ในใจผมคือ ขอได้มั้ย อย่าไปยุ่ง คนทั้งชาติเขาเคารพ และขอคุณอย่าไปยุ่งได้มั้ย ขออย่าไปทำอะไรที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมอาจจะมีวิธีที่ไม่ถามเหมือนคุณชาดา ถ้าขอได้นะ ไม่ต้องยุ่งกับมาตรา 112 คุณพิธาได้เป็นนายกฯ การที่คุณพิธาลุกขึ้นตอบ ที่บอกว่าต้องรักษาคำพูด ชักจะเป็นนักการเมืองแล้วนะครับ ตอบไม่ตรงคำถาม ผมในฐานะสื่อ ขอถามคุณว่า คุณสัญญากับใคร ปิยบุตร พรรณิการ์ หรือคนที่มาชุมนุมสนับสนุนคนไหน ก็คือขอไม่ได้ ไม่ให้ ต้องแก้ 112 ถึงขนาดไม่พูดตรง ๆ จริง ๆ พูดมาตรง ๆ เลย ส.ว.จะได้ชัดเจน ตัดสินใจได้ ที่งดออกเสียงก็คือเขาไม่เห็นชอบ ในเมื่อขอไม่ได้ ก็ไม่ต้องเป็นนายกฯ คนที่สนับสนุนพรรคก้าวไกล ต้องเข้าใจ นี่เป็นกลไลตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีวันที่ใครจะโหวตให้ ที่ประกาศจะเปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์ จะเปลี่ยนแบบไหน คุณไม่ตอบคำถาม ถ้าผมยังหนุ่มอยู่ ผมจะนัดสัมภาษณ์ คุณตอบมาก็จบ เราจะได้โหวตให้จบ ๆ ถ้าประชาชนเห็นตามนั้นก็ตามนั้น ไม่ต้องมาลงถนนกัน
ก่อนหน้านั้นบนโลกโซเชียลฯ ได้แชร์ไฮไลท์รายการโลกยามเช้า ทางสถานีวิทยุ เอฟเอ็ม 96.5 คลื่นความคิด ดำเนินรายการโดย นายสมเกียรติ อ่อนวิมล สื่อมวลชนอาวุโส เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา แสดงความกังวลถึงการให้สัมภาษณ์ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และผู้เสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ ระหว่างแถลงชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา
ในตอนหนึ่ง นายสมเกียรติกล่าวว่า การที่นายพิธากล่าวว่า “The people of Thailand have already spoken their wish and I’m ready to be the prime minister for all wheather you agree with me or you disagree with me” นั้นตนไม่สบายใจ เพราะแปลความได้ว่า คุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับผมก็ไม่รู้ ผมก็จะเป็นนายกรัฐมนตรีของคุณ มีอะไรหรือเปล่า ซึ่งทรนงไปนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นคราวหน้าให้ทำสคริปต์เขียนหรือท่องไว้ โดยใช้คำที่เหมาะสม พอฟังครั้งแรกรู้สึกนอนไม่หลับ
“ถ้าเข้าใจภาษาอังกฤษในเชิงรัฐศาสตร์ดี จะรู้สึกหงุดหงิดว่าทำไมต้องพูดอย่างนี้ด้วย ถ้าจะบอกว่าพิธาภาษาอังกฤษดี อันนั้นคือการใช้ภาษาอังกฤษดีโดยธรรมดา แต่ภาษาอังกฤษทางการเมืองยังไม่ดี เพราะประโยคดังกล่าว” นายสมเกียรติกล่าว
อีกตอนหนึ่ง นายสมเกียรติแสดงความกังวลที่นายพิธากล่าวคำว่า “… and how we should move forward in terms of relationship between the monarchy and the mass.” ซึ่งมองว่านายพิธาต้องการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับมวลชน ตรงนี้คิดว่าเป็นคำที่แรง ชัดเจน และพลิกตัวไม่ได้แล้ว เพราะแม้ในการลงนามเอ็มโอยูจะไม่มีเรื่องนี้ แต่นายพิธาพูดอยู่ก่อนแล้วว่าจะต้องจัดการเรื่องพระเจ้าอยู่หัวมีความสำคัญต่อมวลชนอย่างไร
นายสมเกียรติเห็นว่า นายพิธาควรนำประเพณีอังกฤษมาใช้ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่มาเป็นพันปี ด้านนอกจะประท้วงก็ว่าไป แต่นายกรัฐมนตรีมีประเพณีเข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์ทุกสัปดาห์เพื่อคุยเรื่องบ้านเมือง และมีประเพณีที่จำขึ้นใจว่า เมื่อต้องเข้าเฝ้าฯ ประจำสัปดาห์ พูดอะไรไปต้องไม่บอกใครทั้งสิ้น เป็นความลับระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนนั้นงดงาม แต่นายพิธาจะจัดการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับมวลชนเท่านั้น
“ภาษาอังกฤษที่ดีกว่านี้มันควรจะเป็นอย่างไร ภาษารัฐศาสตร์เราจะใช้คำที่งดงามกว่า” นายสมเกียรติ กล่าว
นอกจากนี้ นายสมเกียรติกล่าวว่า กรณีที่นายพิธากล่าวว่า “… and then we’ll resolve this vonflict going forward on how the role of the monarchy should be in the 21st century Thailand” ตรงนี้ทำให้ตนนอนไม่หลับอีก เพราะนายพิธากล่าวว่า เราจะแก้ความขัดแย้งนี้เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า และจัดการในเรื่องบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ควรจะเป็นอย่างไรในประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 พูดเหมือนกับว่าจะจัดการด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องคุยกับใคร
“ตอนนี้นายพิธาไม่ได้พูดถึงเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 แล้ว แต่จะเสนอเปลี่ยนทั้งหมดที่ว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งผมไม่รู้ว่าศตวรรษที่ 21 พระเจ้าแผ่นดินควรจะเป็นอย่างไร” นายสมเกียรติกล่าว
นายสมเกียรติยังเล่าย้อนไปถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) หลังทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระราชทานสัมภาษณ์แก่นายเดวิด โลแมกซ์ ผู้ดำเนินรายการสารคดีทางบีบีซี นายเดวิดถามว่า เป็นพระเจ้าแผ่นดินต้องทำอะไรบ้าง ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตรัสว่า ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินต้องทำอะไรบ้าง แต่ทุกเช้าตื่นขึ้นมา ออกไปทำให้มันดีที่สุด
ทั้งนี้ หมายความว่า ไม่มีมาตรฐานสากลในโลกนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินในประเทศทั้งหลายต้องทำยังไง สุดแต่ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ รวมถึงวัฒนธรรมอันยาวนานหรือไม่ยาวนานของแต่ละประเทศ ที่มีระบอบการปกครองที่เริ่มต้นด้วยการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแบบเบ็ดเสร็จ และกลายมาเป็นประมุขเป็นสัญลักษณ์อยู่ภายใต้ประชาธิปไตย แบบไทย ญี่ปุ่น และอังกฤษในปัจจุบัน
“นายพิธาคิดไกลมากกว่าแก้ไขมาตรา 112 เพราะคุณพิธาบอกเองว่าต้องเปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ตามแบบสากล อันนี้คุณพิธาต้องอธิบายยาว ถ้าไม่อธิบายวันนี้ก็ต้องอธิบายวันหน้า มันต้องอธิบายสักวันใดวันหนึ่ง นอกจากนายพิธาจะเลิกพูดเรื่องนี้”
SURPRISE COUPON (18-20 July)
ระยะเวลาโปรโมชั่น : 18 Jul – 31 Jul 2023
ลด 15% ไม่มีขั้นต่ำ
เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น
คูปองมีจำนวนจำกัด
Code : SPC15
คลิกเพื่อช้อปได้ที่นี่ : https://omgrefer.com/Hs3ST