ไม่นานเกินรอ “คีรี กาญจนพาสน์” เล็งเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร “สายสีชมพู” ต้นปี 67

ไม่นานเกินรอ "คีรี กาญจนพาสน์" เล็งเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร "สายสีชมพู" ต้นปี 67

10 กรกฎาคม 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความพร้อม โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ก่อนเปิดทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) โดยมีกลุ่มตัวแทนจากภาครัฐ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่นำโดยพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม ร่วมตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นำโดย นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้รับสัมปทานนำโดย นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) พร้อมด้วยคณะกรรมการ และฝ่ายบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมให้การต้อนรับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ในฐานะผู้รับสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เปิดเผยว่า การทดสอบระบบการเดินรถ และตรวจเยี่ยมสถานีในวันนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น โดยเป้าหมาย ณ ขณะนี้คือ การเปิดทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ช่วงปลายปี 2566 และคาดว่าน่าจะเปิดให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบช่วงต้นปี 2567 ซึ่งภาพรวมความคืบหน้าการก่อสร้างทั้งหมดของโครงการอยู่ที่ 97.15% แบ่งเป็น ความคืบหน้างานโยธา 96.97% และงานระบบรถไฟฟ้า 97.34%

 

 

 

 

 

 

 

 

“รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายที่สอง ที่จะเปิดให้เปิดบริการในประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เพราะเป็นโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (M-MAP) มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง ระหว่างเขตมีนบุรี และจังหวัดนนทบุรี มีระยะทางให้บริการ 34.5 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 30 สถานี และเพื่อให้เส้นทางมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในช่วงก่อนหน้านี้ทาง NBM ได้มีการขยายเส้นทางเพิ่มขึ้นอีก 2 สถานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร ได้แก่ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (ชาเลนเจอร์อาคาร 1) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ที่อยู่อาศัย และทำงานอยู่ในเมืองทองธานีกว่า 300,000 คน รวมถึงผู้ที่เดินทางเข้ามาร่วมงานแสดงสินค้า และการประชุมที่มีกว่า 10 ล้านคนต่อปี ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2568”

 

 

 

 

 

นอกจากนี้รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ยังเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางที่สำคัญอีกหลายเส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01), รถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่สถานีหลักสี่ (PK14), รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (PK16) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี ที่สถานีมีนบุรี (PK30)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น