ภาวะเครียดจัด “ซึมเศร้า” บอกได้จากกลิ่นเหงื่อ แม่นยำถึง 90%

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

ล้ำหน้านักวิจัยจุฬาฯ พบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อบ่งชี้ภาวะเครียดจัด-"ซึมเศร้า" คัดกรองสุขภาพจิตสำเร็จครั้งแรก ผลลัพธ์แม่นยำถึง 90%

ล้ำหน้าไปอีกขั้น ทีมนักวิจัยคณะแพทยฯ จุฬาฯ พบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อบ่งชี้ภาวะเครียดจัดและ “ซึมเศร้า” ภาวะ โรค ซึม เศร้า ปัญหา สุขภาพ จิต นำร่องศึกษานักผจญเพลิงสำเร็จครั้งแรก ผลทดสอบแม่นยำถึง 90% เดินหน้าตรวจคัดกรองสุขภาพจิตในกลุ่มอาชีพเครียดจัดและเสี่ยงสูงอื่น ๆ หวังลดปัญหาสุขภาพจิตและความรุนแรงในสังคม ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ความสำคัญของการพบสารเคมีความเครียดจากกลิ่นเหงื่อ

  • ที่ผ่านมา เราได้ยินข่าวผู้ก่อเหตุความรุนแรงคลั่งกราดยิงผู้คน โดยไม่มีเหตุความขัดแย้งรุนแรงมาก่อน หลายรายเป็นบุคคลที่มีอาชีพที่ต้องดูแลความปลอดภัยให้กับคนในสังคม
  • ในรายงานข่าวยังเผยด้วยว่ามูลเหตุของการก่อเหตุความรุนแรงมาจากภาวะความเครียดจากการทำงานและปัญหาสุขภาพจิตที่สะสมมายาวนาน
  • สอดคล้องกับสถิติล่าสุดจากกรมสุขภาพจิต ที่ระบุว่า คนไทยราว 1.5 ล้านคนมีปัญหาสุขภาพจิตและแนวโน้มดูจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

โดย 49.36% หรือครึ่งหนึ่งในจำนวนดังกล่าวมีภาวะเครียดและ “ซึมเศร้า” อันเกิดมาจากการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • กลุ่มผู้มีอาชีพเสี่ยงสูง
  • ต้องรับผิดชอบความปลอดภัยของสาธารณะ
  • หรือต้องตัดสินใจภายใต้แรงกดดันและความเร่งด่วน เช่น ตำรวจ ทหาร นักผจญเพลิง ฯลฯ

 

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

ปกติผู้ที่มีอาชีพที่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของสาธารณะจะได้รับการตรวจสุขภาพกายและจิตประจำปีอยู่แล้ว แต่การตรวจสุขภาพจิตปีละครั้งนั้นไม่น่าจะเพียงพอ เพราะ บางรายอาจมีอาการเครียดหรือซึม เศร้าระหว่างปี และการที่ทุกคนจะเข้าถึงและพบจิตแพทย์ก็ยาก เนื่องจาก ข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรด้านจิตเวชในประเทศไทย

นอกจากนี้ แนวทางการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยด้วยการสัมภาษณ์ยังขึ้นกับดุลยพินิจของจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ทำให้ผลการวินิจฉัยอาจแตกต่างกันและไม่อาจสรุปได้อย่างแม่นยำ แพทย์หญิงภัทราวลัย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพจิตในกลุ่มผู้มีอาชีพเสี่ยงสูง

 

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

เราจึงพยายามหาวิธีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพง เพื่อใช้ในการคัดกรองสภาวะทางจิตก่อนพบจิตแพทย์ ซึ่งเราพบว่าวิธีการตรวจหาสารเคมีจากกลิ่นเหงื่อเป็นวิธีที่น่าสนใจศึกษา เพราะเป็นวิธีที่ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดให้เจ็บตัว และสามารถวัดผลจากสิ่งที่จับต้องได้จริง ๆ มีความคลาดเคลื่อนน้อย”

นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ และภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ในการวิจัยหาสารเคมีความเครียดจากกลิ่นเหงื่อในกลุ่มอาชีพนักผจญเพลิงทั่วกรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากแพทยสภาและได้รับการสนับสนุนเครื่องมือจากบริษัทซายน์ สเปค จำกัด โดยมี ดร.ณัฐนี ตั้งกิจอนันต์สิน เป็นผู้ทำการทดลองวิเคราะห์สารเคมีในเหงื่อ

 

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

กลิ่นเหงื่อเผยภาวะเครียด- “ซึมเศร้า”

  • ผศ.ดร.ชฎิล กล่าวว่าโครงการวิจัยนี้เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบกลุ่มสารเคมีความเครียด (แบบระเหยง่าย) ในเหงื่อของคนกลุ่มใหญ่ที่ประกอบอาชีพเดียวกัน
  • และเป็นความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากการทำงานและในชีวิตประจำวันจริง ๆ ไม่ได้เป็นความเครียดที่เกิดจากการควบคุมหรือจำลองสถานการณ์ขึ้นเหมือนการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา

โดยหลักการ ผู้ที่เป็นโรคเดียวกันมักจะมีสารเคมีหรือกลุ่มสารเคมีที่เหมือนกันกันอยู่ คล้ายกันกับกรณีนี้ หากตรวจพบว่าใครที่มีสารเคมีกลุ่มนี้ในปริมาณที่เกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งหมดก็น่าจะสามารถระบุได้ว่าคน ๆ นั้นมีความเครียดสูงหรืออาจเป็นซึมเศร้าได้ โดยความแม่นยำในการระบุผลจากกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 90%

วิธีการตรวจคัดกรองภาวะเครียดจัดและซึม เศร้าจากเหงื่อเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว สามารถตรวจได้ครั้งละหลาย ๆ คน และใช้เวลาไม่นาน

  • ผศ.ดร.ชฎิล อธิบายขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเหงื่อว่า เราใช้ก้านสำลีที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว 2 ก้าน เหน็บใต้รักแร้ซ้าย-ขวา ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วนำก้านสำลีที่มีเหงื่อไปใส่ในขวดปลอดเชื้อที่มีฝาปิด
  • จากนั้น ส่งตัวอย่างมาห้องแล็บเพื่อตรวจด้วยเครื่องวิเคราะห์กลิ่นสารเคมี โดยฉีดอากาศในขวดเข้าไปในเครื่อง แล้วรอเครื่องวิเคราะห์ผลประมาณ 10-20 นาที ซึ่งผลจะแสดงออกมาในลักษณะบาร์โค้ดของสารเคมีในแต่ละตัวอย่าง

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

ตรวจจับความเครียดก่อนเกิดปัญหา เข้ากระบวนการบำบัดทันท่วงที

  • โครงการศึกษาวิจัยกลุ่มนักผจญเพลิง 1,084 คนในกรุงเทพมหานครระหว่างกุมภาพันธ์ 2565 – ธันวาคม 2565 ผลการตรวจพบแนวโน้มสุขภาพจิต ว่ามีปัญหาความเครียด และการนอนหลับจำนวนมาก

พญ.ภัทราวลัย กล่าวว่า กลุ่มนักผจญเพลิงที่อยู่ในเกณฑ์มีความเสี่ยงปานกลาง-รุนแรงจะเข้าสู่กระบวนการยืนยันผลโดยอาจารย์จิตแพทย์อีกครั้ง โดยในโครงการวิจัยนี้ได้รับเกียรติจาก Professor Dr. Michael Maes, MD, Ph.D. และ อ.ดร.นายแพทย์ ชาวิท ตันวีระชัยสกุล จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นที่ปรึกษาโครงการเพื่อตรวจวินิจฉัยยืนยันผลการศึกษารอบสุดท้าย

ผู้เข้าร่วมโครงการจะทราบผลตรวจของตัวเอง ซึ่งในรายที่มีความเครียดสูง ก็สามารถพบจิตแพทย์ของ รพ.จุฬาฯ ได้เลย โดยผลตรวจและข้อมูลการพบแพทย์ทุกอย่างจะถูกเก็บเป็นความลับ ทีมวิจัยจะไม่เปิดเผยข้อมูลหรือแจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อพิทักษ์จิตใจของคนที่ตรวจว่าอาจจะกระทบกับงาน นอกจากนี้ ทางทีมวิจัยจะได้สะท้อนผลโดยภาพรวมให้ผู้บริหารของหน่วยงานนั้น ๆ ทราบด้วยว่าพนักงานในหน่วยงานมีความเครียดจัดกี่ % เพื่อที่ว่าหน่วยงานจะได้ออกนโยบายหรือหาวิธีดำเนินการเพื่อลดความเครียดของพนักงานด้วย  

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

พร้อมต่อยอดคัดกรองสุขภาพจิตกลุ่มอาชีพเครียดจัด

  • นักผจญเพลิงที่เข้าร่วมวิจัยในโครงการนี้กล่าวพ้องกันว่าโครงการนี้ดีและเป็นประโยชน์ ทำให้พวกเขาเข้าถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตและทราบสภาวะจิตใจของตัวเอง
  • บางคนให้ความเห็นว่าการตรวจสุขภาพจิตแบบที่พวกเขาเคยทำเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาที่ดูรูปภาพและเขียนตอบตามความเข้าใจ ซึ่งเมื่อพวกเขาทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ก็จำได้ว่าควรต้องตอบอะไร หรือบางทีพวกเขาก็เข้าไปดูเฉลยในอินเทอร์เน็ต

แบบนี้ ผลทดสอบก็จะคลาดเคลื่อน ไม่สะท้อนความจริง ในขณะที่การวัดด้วยสารเคมีได้ผลเที่ยงตรงและแม่นยำกว่า

  • ถึงแม้การตรวจเหงื่อจะมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า แต่ พญ.ภัทราวลัย ก็ย้ำว่าการตรวจวินิจฉัยสุขภาพจิตโดยบุคคลากรทางการแพทย์ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น

 

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

จากความสำเร็จในการวิจัยกับกลุ่มนักผจญเพลิง ทีมวิจัยมีแผนที่จะขยายการตรวจคัดกรองกับกลุ่มพยาบาลทั่วประเทศ เบื้องต้นได้มีการเริ่มเก็บตัวอย่างเหงื่อจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยแล้ว โดยงานวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

ต่อไปเราจะขยายการตรวจคัดกรองความเครียดไปในกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่ต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูง มีความเสี่ยงต่อปัญหาภาวะสุขภาพจิต เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตให้รวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีภาวะเครียดจัดหรืออาจมีอาการซึม เศร้า ได้รับการดูแลบำบัดทันท่วงที ผศ.ดร. ชฎิล กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูล : chula


Apple Back to School โปรปังรับเปิดเทอม ลดสูงสุด 30%

Banana IT : ลดไม่ต้องรอโปรราคานักศึกษา สินค้า Apple และอุปกรณ์เสริม ลดสูงสุด 5,000.- สินค้าใหม่ ราคาดี ไม่ติดสัญญา ใครๆ ก็ได้ราคานี้ : คลิกที่นี่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น