ตลก.ศาลปกครอง แถลงยกฟ้องรฟม.ออกทีโออาร์กีดกัน BTS ประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม

ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษา 25 ก.ค.นี้ คดีบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ ม. 36 และรฟม. ปมแก้ทีโออาร์ กีดกันการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หลังพิจารณาคดีนัดแรก ตุลาการผู้แถลงคดี มีความเห็นศาลฯควรยกฟ้อง

 

วันนี้ (11 ก.ค.66) ศาลปกครองกลาง นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีที่ผู้ฟ้องคดีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) /กรณีการออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 (ครั้งที่ 2) /และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ชอบด้วยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อันมีลักษณะเป็นการกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นธรรม จึงนำคดีมาฟ้อง โดยตุลาการผู้แถลงคดีได้ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

 

 

 

ตุลาการผู้แถลงคดี ได้แถลงสรุปโดยมีความเห็นว่า การออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ใช่การกระทำที่ละเมิดจึงไม่ต้องชดเชยค่าเสียหาย พร้อมมีความเห็นว่า ศาลควรพิพากษายกฟ้อง

 

โดยให้เหตุผลว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีอำนาจยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

ข่าวที่น่าสนใจ

 

สำหรับกรณีที่รฟม. ออกประกาศเชิญชวนร่วมลงทุนฯ รฟม.ไม่ได้มีการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายตามที่ บีทีเอสซี ยื่นฟ้องหรือไม่ ตุลาการผู้เแถลงคดีได้ให้ความคิดเห็นว่า หลัง รฟม. ได้ออกประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 พร้อมคืนซองเอกสารให้เอกชนทุกราย ก่อนที่ต่อมาทางด้านของคณะกรรมการ ม.36 และ รฟม. เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ในการจัดทำเอกสารร่างประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนอีก ซึ่งปรากฏหลักฐานตามเอกสารลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 และ 9 มีนาคม 2565 ตามขั้นตอน ซึ่งมีบริษัทเอกชนได้เข้าร่วม 28 ราย เป็นบริษัททั้งในและต่างประเทศ และทางด้านของบีทีเอส ก็ได้เข้าร่วมและไม่ได้มีข้อโต้แย้งใด ทางด้าน รฟม. จึงได้จัดทำสรุปความคิดเห็นนำไปพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนเสนอต่อ คณะกรรมการม.36 ได้พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ และได้เห็นชอบจึงมีการประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนในวันที่ 24 พฤษภาคม 2564

ขณะเดียวกัน การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติให้ดำเนินการตามนโยบายของ คณะกรรมการม.36 ซึ่งการอนุมัติของครม. เป็นการอนุมัติหลักการเท่านั้น ส่วนร่างประกาศเชิญชวนต่างๆ เป็นรายละเอียด ที่ คณะกรรมการ ม.36 และรฟม. ต้องดำเนินการตามหน้าที่ระเบียบ หลักเกณฑ์

 

 

อีกทั้งทางด้านเลขาครม. ได้มีการตอบกลับไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า การดำเนินการเมื่อมีการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ จึงไม่ต้องเสนอครม. เพื่อพิจารณาตามที่บีทีเอส ได้กล่าวอ้าง และก่อนที่จะประกาศเชิญชวนรฟม. ทำถูกต้องตามรูปแบบที่เป็นสาระสำคัญถูกต้องตามกฎหมาย ข้ออ้างนี้จึงไม่อาจฟังได้

 

ส่วนกรณีที่มีการวินิจฉัยการกำหนดหลักเกณฑ์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นไปด้วยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตุลาการผู้แถลงคดี มีความเห็นว่า เลขาครม. ได้แจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามที่ขออนุมัติมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการดังกล่าวตามข้อเสนอ

 

 

ทั้งนี้ในการดำเนินการทุกขั้นตอนให้กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัดโดยกระทรวงคมนาคมทำหนังสือหารือในการดำเนินการตามมติครม. ถือเป็นการอนุมัติหลักเกณฑ์ตามการดำเนินการเท่านั้น ส่วนรายละเอียดให้หน่วยงานไปพิจารณาซึ่งมติครม. มีผลผูกพันเฉพาะหลักการยกเว้นจะมีมติเฉพาะระบุไว้

 

จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นพิจารณาเห็นได้ว่า ประกาศเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ได้ถูกยกเลิกตามที่คณะกรรมการ ม.36 ดังนั้น หลักการของประกาศไม่ว่าจะเป็นในเรื่องข้อเสนอทางเทคนิค ข้อเสนอซองที่ 2 ( เรื่องโยธา) ประกาศไม่ว่าจะข้อเสนอเทคนิคตามที่บีทีเอสอ้าง ต้องถูกยกเลิกตามคณะกรรมการม.36 และเราพร้อมหากทั้งสองจะประกาศยกเลิก ทั้งสองจะต้องทำให้เป็นไปตามระเบียบมติครม. อย่างเคร่งครัดและไม่ต้องเสนอครม. ดังนั้น ในการออกประกาศเชิญชวนจึงไม่ผูกพันกับประกาศเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ไม่ว่าจะด้านใดก็ตาม

 

ส่วนกรณีกีดกันการเข้าร่วม โดยเฉพาะด้านเทคนิค ในข้อเสนอที่สอง จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของบีทีเอสเอง ดังที่กล่าวอ้าง รฟม. ได้ออกหลักเกณฑ์รายละเอียดให้แตกต่างจากครั้งแรกทำให้บีทีเอสและพันธมิตรไม่มีคุณสมบัติตามประกาศ และเป็นข้ออ้างไม่ใช่เหตุให้ศาลวินิจฉัยอีก

 

ทั้งนี้ตุลาการองค์คณะ จะกลับไปประชุมเพื่อทำผลคำพิพากษาและนัดอ่านผลคำพิพากษาของคดีอีกครั้ง ในวันที่ 25 ก.ค. 2565 ในเวลา 13.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 11

 

ขณะที่ทางด้านทนายความ ของบีทีเอสซี ไม่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน โดยระบุสั้นๆ ว่า ว่า จะนำข้อมูลที่ได้วันนี้ (11 ก.ค.66) กลับไปประชุมหารือร่วมกันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ก่อนที่ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาคดีฯ วันที่ 25 ก.ค.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น