“อ.จรัญ” ชี้ข้อกฎหมายศาลรธน.โอกาสสูงตีตกคำร้อง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอวินิจฉัยญัตติโหวต “พิธา” ซ้ำรอบ 2

“จรัญ ภักดีธนากุล” เชื่อศาลรัฐธรรมนูญตีตกปมผู้ตรวจการแผ่นดินส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเสนอชื่อพิธาซ้ำ เหตุไม่เข้าบทบัญญัติกฎหมาย เผยแม้ศาลรับไว้พิจารณาก็มีโอกาสแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ที่ศาลจะตีความเป็นคุณแก่ผู้ร้อง เหตุข้อบังคับรัฐสภาไม่ให้เสนอชื่อซ้ำชอบด้วยกฎหมาย

หลังจากเมื่อวันที่ 19 ก.ค.2566 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประชุมพิจารณาคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น รวมทั้งคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับวินิจฉัย โดยให้นายพิธาผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้เข้ากล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องตาม พรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 54

 

 

สำหรับคำขอของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายพิธาผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรค 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้องประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของนายพิธาอาจก่อให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและการคัดค้านโต้แย้งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสำคัญของที่ประชุมรัฐสภาและที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้จึงมีคำสั่งให้นายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ส.สตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยนั้น

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ล่าสุดวันนี้ (24 ก.ค.) ทางด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องข้อกฎหมายหลังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งคำร้องคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความกรณีรัฐสภาลงมติวินิจฉัยว่าการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็น “ญัตติ” ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41ถูกต้องหรือไม่ว่า การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามาครา 213 ประกอบ ประกอบ มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญถือเป็นการส่งคำร้องของประชาชนมาให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งน่าจะไม่เข้าองค์ประกอบ เพราะการยื่นคำร้องดังกล่าวน่าจะถูกสกัดด้วยมาตรา 47 และมาตรา 48 ที่กำหนดว่าเรื่องต่อไปนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับวินิจฉัยตามมาตรา 213 ดังนั้นการยื่นตามาตรา 213 ของผู้ตรวจการแผ่นดินไม่น่าจะมีช่องทางเข้าได้ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตีตก เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมา

 

เมื่อถามว่า หากศาลรัฐธรรมนญรับไว้พิจารณาจะทำให้การโหวตนายกรัฐมนตรีในครั้งที่ 3 ต้องยุติไปก่อนหรือไม่ นายจรัญ กล่าวต่อว่า สิ่งที่จะพูดเป็นความเห็นส่วนตัว และเชื่อว่า โอกาสที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตีตก เพาะไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตามพ.ร.ป.ประกอบมาตรา 46 ,47 และ48 เพราะต้องเป็นรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ระบุว่าให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ดังนั้นต้องมาดูก็คือ 3 มาตราดังกล่าว ดังนั้นโอกาสที่จะไม่เข้าองค์ประกอบถือว่าเยอะมาก

 

นายจรัญ กล่าวต่อว่า หากศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัย แต่โอกาสที่จะเป็นสำเร็จอย่างที่ผู้ร้องต้องการเพื่อนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปล้มล้างมติกับเรื่องภายในของรัฐสภานั้น ไม่เคยมีตัวอย่างมาก่อน อีกทั้งไม่น่าจะอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะข้อบังคับของรัฐสภานั้น กฎหมายให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้อย่างเดียว คือ ร่างข้อบังคับก่อนจะประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา แต่เมื่อประกาศใช้แล้วให้ถือเป็นข้อบังคับภายในรัฐสภาที่ใช้ในการประชุม ศาลรัฐธรรมนูญจะไปแทรกแซงไม่ได้ ตามมาตรา 149 อีกทั้งรัฐธรรมนูญมาตรา 157 บัญญัติว่า ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

 

“เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการเสนอและโหวตในญัตติที่เกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรี และไม่ได้บัญญัติให้เป็นพิเศษให้แตกต่างจากข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา ดังนั้นประธานสภาฯก็ต้องดำเนินการไปตามข้อประชุมของข้อบังคับรัฐสภาตามรัฐะรรมนูญมาตรา 157 และถ้าจะให้ผมประเมินคาดเดา ผมมองว่าโอกาสจะสำเร็จแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และต้องขออภ้ยคนที่เห็นต่างด้วย เพราะใช้กฎหมายเป็นตัวตั้ง” นายจรัญ กล่าว

ส่วนการที่มีข้ออ้างว่าเรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นข้อบังคับของรัฐสภาจะนำมาใช้ไม่ได้นั้น นายจรัญ กล่าวชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 272 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า สามารถโหวตนายกรัฐมนตรีได้กี่ครั้ง ดังนั้นเมื่อไม่ได้บัญญัติไว้ประธานสภาฯต้องดำเนินการประชุมไปตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาตามาตรา 157 ซึ่งถือว่า รัฐสภา และประธานสภาปฏิบัติถูกต้องแล้ว แต่ประเด็นที่ตั้งมาถามทำให้เกิดความคล้อยตาม คือ รัฐธรรมนูญใหญ่กว่ากฎหมายใด ซึ่งประเด็นตั้งมาอย่างนี้ทำให้คนคล้อยตาม แต่เรื่องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงจำเป็นต้องนำกฎหมายมาดู และต้องวิเคราะห์กันไปตามหลักกฎหมายเท่านั้น

 


WONDER SALE ดีลมันส์แบบตะโกน

ระยะเวลาโปรโมชั่น 18 กค – 31 กค 2023

ลดเพิ่มสูงสุด 10% ไม่มีขั้นต่ำ

ลดเพิ่มสูงสุด 20% เมื่อช้อป 3,000.-

Code : MIDJUL

คลิกเพื่อช้อปได้ที่นี่ : https://omgrefer.com/Jsz8z

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น