“ดร.ศาสดา” กางข้อกม.อธิบายหลักโหวตนายกฯ ชี้ส่งชื่อซ้ำทำได้ แต่ไม่ใช่วิธีดันทุรัง

"ดร.ศาสดา" กางข้อกม.อธิบายหลักโหวตนายกฯ ชี้ส่งชื่อซ้ำทำได้ แต่ไม่ใช่วิธีดันทุรัง

หลังจากการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ เป็นครั้งที่ 2 โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น. ทั้งนี้ มีสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 748 คน การได้เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 375 คน โดยครั้งนี้ได้มีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นนายกรัฐมนตรี รอบที่ 2

จากนั้นมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้นกว่า 8 ชั่วโมง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา จึงให้มีการลงมติ โดยมีผู้แสดงตนทั้งสิ้น 708 คน ถือว่าครบองค์ประชุม

ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐสภาเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ญัตติเสนอชื่อนายพิธาเป็นญัตติที่ตกไปแล้ว ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐธรรมนูญ ข้อ 41 ด้วยเสียง 395 ต่อ 312 งดออกเสียง 8 ไม่ลงคะแนน 1 จากจำนวนผู้ลงมติ 715 คนนั้น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุดในเฟซบุ๊ก ดร.ศาสดา วิริยานุพงศ์ Sartsada Wiriyanupong ได้โพสต์ข้อความถึงประเด็นการเลือกนายกฯ ระบุว่า การเสนอชื่อบุคคลซึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่งนั้นสามารถกระทำได้ตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

 

 

โดยเหตุสองประการ ดังนี้ ประการที่หนึ่ง บุคคลที่จะได้แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎรตามแต่กรณี โดยเป็นการเสนอชื่อของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะของรัฐธรรมนูญ อันแตกต่างจากการเสนอญัตติโดยทั่วไป จึงไม่สามารถนำข้อบังคับการประชุมสภาในเรื่องการเสนอญัตติมาใช้กับกรณีการเสนอชื่อเพื่อให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้

ประการที่สอง ในระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาตามแต่กรณี ดังนั้นหากมีการเสนอชื่อบุคคลเพื่อขอความเห็นชอบให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี สภาจึงมีหน้าที่ต้องพิจารณาการเสนอชื่อดังกล่าว และไม่มีบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญที่กำหนดห้ามเสนอชื่อบุคคลที่ไม่ได้รับความเห็นชอบ ให้ได้รับการเห็นชอบอีกวาระหนึ่ง แต่ในการพิจารณา สภาจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ย่อมได้ ทั้งนี้ ในการเสนอชื่อนั้นจะต้องไม่ใช่การเสนอชื่อในระหว่างที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรียังไม่สิ้นสุดลง (มาตรา 170)

 

 

อย่างไรก็ตาม การเสนอชื่อบุคคลเดิมให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีถึงแม้จะกระทำได้ เนื่องจากไม่ได้มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญห้ามไว้ก็ตาม แต่ควรอยู่ในพื้นฐาน คือ บุคคคลนั้นสามารถรวบรวมเสียงในสภาได้มากพอที่จะได้รับความเห็นชอบจากสภา จึงได้มีการเสนอชื่อบุคคลเดิมอีกครั้ง แต่ไม่ใช่การเสนอชื่อบุคคลเดิมซ้ำทั้งที่ไม่สามารถรวบรวมเสียงสนับสนุนในสภาได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าว อาจจะเป็นการบิดเบือนการใช้สิทธิแบบหนึ่ง หากมีการเสมอชื่อบุคคลเดิมไปเรื่อยๆ ทั้งที่ไม่มีความเป็นไปได้ที่บุคคลนั้นจะได้เสียงมากพอที่จะได้รับความเห็นชอบจากสภา

 

 

เปรียบเทียบกับการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยที่ข้อเท็จจริงเป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แล้วผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ด้วยเหตุผลประการใด ถ้าศาลให้อุทธรณ์ได้ ศาลก็ต้องเสียเวลาในการพิจารณา เสียทั้งเวลา เสียทั้งงบประมาณ แทนที่ศาลจะได้ไปพิจารณาคดีอื่น กลับต้องมาเสียเวลากับคดีเดิม แต่เหตุการณ์นี้ ปกติในทางศาลจะไม่เกิดขึ้น เพราะมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอุทธรณ์ไว้ชัดเจน

 

 

กลับมาในเรื่องการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน ก็เพราะในทางการเมือง ผู้ถูกเสนอชื่อที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา ต่อมาภายหลังอาจจะได้รับความเห็นชอบจากสภาก็ได้ หากสามารถรวบรวมเสียงสนับสนุนได้มากพอ จึงไม่ควรถูกปิดกั้นในการเสมอชื่อใหม่

 

หากแต่ถ้าเป็นกรณีที่มีนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว ก็ต้องยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีก่อน ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า ถ้าเสียงสนับสนุนญัตตินั้นมากพอ นายกรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจ ก็จะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 170 บุคคลนั้นก็อาจถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 ประกอบมาตรา 159 และเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากนายกรัฐมนตรีคนเดิมที่ไม่ได้รับความไว้วางใจได้

ดังนั้น ในกรณีปัจจุบัน ในการบริหารราชการแผ่นดินมีเพียงนายกรัฐมนตรีรักษาการ ทำหน้าที่ไปพลางก่อน การเสนอชื่อจึงบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจึงสามารถกระทำได้ จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรี (ตัวจริง) ส่วนจะเสนอชื่อบุคคลเดิมที่เคยไม่ได้รับความเห็นชอบได้หรือไม่ ก็ได้แสดงความคิดเห็นไปก่อนหน้านี้แล้ว
ดร. ศาสดา วิริยานุพงศ์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ศาลนนทบุรี สั่งจำคุกหนุ่มใหญ่ 6 ปี 36 เดือน ผิดคดี 112 โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง
ตร.ปคบ.หอบสำนวน 7000 หน้า ส่งฟ้องคดีหลอกขายทอง “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” ให้กับอัยการแล้ว
10 บริษัทโฆษณา ชั้นนำในไทย ที่เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing
"รองผู้การกองปราบฯ" กางกม.เอาผิด "ซินแสชื่อดัง" จ่อโดนคดีฟอกเงิน หลังตุ๋นเหยื่อหลายราย สูญเงินกว่า 70 ล้าน
“สัณหพจน์” เปิดนโยบายแก้เศรษฐกิจปากท้อง ฟื้นฟูท่องเที่ยวเมืองนครศรีธรรมราช เล็งนำช้างแคระคืนถิ่นป่าพรุควนเคร็ง อะเมซอนเมืองไทย
“เจพาร์ค ศรีราชา” จัดพิธีอัญเชิญเทพเจ้าโอคุนินุชิ ประทับในศาลเจ้าโอคุนิ ศาลเจ้าชินโตแห่งที่สามของประเทศไทย
ก้าวสู่ปีที่ 5 Future Food Leader Summit 2025 ชวนสร้างไอเดีย บนแนวคิด “อาหารฟื้นฟูเพื่ออนาคต” เปิดตัว Future Food AI ครั้งแรกในเอเชีย
TIPH คว้าอันดับเครดิตองค์กรสูงสุดของกลุ่มโฮลดิ้งส์ ตอกย้ำศักยภาพผ่านการประเมินจากทริสเรทติ้ง
"บิ๊กเต่า" เตรียมส่งทีมสอบ "บอสพอล" ปมเส้นเงิน 8 แสน โยงแม่นักการเมือง ส.
"วราวุธ" ขออย่านำ "เกาะกูด" เป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ชี้ MOU 44 ไม่เกี่ยวข้อกังวลทุกฝ่าย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น