โครงการชลประทานอุบลฯ เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ แก้ปัญหาน้ำท่วม เพิ่มแลนด์มาร์คใหม่เมืองดอกบัว

โครางการชลประทานอุบลราชธานี เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เพิ่มความจุกักเก็บน้ำ ป้องกันน้ำท่วม พร้อมเป็นแลนด์มาร์คใหม่เมืองดอกบัว

อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านนาดี หมู่ที่ 2 ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีขนาดความจุ 7.675 ล้าน ลบ.ม.ก่อสร้างเสร็จในปี 2497  ซึ่งในปัจจุบันนับว่ามีอายุการใช้งานมายาวนานแล้ว  จนทำให้มีตะกอนตกจมเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี 2562 ได้รับผลกระทบจากพายุโพดุล จนทำให้มีปริมาณน้ำกว่า 23 ล้าน ลบ.ม. ไหลเข้าอ่างฯ จนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ และเกิดวัชพืชหนาแน่นในบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธุ์ 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้รับทราบปัญหา จึงได้สั่งการให้กรมชลประทาน ดำเนินการแก้ไขปัญหา  โดยการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ให้สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ปี 2564 นี้ และยังได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมราษฏร ณ อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ด้วย


ซึ่งหลังจากนั้นโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน  ก็ได้เร่งดำเนินการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  โดยในปี 2562-2563 ได้ดำเนินการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ในปริมาณ 1.25 ล้านลูกบาศก์เมตร งานท่อรับน้ำจำนวน 20 แห่ง ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น พร้อมเสริมสันบานแบบฝายพับได้ โดยสามารถยกระดับเก็บกักขึ้นได้ 0.50 เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำ 3.38 ล้านลูกบาศก์เมตร  และเสริมสันทำนบดิน สูงขึ้นอีก 0.50 เมตร ยาว 640 เมตร และต่อมาใน ปี 2564 ก็ได้ทำการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ต่ออีกในปริมาณ 10.25 ล้านลูกบาศก์เมตร งานท่อ 40 แห่ง งานอาคารท่อระบายน้ำ 3 แห่ง และงานก่อสร้างถนนยางพาราแอสฟัลท์ติกรอบอ่างเก็บน้ำ ขนาดกว้าง 12.00 เมตร ยาว 1,000 เมตร  ซึ่งก็จะเร่งดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จในปี 2565 โดยทำถนนยางพาราแอสฟัลท์ติกรอบอ่างเก็บน้ำ ขนาดกว้าง 12.00 เมตร ยาว 14,000 เมตร และระบบจ่ายๆไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์)  พร้อมงานปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์คใหม่เมืองอุบลราชธานีต่อไป  ซึ่งที่ตั้งโครงการนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯเพียง 17 ก.ม.เท่านั้น  โดยในโครงการจะขุดนำเอาดินในโครงการฯขึ้นมาถมให้เป็นรูปดอกบัวและใบบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี  ทำให้ไม่ต้องนำดินส่วนหนึ่งไปทิ้งที่อื่นให้เกิดปัญหาอีกด้วย  โดยดินที่ถมให้เป็นรูปดอกบัวและใบบัวก็จะเป็นการเพิ่มพื้นที่ในโครงการขึ้นมาอีกหลายร้อยไร่  ซึ่งมากพอที่จะทำเป็นสถานที่พักผ่อนในรูปแบบต่างๆ  ให้ผู้ที่อยู่ติดกับพื้นที่รอบอ่าง และผู้ที่ต้องการมาพักผ่อน  ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งผู้ที่อยู่ติดกับพื้นที่รอบอ่าง ยังจะได้ใช้น้ำที่จะจ่ายไปตามคลองชลประทาน  เพื่อนำไปใช้ทางการเกษตรอีกด้วย  ซึ่งรอบๆอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ มีพื้นที่ติดกับ 3 ตำบลคือ 1. ตำบลหัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 2. ตำบลขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุบลราชธานี  และ 3. ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี  ซึ่งมีจำนวน 8 หมู่บ้าน ซึ่งก็จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ด้วย  โดยการบริหารจัดการของโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน

ซึ่งจากการลงดูพื้นที่โครงการในครั้งนี้  นายกันตสิษฐ์ ธนพนพิพัฒน์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 8 โครงการชลประทานอุบลราชธานี ก็ได้นำทีมข่าวเข้าชมการดำเนินงานของโครงการและแนะนำสถานที่ พร้อมทั้งอธิบายถึงการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวนี้เป็นอย่างดี  ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินงานได้มีความคืบหน้าไปเป็นอย่างมาก  แม้จะมีอุปสรรคในเรื่องฝนตกก็ตาม

โดยต่อมา นายสัมพันธ์ เดือนศิริรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน  พร้อมคณะ ก็ได้เดินทางมายังจุดที่ตั้งโครงการ  โดยได้เดินตรวจดูการดำเนินงานในจุดต่างๆ  ก่อนจะฟังการสรุปผลการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ  จากนั้นก็ได้กล่าวให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว ว่า  หากโครงการนี้แล้วเสร็จ สำหรับในอนาคตก็จะทำประชาพิจารณ์ว่า  ตรงไหนอยากได้อีก หรือมีความต้องการอีก เราก็จะเพิ่ม ซึ่งคาดว่าจะมีอีกถึง 10 แห่ง จากเดิมมี 4 แล้วพื้นที่ชลประทานด้างล่างที่ส่งน้ำโดยคลองส่งน้ำ  เราก็มีแนวโน้มว่าจะขยายพื้นที่เข้าไปอีก  เนื่องจากว่าเรามีปริมาณน้ำมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพราะฉะนั้นพื้นที่ชลประทานจะต้องได้มากขึ้น ซึ่งราษฎรทั้ง 3 ตำบลก็จะได้ประโยชน์จากเดิม 4 พันกว่าไร่  ก็จะเพิ่มพื้นที่อีก 8,000 ไร่ รวมเป็น 12,000 ไร่  และนอกจากนี้ถ้าปริมาณน้ำยังเหลืออยู่  ก็สามารถขยายพื้นที่ได้อีกเป็นหมื่นไร่เหมือนกัน  ซึ่งตอนนี้เรากำลังดูว่าทำประชาพิจารณ์แล้วตรงไหนที่มีความต้องการ  ตรงไหนที่เราจะช่วยเหลือได้นะครับ

และสุดท้ายที่อยากฝากก็คือ โครงการนี้เป็นสมบัติของพี่น้องชาวอุบลฯ  เมื่อเราได้ดำเนินการมาแล้ว ก็ขอให้ท่านรักและหวงแหน แล้วใช้น้ำกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

ซึ่งจากโครงการดังกล่าวนี้  ของโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน หากแล้วเสร็จ  ก็จะทำให้สามารถเก็บกักน้ำ จากเดิม 7.675 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 15.33 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมเป็นความจุทั้งสิ้น 23.00 ล้านลูกบาศก์เมตร  สามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัย ช่วยเหลือพื้นที่ได้กว่า 9,000 ไร่  สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีก จากเดิม 4,300 ไร่ เพิ่มขึ้น 8,000 ไร่ รวามเป็น 12,300 ไร่  และยังสามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ขึ้นอีก จากเดิม 3,500 ไร่ เพิ่มขึ้น 15,000 ไร่ รวมเป็น 18,500 ไร่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้กับพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง  และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชองชุมชนอีกด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้ประชาชนได้ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังจะได้สถานที่พักผ่อนขนาดใหญ่  พร้อมเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองอุบลฯอีกด้วย.

ภาพ/ข่าว ทีมข่าวเฉพาะกิจ ศูนย์ข่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ TOP NEWS

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น