เข้าข่ายเป็น “เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์” ตามความในพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4

 

 

 

ข้อ 5. ทั้งนี้ ได้แนบสำเนาเอกสารการสืบค้นข้อมูลจากหอสมุดแห่งชาติ เกี่ยวกับหนังสือของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มาประกอบการตรวจสอบเพิ่มเติม ด้วยแล้ว

 

กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยสั่งให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ อันเนื่องมาจากเหตุที่นายธนาธร รุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคให้พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงิน 191,200,000 บาท สาธารณชนทราบเพราะนายธนาธรไปพูดที่สโมสรผู้ข่าวต่างประเทศ หลังจากนั้นสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อ กกต. และ กกต.ไต่สวนแล้วยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ พรรคอนาคตใหม่จึงถูกยุบเพราะการเปิดเผยของนายธนาธรเอง

 

 

 

กรณีของนายพิธาที่นายเรืองไกรไปร้องต่อ กกต. ในเรื่องนี้ถ้าหากกกต. ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธาสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) เพราะเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 98 (3) คือเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

นายพิธาและผู้สนับสนุนนายพิธาก็ยอมรับว่า เหตุเกิดเพราะนายพิธาเปิดเผยชื่อหนังสือที่ตนเขียนและพิมพ์ที่โรงพิมพ์ของตนเองไปในบัญชีรายการทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง ๆ ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งรายละเอียดดังกล่าวเลย

ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ ?

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น