“ดร.สุวินัย” ขุดข่าวจับโป๊ะ รองผู้ว่าฯกทม.ยุคชัชชาติ พูดเองกทม.สั่งปรับแบบ เร่งก่อสร้างทางยกระดับลาดกระบังก่อนยุบถล่ม

"ดร.สุวินัย" ขุดข่าวจับโป๊ะ รองผู้ว่าฯกทม.ยุคชัชชาติ พูดเองกทม.สั่งปรับแบบ เร่งก่อสร้างทางยกระดับลาดกระบังก่อนยุบถล่ม

วันที่ 11 ก.ค. 66 รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว “Suvinai Pornavalai” ระบุว่า สาเหตุสะพานถล่ม น่าจะมาจากการแก้รูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับของทีมผู้ว่ากทม. ที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงทางเทคนิค

จากงานวิจัยตัวนี้ (ที่มา) ผู้วิจัยใช้สะพานที่มีช่วง 31 เมตร ใช้ระบบดึงเส้นเอ็นร่วมกับระบบปรับความตึงภายหลัง ผลการวิเคราะห์พบว่าวัสดุอัดแรงชนิด Girder box นั้นคงค่าโมเมนต์ไว้ได้มากที่สุดเนื่องจากน้ำหนักของตัวมันเอง น้ำหนักบรรทุกเพิ่ม โหลดเลน และแรงลมรวมกัน 44,029 กิโลนิวตันเมตร

ในขณะที่ ช่วงเวลาที่ใหญ่ที่สุดของ Precast คือ 7,556.75 KNm บีมบ็อกซ์ของ Girder มีโมเมนต์และแรงเฉือนที่มากกว่า Precast

นี่คือผลกระทบจากน้ำหนักของ Girder box ของมันเองที่ใหญ่กว่า Precast
การสูญเสียรูปแบบอัดแรงของ Girder box และประเภท Precast เท่ากับ 24.85% และ 26.32% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังพบว่า Girder box ประเภทดังกล่าวมีราคาถูกกว่า ง่ายกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า Precast

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ ดร.สุวินัย โพสต์ภาพที่ระบุว่า นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นกระทู้ถาม ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุม สามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เข้าประชุมด้วย ถึงความคืบหน้าของสะพานดังกล่าว เมื่อ 18 มกราคม โดยระบุว่า การก่อสร้างสะพาน ยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง มีระยะทางเพียง 3.3 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 1,664,550,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งเจ้าหน้าที่เขต และผู้อำนวยการเขต ต่างก็ไม่ทราบข้อมูล หรือเป็นที่ปรึกษาใน โครงการนี้

โดย นายสุรจิตต์ ได้สอบถามทางกทม. ว่าจะดำเนิน การเร่งรัดให้เร็วขึ้นอย่างไร โดยนายวิศณุ ทรัพย์ สมพล รองผู้ว่าฯกทม. ได้ระบุว่า ทางกทม. ได้มีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับ จาก แบบเดิมที่เป็นการก่อสร้าง girder box segment ซึ่งติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในที่ ให้เป็น precast box segment โดยหล่อจากโรงงาน และ ขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และจะแจ้งให้ ผู้รับจ้างเพิ่มแรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรเพื่อเร่งรัด งานก่อสร้างให้เร็วขึ้น และลดผลกระทบในระหว่าง การก่อสร้าง

 

ร.สุวินัย ระบุอีกว่า สรุปจบใน 1 แผ่น…”#สะพานถล่ม” มีสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 2 ครั้งในสมัยใคร เป้าหมาย เร่งก่อสร้างให้รวดเร็วขึ้น เพื่อลดปัญหาการจราจรบบนถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง

คิดแบบมักง่ายสุดๆ เพราะอยากเอาใจชาวบ้านจนฝืนสร้างทางเทคนิค ดูในคลิปสะพานถล่มก็เห็นชัดว่าแท่งคอนกรีตที่เอามาวางมันยาวไป

กรณีสะพานถล่ม คล้ายกับกรณีน้ำท่วม ปี 54 มันเกิดจากความมักง่าย คิดตื้นๆของผู้บริหารที่อยากเอาใจชาวบ้านโดยละเลยปัญหาเชิงเทคนิคและมาตรฐานความปลอดภัย

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคน กระกระกรวงแรงงาน "มารศรี" เลขาธิการ สปส. ลงพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือกระทรวงแรงงาน จตุจักร กำชับเจ้าหน้าที่ สปส. ชี้แจงสิทธิประโยชน์ พร้อมเยียวยาลูกจ้างเต็มที่
จนท.กู้ภัย นำกระดูก-เส้นผม จากซาก "ตึกสตง." ถล่ม ส่งนิติเวชตรวจสอบ เทียบดีเอ็นเอครอบครัว รอยืนยันตัวตน
ผู้ว่าการ MEA ย้ำความพร้อมระบบไฟฟ้า รับมือแผ่นดินไหว – สนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยเต็มกำลัง
โลกระส่ำ "แผ่นดินไหว" เขย่าหลายชาติ "ไทย" ผวาทั้ง "เหนือ-ใต้"
สหรัฐฯส่งผู้บริสุทธิไปเข้าคุกเอลซัลวาดอร์
สหรัฐฯเสริมฝูงบิน-เรือบรรทุกเครื่องบินในตอ.กลาง
เปิดหมดความจริง ลูกชาย "อ.รังสรรค์" สยบลือ ขาย "ตึกสาทร ยูนีค" 4,000 ล้าน
สื่อนอกตีข่าว สุนัขกู้ภัยไทย ที่พึ่งทางใจญาติผู้ประสบภัย
ก.อุตฯ ลุยตรวจโรงงานผลิตเหล็กไม่ได้มาตรฐาน ใช้ก่อสร้างอาคาร สตง.ถล่ม ด้านตัวแทนบริษัท ยันความบริสุทธิ์ไม่ได้ผลิตเหล็กไร้คุณภาพ
สหรัฐฯเล็งร่างแผนใหม่กดดันรัสเซีย-ยูเครน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น