เปิดหลักเกณฑ์ขอพระราชทานอภัยโทษ “ทักษิณ” กลับไทย

เปิดหลักเกณฑ์ขอพระราชทานอภัยโทษ “ทักษิณ” กลับไทย

หลังจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า การเดินทางกลับประเทศไทยของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนักโทษหนีคดี สามารถที่จะยื่นขอพระราชทานอภัยโทษได้ตั้งแต่วันแรก เพียงแต่ต้องรับโทษเข้าห้องขังก่อน แต่ถ้ายื่นไปแล้วไม่โปรดเกล้าฯ ลงมา ก็จะไม่สามารถยื่นได้อีกภายใน 2 ปี

 

ทั้งนี้จากการตรวจสอบรายละเอียดการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น มีทั้งหมด 2 กรณีได้แก่ 1.การพระราชทานอภัยโทษเป็นการเฉพาะราย และ 2.การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป

สำหรับการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปหมายถึง การที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษเด็ดขาดทุกคน โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษ ทางราชการจะเป็นผู้ดำเนินการให้แก่ผู้ต้องโทษทุกขั้นตอน โดยผู้นั้นมิต้องดำเนินการใด ๆ เลย ซึ่งการพระราชทานอภัยโทษกรณีนี้ เราจะเห็นได้ในวโรกาสมหามงคลต่าง ๆ เช่น ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก หรือพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก อย่างไรก็ตามกรณีนี้นักโทษที่จะเข้าเกณฑ์อภัยโทษ ต้องรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือรับโทษจำคุกมาแล้ว 8 ปี แล้วแต่ระยะเวลาใดถึงก่อน ถึงจะเข้าเกณฑ์ขอเลื่อนชั้นเป็นนักโทษชั้นดี ชั้นดีเยี่ยม ชั้นเยี่ยม เพื่อขอรับพระราชทานอภัยโทษได้

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนการการพระราชทานอภัยโทษเป็นการเฉพาะราย ซึ่งเป็นกรณีที่นายวิษณุ หมายถึง เป็นการพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล โดยการทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวหรือถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ตามการถวายคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ส่วนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่เพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์

 

 

สำหรับบุคคลผู้มีสิทธิทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวหรือถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการเฉพาะราย ได้แก่

 

1) ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใด ๆ หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น บิดา มารดา บุตร หรือคู่สมรส เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวหรือฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระมหากษัตริย์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโดยจะยื่นต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้

 

2) กรณีผู้ถวายเรื่องราวซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำจะยื่นเรื่องราวต่อพัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้ เมื่อได้รับเรื่องราวแล้วให้พัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราวแล้วให้ส่งเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

 

 

 

 

3) ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษานั้นก็ได้ โดยจะดำเนินการได้ต่อเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเช่นกัน

 

 

 

 

ขณะที่การกำหนดระยะเวลาในการทูลเกล้า ฯ ขอพระราชทานอภัยโทษ ถ้าเป็นผู้ต้องโทษกรณีทั่วไปจะไม่มีกำหนดระยะเวลาในการที่จะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวหรือถวายฎีกา สามารถยื่นได้ทันทีนับตั้งแต่คดีถึงที่สุดเป็นต้นไป แต่ถ้าเป็นกรณีผู้ต้องโทษประหารชีวิต จะต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่คดีถึงที่สุด ทั้งนี้กรณีการขอพระราชทานอภัยโทษอย่างอื่น ซึ่งมิใช่โทษประหารชีวิตนั้น ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงยกเรื่องราวหรือยกฎีกามาครั้งหนึ่งแล้ว จะยื่นใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้น 2 ปี นับแต่วันที่ถูกยกเรื่องราวหรือยกฎีกาครั้งก่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น